บุญบั้งไฟเป็นที่นิยมทำกันเดือน 6 การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีทำบุญขอฝน เพื่อให้ฝนตากต้องตามฤดูกาลเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ บางหมู่บ้านถือเคร่งมาก คือจะต้องทำบุญบั้งไฟทุกปี จะเว้นไม่ทำไม่ได้ เพราะถ้าเว้นไม่ทำบุญนี้เชื่อว่าอาจทำให้เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ เช่น ฝนแล้งบ้าง หรือไม่ตกต้องตามฤดูกาลบ้าง คนหรือวัวควายอาจเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ บ้าง เป็นต้นและเมื่อทุกบุญดังกล่าวแล้ว ก็เชื่อว่า ฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในละแวกนั้น จะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ทั้งปราศจากโรคภัยด้วย การเตรียมงาน เมื่อชาวบ้านตกลงกำหนดวันกับทางวัดแล้วว่า จะทำบุญบั้งไฟวันใด ก็พากันจัดหาเงินซื้อดินประสิวไปมอบให้ทางวัด เพื่อให้เจ้าอาวาสประชุมประภิกษุสามเณร และชาวบ้านจัดทำบั้งไฟขึ้นและเจ้าบ้าน (คนในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพ)จะทำฎีกาบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้ชาวบ้านอื่นจัดบั้งไฟและขบวนเซิ้งมาร่วมงานบุญและประชันกัน บางทีมีประกาศให้หมู่บ้านหรือบุคคลนำบั้งไฟมาประกวดกันโดยประกาศทั้งขบวนแห่งการประดับตกแต่งบั้งไฟและการจุดขึ้นสูงของบั้งไฟด้วย ทางคณะเจ้าภาพจะจัดหารางวัลให้ผู้ชนะ เมื่อใกล้จะถึงวันกำหนดงาน ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของงานจะพากันปลูกเพิงหรือผาม (ประรำ) รอบบริเวณวัดหรือศาลาวัดเพื่อให้คนหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงานได้พักอาศัยและทุกบ้านเตรียมสุราอาหารทั้งคาวหวานไว้ต้อนรับแขก ที่จะมาจากต่างถิ่นโดยไม่คิดมูลค่า ส่วนผู้ชำนาญในการทำบั้งไฟ ก็เตรียมหาไม้และอุปกรณ์มาทำบั้งไฟ บั้งไฟมีความเล็กใหญ่แล้วแต่ความต้องการหรือตามความสามารถของผู้จัดทำ ที่มีขนาดใหญ่มี 2 ชนิด คือ บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสนตามน้ำหนักของดินปืน บั้งไฟหมื่นใช้ดินปืนหนัก 12 กิโลกรัม (หนึ่งหมื่น) ถ้าบั้งไฟแสก็ใช้ดินปืนหนักสิบหมื่น (120 กิโลกรัม)บั้งไฟ คือ กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 2-3 เมตร ทะลุปล้องออกหรือกระบอกเหล็กกลม ๆ กลวงข้างในก็ได้ สำหรับใช้บรรจุดินปืน ตำดินปืนให้แน่นเกือบเต็มกระบอก โดยมีลิ่มอุดที่ปลายกระบอกข้างหนึ่งให้แน่น เอาดินเหนียวปิดปากกระบอกอีกข้างหนึ่ง เสร็จแล้วเจาะรูให้พอเหมาะแล้วเอาไม้ไผ่ขนาดเล็กเป็นท่อน ๆ ข้างกันมีข้อ ยาว ต่าง ๆ กันมาเป็นลูกบั้งไฟ โดยมัดรอบตัวบั้งไฟเพื่อให้เกิดเสียงดังเมื่อบั้งไฟอยู่ในอากาศ และมีไม่ไผ่ลำยาวทำเป็นหาง มีขนาดสั้นยาวแล้วแต่ขนาดของบั้งไฟ แล้วประดับประดาบั้งไฟด้วยกระดานสี ทำลวดลายต่าง ๆ กันแล้วแต่จะเห็นสวยงาม วันทำบุญ เมื่อถึงวันทำบุญ ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ทำบุญเตรียมทาอาหารการกินรับแขกและภัตตาหารสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ได้รับการบอกบุญ ก็จะมีทั้งผู้เฒ่าผู้แก่หนุ่มสาวและเด็กพร้อมทั้งบั้งไฟมาร่วมงานบุญที่วัด ซึ่งตามปรกติจะมาพร้อมกับพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานบุญในงานบุญบั้งไฟพ่อแม่ยินดีให้ลูกสาวไปร่วมงานโดยไม่มีการขัดข้องเกี่ยงงอน ในงานบุญบั้งไฟมักจะมีการบวชนาคด้วย ก่อนบวชมีการฟังพระสวดมนต์ และถวายภัตตาหารเพล ตอนบ่ายตีกลองรวมประชาชน ทำพิธีสู่ขวัญนาคและทำพิธีบวชนาคก่อนจะมีการบวชนาค เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้บวช จะมีพิธีสู่ขวัญนาคก่อน ตัวอย่างคำสู่ขวัญนาคมีดังต่อไปนี้
คำสู่ขวัญนาค
ศรี ศรี สุมังคละสวัสดีวิเศษ อดิเรกชัยศรี สวัสดีจงมีแก่ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งเทพานาค ครุฑ เทวบุตร เทวดา อินทร์พรหมนมราชา จตุราทั้งสี่ ทุกที่พร้อมจักรวาล กับทั้งสถานเจ้าที่ จงพร้อมกันมาชมชื่นยินดี เชิงมังคลาศรีอันวิเศษ วันนี้พระเจ้าเกตุเข้าสู่ราศี เป็นดีสุดขนาด พิณพาทย์พร้อมตรียางค์ ทั้งนาวางค์คาดคู่ ตั้งเป็นหมู่สอนลอน พระอาทิตย์จรจันทร์ฤกษ์ อังคารถืกมหาชัยพุธพฤหัสไปเป็นโยค ศุกร์เสาร์ได้อมุตตโชตพร้อมลักขณาวันนี้ตามตำราว่าได้ฤกษ์ถืกหน่วยชื่อว่า อุตตมราศี เป็นวันดีอุตตมโชค อุตตมโยคอุตตมราชา อุตตมไชยา อุตตมเสฏฐา วันนี้เป็นวันลาภะอันล้ำเลิศ ประเสริฐมุงคุล ปุนแปลงดีแต่งแล้ว พาขวัญแก้วจึงยอมามีทั้งท้าวพญาเสนาและอำมาตย์ มีทั้งปราชญ์พร้อมมวลมา มีทั้งบุตตาและพ่อแม่ ทั้งเฒ่าแก่และวงศา พี่น้องพร้อมกันมานั่งสอนลอนทุกถ้วนหน้าไหลลั่งเทมาทั้งหญิงและสาวบ่าว ใจคิดอ่าวน่ายินดี เพื่อจักมาบายศรีนาคเจ้าจักได้พลัดพรากจากห้องเคหา จักได้ลาบิดาและมารดาออกไปบวช สร้างผนวชในศาสนาเจ้าก็คิดเห็นสังขารอันทุกขัง อนิจังอนันตาบ่มั่นบ่เที่ยง ฮู้บิดเบี่ยงไปมา เป็นอนิจจังบ่เลิกแล้ว บ่ได้ว่าหนุ่มแก่และชราผู้บังเกิดเป็นโรคาและพยาธิบ่ได้คลาดจากมรณา เจ้าได้คิดเห็นคุณบิดามารดาที่ได้เลี้ยงมาเป็นอันยาก เลี้ยงลำบากทุกวันคืน แต่อยู่ในอุทรท้องแม่ลำบากแท้เหิงนานเจียรกาบให้หนักหน่วงท้อง กินของเผ็ดและฮ้อนแม่ก็ค่อยเพียรรอดเจ้าก็อยู่ในกำหนด 10 เดือนบรบวนจนถ้วนทศมาสแล้ว เจ้าจึงคลาดแคล้วจากท้องแม่มารดา ม้มท้องมาเลิศแล้วลูกแก้วแม่เป็นชาย ฝูงตายายชมชื่น ยอยกยื่นเจ้าออกมา ผู้ลางคนหาไม้ได้แล้ว จึงตัดสายแห่แผ่สายบือ ลางคนถือกระบวยน้ำตักน้ำ ลางคนถือผ้าผืนกว้างมาตุ้มหุ่มนอน แม่จึงอุ้มเอาเจ้าใส่ในอก แล้วจึงยกเจ้าใส่ในเพลา แม่จึงเอาข้าวป้อนมื้อละ 3 คาบ อาบน้ำวันละ 3 ที แม่เจ้าก็ขัดสีลูบไล้ แม่เจ้าเอาใจใส่ทุกค่ำเช้ามีคา อันว่าเถิงฤดูปีใหม่มาฮอดแล้วฟ้าแผดฮ้องเสียงดังแม่เจ้าอุ้มใส่อู่ แม่เจ้าอุ้มสะสมสู่กินนม แม่ก็ชมลูกแก้ว คันว่าเลี้ยงใหญ่แล้วพอแล่นแล่นไปมาตามภาษาเด็กอ่อน ซะส่อนหน้าแล้วใหญ่เป็นคนเจ้าคิดถึงคำกังวลดั่งแค้น หน้าหมองแน่นในใจคิดอาลัยบ่แล้วคิดแล้ว ๆ อยากไปบวชในศาสนา เจ้าก็คิดถึงคุณบิดามารดาเป็นอันยิ่ง เจ้าจึงอำลำอุตสาห์เข้ามาบวช สร้างผนวชเป็นสามเณรเจ้าก็เฮียนสิกขาบทศศีลาธรรมอันวิเศษได้แล้ว บัดนี้อายุเจ้าก็ได้ถึงเขตเข้า 20 ปี บรบวนคักแน่ฝูงพ่อแม่จึงได้จัดหาเถิงศรัทธา ฮอดญาติพี่น้อง ตามพวกพ้องและมิตรสหาย บางพ่อศรัทธาหลายได้เสื่อสาดเป็นองอาสน์ปูนอน บางพ่องมีศรัทธาได้จีวรและผ้าพาด บางพ่องได้ผ้าอาดทั้งไตร ด้วยใจใสสุดขนาด บางพ่องได้บาตรและผ้าสบง บางพ่องได้ถงและน้ำเต้า ได้ไม้เท้าและตาลปัตร มีดตัดเล็บและกล่องเข็ม ดินสอและเครื่องประดับบริขารบริโภค บางพ่องได้โตกถ้วยและคนทีเหล็กจารดีอันคมกล้ากับเสื่อสารอาสนะทั้งศิลาน์และเมี่ยงหมากดูหลากด้วยเครื่องบริขารเป็นของอันเจตนาทานอันล้ำยิ่ง เพื่ออยากเห็นหน้าพระแก้วกิ่งเมตไตรยขออย่าได้ทรวัยอยู่ในโลก ขอให้ได้พ้นจากโศกโศกา ขอให้ได้เกิดมาในดุสิตล้ำเลิศ เมืองแก้วเกิดยอดนิพพาน เป็นที่สุขสำราญลือเดชขอให้พ้นจากทุกขเวทอยู่สวัสดี สัตตาธัมมาวุฒิธรรมทั้ง 7 ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อโรคะถ้วน 5 ปฏิภาณะถ้วน 6 อธิปไตยถ้วน 7 จงเสด็จเข้ามาฮับษายังขันธสันดานแห่งฝูงข้าพเจ้าตราบต่อเท่าห้าพันพระวัสสาก็ข้าเทอญ ศรี ศรี สุมังคะ สุขะสวัสดี บัดนี้ข้อยจักเชิญเอาขวัญสมศรีเจ้านาคเข้ามาเต้า ข้อยจักเชิญเอาขวัญฝ่ายนาคเจ้าเข้ามาโฮม อัชชะ ในมื้อนี้วันนี้ ว่ามาเยอขวัญเอยขวัญหัวเจ้าหากไปอยู่ในวังน้ำเลิกนำปลา ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ขวัญหัวเจ้าไปอยู่นาต่างด้าว ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ ขวัญเจ้าไปอยู่นำท่านอีศวร ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ขวัญเจ้าหากไปชมชื่นนำสาวส่ำน้อยก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ มาเยอขวัญเจ้าตาดเอย อย่าได้ไปชมชะนีไก่แก้วขันแจ้ว ๆ อยู่ภูผาเจ้าอยู่ได้ไปชมฝูงหมู่กวางคำทุกเนื้อเถื่อน อย่าได้ไปอยู่เป็นเพื่อนฝูงผี ขวัญเจ้าอย่าเดินคีรีและนอกเขตขวัญเจ้าอย่าได้เดินประเทศเที่ยวทางไกล อย่าได้หลงไหลชมหินผาและป่าไม้ อย่าได้แล่นนำหมู่ลิงลม ขวัญเจ้าอย่าได้ไปชมหมู่ลิงค่างเฒ่า หมู่นกเค้าและเสือสิงห์ ควายกระทิงและฮอกค่าง อย่าได้หลงเข้าเถื่อนกว้างถ้ำหมู่คูหา ทั้งวังปลาและสระใหญ่ ชื่นช้อนใส่มายาตระการตางามเฮื่องฮุ่ง ทั้งผักบุ้งและมู่บัวทองสะหมั่งกลางของหอมฮ่วงเฮ้า ขวัญเจ้านาคจงเข้ามาโฮม อัชชะในวันนี้ ให้มาอยู่ลี้ในใจทุกเมื่อ ให้มาอยู่ในเนื้อทุกยาม อย่าได้มีความกังวลและเดือนฮ้อนอย่าได้คิดดั่งค่อนฤทัยขอให้เจ้ามาเฮียนเอาพระวินัยปิฏกธัมมา อัตถาไขเฮืองฮอด ฮุ่งแจ้งซอดโสดา ให้เจ้าได้เทศนาสอนสั่งเป็นเจ้านั่งพิจารณ์ ขอให้เจ้านาคมีอายุยืนนาน ได้เป็นท่านสมภารบุญกว้าง อยู่สืบร้างในธรรม จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ขอให้เจ้านาคมีอายุยืนได้ฮ้อยขวบพระวัสสา ให้เจ้ามีเตชาผาบแพ้ฝูงหมู่โพยภัย อย่าได้มีความจังไฮมาบังเบียด อย่าได้ฮู้เดียดให้และหิงสา ให้มีใจกรุณายิ่งกว่าเก่า ขอให้เป็นเจ้าผ่านทั้งยศ ให้ปรากฎลือชา ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ให้เจ้านาคมีเตชะดั่งแสงสุริยะอาทิตย์ ประสิทธิเตโช อโรธะราชาธิราชเป็นดั่งอินทราธิราชเจ้าภูมินทร์ทั้งแดนดินอวยอ่อนน้อม ทุกท่านด้อมสาธุการ มาอวยทานชมชื่น ยกยื่นให้ของดียออัญชลีตั้งต่อคิดฮอดห่อสมภาร ถวายสักการทุกเมื่อ เฮืองเฮื่อแก้วเงินคำ แก่บูชานำทุกค่ำเช้า ตราบต่อเท่าชีวังให้มีหวังครองสืบสร้างธุระอ้าง 3 ประการ เฮียนกัมมัฏฐานได้ถี่ถ้วน ได้ครบล้วนทุกสิ่งอัน แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ให้ฮู้อย่าได้หัวคิดปู้ทางปัญญหา จงให้มีสามัคคีเพียงพร่ำพร้อม ใจอ่อนน้อมในธรรม อย่าได้มีความคิดนำทางโลกขอให้พ้นจากความเศร้าโศกโศกา ให้เจ้ามีสุขาเพียงพร่ำพร้อม ทุกค่ำเช้าบ่คลาดบ่คา จึงขอถวายบาทคาถาไว้ว่าชยะตุง ภะวัง ชยะมังคละ ชยะมหามุงคุล ความสุขสมบูรณ์จงมีแก่เจ้านาค ทุกภาคทุกประการก่อข้าเทอญ การฮดสรงหรือเถราภิเษก ในงานบั้งไฟ ตามประเพณีโบราณในตอนกลางวันก่อนหรือหลังพิธีบวชนาคบางทีจัดให้มีพิธีฮดสรงหรือเถราภิเษาแต่พระภิกษุสามเณรที่เห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมรูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปซึ่งสมควรได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณ ที่เคยปฏิบัติกันมา พิธีฮดสรงหรือเถราภิเษก หากไม่ทำในงานบุญบั้งไฟ ประชาชนอาจจัดขึ้นในโอกาสใดโอกาสหนึ่งตามที่เห็นสมควรก็ได้ พิธีหดสรงหรือเถราภิเษามีพิธีปฏิบัติดังรายละเอียดต่อไปนี้
ศรี ศรี สุมังคละสวัสดีวิเศษ อดิเรกชัยศรี สวัสดีจงมีแก่ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งเทพานาค ครุฑ เทวบุตร เทวดา อินทร์พรหมนมราชา จตุราทั้งสี่ ทุกที่พร้อมจักรวาล กับทั้งสถานเจ้าที่ จงพร้อมกันมาชมชื่นยินดี เชิงมังคลาศรีอันวิเศษ วันนี้พระเจ้าเกตุเข้าสู่ราศี เป็นดีสุดขนาด พิณพาทย์พร้อมตรียางค์ ทั้งนาวางค์คาดคู่ ตั้งเป็นหมู่สอนลอน พระอาทิตย์จรจันทร์ฤกษ์ อังคารถืกมหาชัยพุธพฤหัสไปเป็นโยค ศุกร์เสาร์ได้อมุตตโชตพร้อมลักขณาวันนี้ตามตำราว่าได้ฤกษ์ถืกหน่วยชื่อว่า อุตตมราศี เป็นวันดีอุตตมโชค อุตตมโยคอุตตมราชา อุตตมไชยา อุตตมเสฏฐา วันนี้เป็นวันลาภะอันล้ำเลิศ ประเสริฐมุงคุล ปุนแปลงดีแต่งแล้ว พาขวัญแก้วจึงยอมามีทั้งท้าวพญาเสนาและอำมาตย์ มีทั้งปราชญ์พร้อมมวลมา มีทั้งบุตตาและพ่อแม่ ทั้งเฒ่าแก่และวงศา พี่น้องพร้อมกันมานั่งสอนลอนทุกถ้วนหน้าไหลลั่งเทมาทั้งหญิงและสาวบ่าว ใจคิดอ่าวน่ายินดี เพื่อจักมาบายศรีนาคเจ้าจักได้พลัดพรากจากห้องเคหา จักได้ลาบิดาและมารดาออกไปบวช สร้างผนวชในศาสนาเจ้าก็คิดเห็นสังขารอันทุกขัง อนิจังอนันตาบ่มั่นบ่เที่ยง ฮู้บิดเบี่ยงไปมา เป็นอนิจจังบ่เลิกแล้ว บ่ได้ว่าหนุ่มแก่และชราผู้บังเกิดเป็นโรคาและพยาธิบ่ได้คลาดจากมรณา เจ้าได้คิดเห็นคุณบิดามารดาที่ได้เลี้ยงมาเป็นอันยาก เลี้ยงลำบากทุกวันคืน แต่อยู่ในอุทรท้องแม่ลำบากแท้เหิงนานเจียรกาบให้หนักหน่วงท้อง กินของเผ็ดและฮ้อนแม่ก็ค่อยเพียรรอดเจ้าก็อยู่ในกำหนด 10 เดือนบรบวนจนถ้วนทศมาสแล้ว เจ้าจึงคลาดแคล้วจากท้องแม่มารดา ม้มท้องมาเลิศแล้วลูกแก้วแม่เป็นชาย ฝูงตายายชมชื่น ยอยกยื่นเจ้าออกมา ผู้ลางคนหาไม้ได้แล้ว จึงตัดสายแห่แผ่สายบือ ลางคนถือกระบวยน้ำตักน้ำ ลางคนถือผ้าผืนกว้างมาตุ้มหุ่มนอน แม่จึงอุ้มเอาเจ้าใส่ในอก แล้วจึงยกเจ้าใส่ในเพลา แม่จึงเอาข้าวป้อนมื้อละ 3 คาบ อาบน้ำวันละ 3 ที แม่เจ้าก็ขัดสีลูบไล้ แม่เจ้าเอาใจใส่ทุกค่ำเช้ามีคา อันว่าเถิงฤดูปีใหม่มาฮอดแล้วฟ้าแผดฮ้องเสียงดังแม่เจ้าอุ้มใส่อู่ แม่เจ้าอุ้มสะสมสู่กินนม แม่ก็ชมลูกแก้ว คันว่าเลี้ยงใหญ่แล้วพอแล่นแล่นไปมาตามภาษาเด็กอ่อน ซะส่อนหน้าแล้วใหญ่เป็นคนเจ้าคิดถึงคำกังวลดั่งแค้น หน้าหมองแน่นในใจคิดอาลัยบ่แล้วคิดแล้ว ๆ อยากไปบวชในศาสนา เจ้าก็คิดถึงคุณบิดามารดาเป็นอันยิ่ง เจ้าจึงอำลำอุตสาห์เข้ามาบวช สร้างผนวชเป็นสามเณรเจ้าก็เฮียนสิกขาบทศศีลาธรรมอันวิเศษได้แล้ว บัดนี้อายุเจ้าก็ได้ถึงเขตเข้า 20 ปี บรบวนคักแน่ฝูงพ่อแม่จึงได้จัดหาเถิงศรัทธา ฮอดญาติพี่น้อง ตามพวกพ้องและมิตรสหาย บางพ่อศรัทธาหลายได้เสื่อสาดเป็นองอาสน์ปูนอน บางพ่องมีศรัทธาได้จีวรและผ้าพาด บางพ่องได้ผ้าอาดทั้งไตร ด้วยใจใสสุดขนาด บางพ่องได้บาตรและผ้าสบง บางพ่องได้ถงและน้ำเต้า ได้ไม้เท้าและตาลปัตร มีดตัดเล็บและกล่องเข็ม ดินสอและเครื่องประดับบริขารบริโภค บางพ่องได้โตกถ้วยและคนทีเหล็กจารดีอันคมกล้ากับเสื่อสารอาสนะทั้งศิลาน์และเมี่ยงหมากดูหลากด้วยเครื่องบริขารเป็นของอันเจตนาทานอันล้ำยิ่ง เพื่ออยากเห็นหน้าพระแก้วกิ่งเมตไตรยขออย่าได้ทรวัยอยู่ในโลก ขอให้ได้พ้นจากโศกโศกา ขอให้ได้เกิดมาในดุสิตล้ำเลิศ เมืองแก้วเกิดยอดนิพพาน เป็นที่สุขสำราญลือเดชขอให้พ้นจากทุกขเวทอยู่สวัสดี สัตตาธัมมาวุฒิธรรมทั้ง 7 ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อโรคะถ้วน 5 ปฏิภาณะถ้วน 6 อธิปไตยถ้วน 7 จงเสด็จเข้ามาฮับษายังขันธสันดานแห่งฝูงข้าพเจ้าตราบต่อเท่าห้าพันพระวัสสาก็ข้าเทอญ ศรี ศรี สุมังคะ สุขะสวัสดี บัดนี้ข้อยจักเชิญเอาขวัญสมศรีเจ้านาคเข้ามาเต้า ข้อยจักเชิญเอาขวัญฝ่ายนาคเจ้าเข้ามาโฮม อัชชะ ในมื้อนี้วันนี้ ว่ามาเยอขวัญเอยขวัญหัวเจ้าหากไปอยู่ในวังน้ำเลิกนำปลา ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ขวัญหัวเจ้าไปอยู่นาต่างด้าว ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ ขวัญเจ้าไปอยู่นำท่านอีศวร ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ขวัญเจ้าหากไปชมชื่นนำสาวส่ำน้อยก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ มาเยอขวัญเจ้าตาดเอย อย่าได้ไปชมชะนีไก่แก้วขันแจ้ว ๆ อยู่ภูผาเจ้าอยู่ได้ไปชมฝูงหมู่กวางคำทุกเนื้อเถื่อน อย่าได้ไปอยู่เป็นเพื่อนฝูงผี ขวัญเจ้าอย่าเดินคีรีและนอกเขตขวัญเจ้าอย่าได้เดินประเทศเที่ยวทางไกล อย่าได้หลงไหลชมหินผาและป่าไม้ อย่าได้แล่นนำหมู่ลิงลม ขวัญเจ้าอย่าได้ไปชมหมู่ลิงค่างเฒ่า หมู่นกเค้าและเสือสิงห์ ควายกระทิงและฮอกค่าง อย่าได้หลงเข้าเถื่อนกว้างถ้ำหมู่คูหา ทั้งวังปลาและสระใหญ่ ชื่นช้อนใส่มายาตระการตางามเฮื่องฮุ่ง ทั้งผักบุ้งและมู่บัวทองสะหมั่งกลางของหอมฮ่วงเฮ้า ขวัญเจ้านาคจงเข้ามาโฮม อัชชะในวันนี้ ให้มาอยู่ลี้ในใจทุกเมื่อ ให้มาอยู่ในเนื้อทุกยาม อย่าได้มีความกังวลและเดือนฮ้อนอย่าได้คิดดั่งค่อนฤทัยขอให้เจ้ามาเฮียนเอาพระวินัยปิฏกธัมมา อัตถาไขเฮืองฮอด ฮุ่งแจ้งซอดโสดา ให้เจ้าได้เทศนาสอนสั่งเป็นเจ้านั่งพิจารณ์ ขอให้เจ้านาคมีอายุยืนนาน ได้เป็นท่านสมภารบุญกว้าง อยู่สืบร้างในธรรม จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ขอให้เจ้านาคมีอายุยืนได้ฮ้อยขวบพระวัสสา ให้เจ้ามีเตชาผาบแพ้ฝูงหมู่โพยภัย อย่าได้มีความจังไฮมาบังเบียด อย่าได้ฮู้เดียดให้และหิงสา ให้มีใจกรุณายิ่งกว่าเก่า ขอให้เป็นเจ้าผ่านทั้งยศ ให้ปรากฎลือชา ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ให้เจ้านาคมีเตชะดั่งแสงสุริยะอาทิตย์ ประสิทธิเตโช อโรธะราชาธิราชเป็นดั่งอินทราธิราชเจ้าภูมินทร์ทั้งแดนดินอวยอ่อนน้อม ทุกท่านด้อมสาธุการ มาอวยทานชมชื่น ยกยื่นให้ของดียออัญชลีตั้งต่อคิดฮอดห่อสมภาร ถวายสักการทุกเมื่อ เฮืองเฮื่อแก้วเงินคำ แก่บูชานำทุกค่ำเช้า ตราบต่อเท่าชีวังให้มีหวังครองสืบสร้างธุระอ้าง 3 ประการ เฮียนกัมมัฏฐานได้ถี่ถ้วน ได้ครบล้วนทุกสิ่งอัน แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ให้ฮู้อย่าได้หัวคิดปู้ทางปัญญหา จงให้มีสามัคคีเพียงพร่ำพร้อม ใจอ่อนน้อมในธรรม อย่าได้มีความคิดนำทางโลกขอให้พ้นจากความเศร้าโศกโศกา ให้เจ้ามีสุขาเพียงพร่ำพร้อม ทุกค่ำเช้าบ่คลาดบ่คา จึงขอถวายบาทคาถาไว้ว่าชยะตุง ภะวัง ชยะมังคละ ชยะมหามุงคุล ความสุขสมบูรณ์จงมีแก่เจ้านาค ทุกภาคทุกประการก่อข้าเทอญ การฮดสรงหรือเถราภิเษก ในงานบั้งไฟ ตามประเพณีโบราณในตอนกลางวันก่อนหรือหลังพิธีบวชนาคบางทีจัดให้มีพิธีฮดสรงหรือเถราภิเษาแต่พระภิกษุสามเณรที่เห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมรูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปซึ่งสมควรได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณ ที่เคยปฏิบัติกันมา พิธีฮดสรงหรือเถราภิเษก หากไม่ทำในงานบุญบั้งไฟ ประชาชนอาจจัดขึ้นในโอกาสใดโอกาสหนึ่งตามที่เห็นสมควรก็ได้ พิธีหดสรงหรือเถราภิเษามีพิธีปฏิบัติดังรายละเอียดต่อไปนี้
พิธีฮดสรงหรือเถราภิเษก
ธรรมเนียมเกี่ยวกับการบวชดั้งเดิม ตามประเพณีอีสานโบราณ ประชาชนผู้ชายเมื่ออายุพอบวชมักนิยมบวชเรียนในพระพุทธศาสนาเพราะประชาชนส่วนมากยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ผู้ที่มิได้บวชเรียนชาวบ้านเรียกคนนั้นว่า "คนดิบ" หรือ "คนตาย" หมายถึงเป็นคนไม่ได้รับการอบรมทางศาสนา จึงเรียกกว่า "คนดิบ" และคงเห็นว่าเกิดมาเป็นคนกับเขาเปล่าๆ ไม่ได้บวชเรียน จึงเรียกว่า "คนตาย" บางทีพูดเรียกคนผู้มิได้บวชนี้เป็นเชิงดูหมิ่นว่า เกิดมาเสียดายเปล่า ส่วนคนที่ได้บวชเรียนแล้ว เรียกว่า "คนสุก" ทั้งนี้คงจะถือว่าได้รับการอบรมทางพุทธศาสนามาแล้วอย่างสุกใสงดงาม ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือผู้ที่เคยบวชเรียนมาก เด็กหนุ่มบวชเป็นเณร นิยมเรียกว่า "จัว" หรือ "จังอ้าย" ถ้าคนแก่บวชเป็นเณร นิยมเรียกว่า "ตาเถร" ผู้บวชเป็นสามเณรเมื่อสึกมีคำเรียกนำหน้าชื่อคล้ายยศว่า "เชียง" หรือ "เชียงน้อย" เช่น เซียงมี เซียงสี เป็นต้น ส่วนผู้มีศรัทธา อุปสมบทเป็นภิกษุ นิยมเรียกภิกษุหนุ่มว่า "เจ้าหัว" หรือ "เจ้าหัวอ้าย" บางคนที่สนิมสนมคุ้นเคยเรียก "หม่อม" หรือ "หม่อมอ้าย" สำหรับคนที่ชวบเป็นภิกษุ ถึงแม้แก่แล้วอาจเรียก "เจ้าหัว" หรือ "เจ้าหัวพ่อ" หรือ "ครูบาพ่อ" พระภิกษุเมื่อลาสิกขาบท จะมียศเรียกนำหน้าว่า "หิต" หรือ "ทิด" แต่ถ้าพระภิกษุเคยมีสมณศักดิ์ลาสิกขาบท นิยมเรียกตามสมณศักดิ์ที่ได้รับ ได้แก่ ถ้ามีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จหรือสำเร็จลึกแล้วจะเรียกว่า "อาจารย์" ถ้าเป็น ชา คู ดูหลักคำ ดูลูกแก้ว ดูยอดแก้ว สึกแล้วเรียกว่า "จารย์ชา" จารย์ดูจารย์ดูหลักคำ จารย์ดูลูกแก้ว อาจารย์คูยอดแก้ว เป็นต้น ตามฐานะในขณะที่ยังบวชอยู่เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว หากได้ฝึกฝนอบรมไปตามทำนองคลองธรรม พระภิกษุสมเณรนั้นก็จะได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งขึ้น ด้วยการแต่งตั้งชั้นยศไปตามฐานานุรูป การเลื่อนชั้นยศและตำแหน่งนี้ตามธรรมเนียมชาวอีสานที่มีการแต่โบราณก็คือ การ "ฮดสรง" ได้แก่ การรดน้ำ สรงน้ำ พระภิกษุสามเณรผู้มีคุณสมบัติขึ้นไปตามฐานะ ตรงกับคำว่า "เถราภิเษก" นั้นเอง การทำพิธี "ฮดสรง" เช่นนี้ก็เพื่อเป็นการยกย่องชูเกรียติคุณให้ปรากฎ และเป็นการถวายกำลังใจ แด่พระภิกษุสามเณรผู้กระทำความดีให้ได้ทำดียิ่งขึ้นและเป็นการชักจูงให้ผู้อื่นเห็นผลการกระทำดี จะได้กระทำความดีแบบอย่างต่อไปนี้
ธรรมเนียมเกี่ยวกับการบวชดั้งเดิม ตามประเพณีอีสานโบราณ ประชาชนผู้ชายเมื่ออายุพอบวชมักนิยมบวชเรียนในพระพุทธศาสนาเพราะประชาชนส่วนมากยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ผู้ที่มิได้บวชเรียนชาวบ้านเรียกคนนั้นว่า "คนดิบ" หรือ "คนตาย" หมายถึงเป็นคนไม่ได้รับการอบรมทางศาสนา จึงเรียกกว่า "คนดิบ" และคงเห็นว่าเกิดมาเป็นคนกับเขาเปล่าๆ ไม่ได้บวชเรียน จึงเรียกว่า "คนตาย" บางทีพูดเรียกคนผู้มิได้บวชนี้เป็นเชิงดูหมิ่นว่า เกิดมาเสียดายเปล่า ส่วนคนที่ได้บวชเรียนแล้ว เรียกว่า "คนสุก" ทั้งนี้คงจะถือว่าได้รับการอบรมทางพุทธศาสนามาแล้วอย่างสุกใสงดงาม ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือผู้ที่เคยบวชเรียนมาก เด็กหนุ่มบวชเป็นเณร นิยมเรียกว่า "จัว" หรือ "จังอ้าย" ถ้าคนแก่บวชเป็นเณร นิยมเรียกว่า "ตาเถร" ผู้บวชเป็นสามเณรเมื่อสึกมีคำเรียกนำหน้าชื่อคล้ายยศว่า "เชียง" หรือ "เชียงน้อย" เช่น เซียงมี เซียงสี เป็นต้น ส่วนผู้มีศรัทธา อุปสมบทเป็นภิกษุ นิยมเรียกภิกษุหนุ่มว่า "เจ้าหัว" หรือ "เจ้าหัวอ้าย" บางคนที่สนิมสนมคุ้นเคยเรียก "หม่อม" หรือ "หม่อมอ้าย" สำหรับคนที่ชวบเป็นภิกษุ ถึงแม้แก่แล้วอาจเรียก "เจ้าหัว" หรือ "เจ้าหัวพ่อ" หรือ "ครูบาพ่อ" พระภิกษุเมื่อลาสิกขาบท จะมียศเรียกนำหน้าว่า "หิต" หรือ "ทิด" แต่ถ้าพระภิกษุเคยมีสมณศักดิ์ลาสิกขาบท นิยมเรียกตามสมณศักดิ์ที่ได้รับ ได้แก่ ถ้ามีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จหรือสำเร็จลึกแล้วจะเรียกว่า "อาจารย์" ถ้าเป็น ชา คู ดูหลักคำ ดูลูกแก้ว ดูยอดแก้ว สึกแล้วเรียกว่า "จารย์ชา" จารย์ดูจารย์ดูหลักคำ จารย์ดูลูกแก้ว อาจารย์คูยอดแก้ว เป็นต้น ตามฐานะในขณะที่ยังบวชอยู่เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว หากได้ฝึกฝนอบรมไปตามทำนองคลองธรรม พระภิกษุสมเณรนั้นก็จะได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งขึ้น ด้วยการแต่งตั้งชั้นยศไปตามฐานานุรูป การเลื่อนชั้นยศและตำแหน่งนี้ตามธรรมเนียมชาวอีสานที่มีการแต่โบราณก็คือ การ "ฮดสรง" ได้แก่ การรดน้ำ สรงน้ำ พระภิกษุสามเณรผู้มีคุณสมบัติขึ้นไปตามฐานะ ตรงกับคำว่า "เถราภิเษก" นั้นเอง การทำพิธี "ฮดสรง" เช่นนี้ก็เพื่อเป็นการยกย่องชูเกรียติคุณให้ปรากฎ และเป็นการถวายกำลังใจ แด่พระภิกษุสามเณรผู้กระทำความดีให้ได้ทำดียิ่งขึ้นและเป็นการชักจูงให้ผู้อื่นเห็นผลการกระทำดี จะได้กระทำความดีแบบอย่างต่อไปนี้
สมณศักดิ์ของชาวอีสานโบราณ ลำดับสมณศักดิ์ของชาวอิสานโบราณ นิยมถือตามแบบอย่างมาจากชาวเวียงจันทร์ ซึ่งแบ่งเป็นชั้น ๆ ดังนี้
1. ชั้นสำเร็จ (แบ่งแห่งเรียก สมเด็จ)
2. ขึ้นชา (ปรีชา)
3. ชั้นคู (ครู)
4. ชั้นราชคู (สำหรับครูบาอาจารย์สอนลูกเจ้านาย)
5. ชั้นเจ้าหัวคูฝ่าย
6. ชั้นเจ้าหัวคูค้าน
7. ชั้นเจ้าหัวคูหลักคำ
8. ชั้นเจ้าหัวคูลูกแก้ว
9. ชั้นเจ้าหัวคูยอดแก้ว
10. ราชคูหลวง สมณศักดิ์ตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 เป็นสมณศักดิ์ยกย่องฝ่ายปริยัติ ส่วนข้อ 5 ถึงข้อ 10 เป็นสมณศักดิ์ฝ่ายบริหาร การเลื่อนสมณศักดิ์ฝ่ายปริยัติ พระภิกษุสามเณรจะได้รับสมณศักดิ์ชั้นใด จะต้องได้รับการศึกษาเป็นบันไดไต่ขึ้นเป็นชั้น ๆ ตามหลักสูตร การแบ่งหลักสูตรการศึกษาในสมัยโบราณมี 3 ชั้น หลักสูตรชั้นหนึ่ง ๆ เรียกว่า "บั้น" ซึ่งมีดังนี้
ก. บั้นต้น
1. สูตรมนต์น้อย คือ ตั้งมุงคุลน้อย ได้แก่ 7 ตำนาน สูตรมนต์หลวง คือ ตั้งมุงคุลหลวงได้แก่ 12 ตำนาน ไชยน้อย ไชยใหญ่ จบบริบูรณ์
2. สูตรมนต์กลาง คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาสมยสูตร อนัตตขณสูตร อาทิตตยปริยายสูตร มาติการ แจง อภิธรรม 7 คัมภีร์ พระวินัย พระสูตร
3. สูตรมนต์ปลาย คือ สัททา (บาลีมูลกัจจายนสูตร) อภิธัมมสังคหบาลี ปาฏิโมกข์ บาลี ท่องให้ได้
ข. บั้นกลาง
4. เรียนสูตรมูลกัจจายนะ เริ่มสามัญญาภิกธาน - สนธิ เป็นต้นไป ดุจเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยนี้5. แปลคัมภีร์บาลีอัฏฐกถาทั้ง
5. คือ พระวินัย อัฏฐากถาอาทิกรรม อัฏฐาถาปาจิตตีย อัฏฐกถาจุลลวรรค อัฏฐานกถามหาวรรค อัฏฐกถาปริวารวรรค
6. อัฏฐกถาธรรมบทบาลี 8 ภาค
ค. บั้นปลาย
7. คัมภีร์ทสชาติบาลี
8. มังคลัตทีปนีบาลี
9. อัฏฐกถาวิสุทธมรรคบาลี
10. อัฏฐกถาอภิธรรมสังคหะบาลี
นอกจากนี้ ยังมีปกิณกะเบ็ดเตล็ดอีกมาก แล้วแต่ใครจะเรียนอะไร
การเรียนส่วนใหญ่มีการท่องจำตามลำดับ อาจเรียนท่องต่อปากอาจารย์หรือในหนังสือที่จารในใบลาน หนังสือที่ใช้เรียน โดยมาต้องจารเองเรียบร้อยจึงเรียน อักษรที่ใช้จารมีอักษรขอมบ้าง อักษรไทยโบราณซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ตัวธรรม" หรือ "อักษรธรรม" ที่เรียกเช่นนี้คงจะเนื่องจากอักษรเช่นนี้ใช้เป็นอักษรจารึกพระธรรมวินัย คนโบราณเคารพอักษรขอม และอักษรธรรมนี้มากจะเหยียบย่ำหรือเอาไว้ที่ต่ำไม่ได้ถือว่าบาปหนักสมณศักดิ์ผู้เรียนจบ เมื่อท่องบ่นจบหลักสูตรชั้นนั้น ๆ ก็ดี เล่าเรียนหลักสูตรที่ท่องบ่นไปกับอาจารย์ชั้นนั้น ๆ ก็ดี ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเฉียบแหลม ทางพระปริยัติธรรมมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ถือว่ามีบุญวาสนาดี ต่างได้รับเกียรติยกย่องสรรเสริญและจะได้รับการถวายสมณศักดิ์ดังนี้
1. ชั้นสำเร็จ ผู้ที่จะได้ฐานันดรศักดิ์เป็นชั้นสำเร็จ จะต้องเรียนจบหลักสูตรบั้นต้นก่อน จะเป็นจัวหรือเจ้าหัวก็ได้ ย่อมได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นชั้นสำเร็จทั้งนั้น ทั้งนี้อาจจะเนื่องจาก ท่องบ่นจำได้สำเร็จในสวดมนต์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เมื่อเป็นสำเร็จการเรียกเจ้าหัวเรียกสับเปลี่ยนกัน คือ ถ้าเป็นจัว ใช้คำว่า สำเร็จนำหน้า แล้วใส่ชื่อจัวรูปนั้น ๆ ต่อข้างหลัง เช่น สำเร็จจัวสา สำเร็จจัวมา ฯลฯ ถ้าเป็นเจ้าหัวใช้คำว่า สำเร็จไว้หลัง เช่น เจ้าหัวสำเร็จสี เจ้าหัวสำเร็จมี เป็นต้น
2. ชั้นชา คำว่า "ชา" คงหมายถึงปรีชา นั่นเองแต่ตัดคำต้นออกคงไว้เพราะชาตัวเดียวซึ่งหมายถึง ฉลาด รอบรู้ หรือคงแก่เรียน ตรงกับคำว่า ปริญญาหรือเปรียญในปัจจุบัน ผู้ที่จะได้เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นนี้จะต้องผ่านชั้นสำเร็จมาก่อน แล้วพยายามเล่าเรียนจบหลักสูตรบั้นกลาง จนมีปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานแตกในพระไตรปิฏกควรแก่การเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นนี้ จะเป็นจัวหรือเจ้าหัวก็ได้ ถ้าเป็นจัวเรียกว่า ซาจัว ถ้าเป็นเจ้าหัวเรียกว่าเจ้าหัวซาแล้วใส่ชื่อจั่ว เจ้าหัว ต่อท้าย เช่น ซาจัวขาว เจ้าหัวซาแดง เป็นต้น
3. ชั้นคู ผู้ที่จะได้ชั้นนี้ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 2 ประการคือ
1. เรื่องอายุ พรรษา จะต้องพ้น นวกภูมิและมัชฌิมภูมิ ตั้งอยู่ในเถรภูมิ เรียกว่า มีวัยสมบัติอย่างหนึ่งและ
2. เรื่องคุณวุฒิ จะต้องผ่านชั้นสำเร็จและชั้นซามาแล้ว มีอุตสาหะวิริยะ เล่าเรียนจบหลักสูตรบั้นปลายและค้นคว้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า พหูสูต สมควรเป็นครูบาอาจารย์ได้ จัวเรียกว่าคูจัว เจ้าหัว เรียก เจ้าหัวคู เช่น คูจัวทอง เจ้าหัวคูเงิน เป็นต้น อนี่งผู้มีสมณศักดิ์เป็นชั้นคูนี้ถ้าได้รับการนิมนต์เป็นครูอาจารย์สอนลูกเจ้านายหรือพระราขโอรส ร่วมกับปุโรหิตาจารย์ ก็เรียกว่า ราชคูจัว เจ้าหัวราชคู การเลื่อนสมณศักดิ์ฝ่ายบริหาร ตำแหน่งสมณศักดิ์ฝ่ายบริหารของชาวอีสานโบราณนั้น ผู้จะได้ตำแหน่งเหล่านี้ตามปรกติจะต้องมีคุณสมบัติต่อจากฝ่ายปริยัติ 3 ขั้นดังกล่าวแล้วก่อน แต่อาจมีข้อยกเว้นสำหรับพระภิกษุผู้มีคุณธรรมสูง เป็นที่เชื่อถือและเคารพนับถือของพระภิกษุสามเณรและประชาชน ตำแหน่งฝ่ายบริหารมีดังนี้
1. ดูฝ่ายหรือเจ้าหัวคูฝ่าย เป็นตำแหน่งปกครองหมู่สงฆ์ส่วนหนึ่ง หรือฝ่ายหนึ่งและผู้จะรับตำแหน่งนี้ปรกติจะต้องเป็นเจ้าหัวคูมาแล้ว ซึ่งมีความรู้สามารถพอที่จะอบรมสั่งสอน และปกครองคณะสงฆ์ตลอดประชาชนพลเมืองให้ประพฤติปฏิบัติไปตามฮีตคอง (จารีตประเพณี) อันดีงาม ตำแหน่งนี้อาจเทียบได้กับเจ้าคณะหมวดหรือเจ้าคณะตำบลในปัจจุบัน
2. ดูด้านหรือเจ้าหัวคูด้านเป็นตำแหน่งปกคองหมู่สงฆ์ส่วนหนี่งจะมีอำนาจที่ต่างกับดูด้านอย่างไรยังคลุมเคลือไม่ชัดเจน บางท่านกล่าวว่าดูด้านเทียบกับเจ้าคณะแขวงหรือเจ้าคณะอำเภอในปัจจุบัน
3. ดูหลักคำ เป็นตำแหน่งยศ ซึ่งปกครองคณะสงฆ์ในเขตกว้าง ประกอบกับผู้มั่นคงในพระธรรมเป็นหลักในการประกอบศาสนกิจเทียบได้กับหลักหล่อด้วยทองคำ บางทีเรียกว่า เจ้าหัวคูหลวง คงจะเนื่องจากได้รับแต่งตั้งจากหลวงหรือพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งนี้เทียบได้กับคณะจังหวัดเพราะเมืองหนึ่งมีได้เพียงรูปเดียว
4. คูลูกแก้ว การแต่งตั้งดูลูกแก้ว ส่วนมากคงมีเฉพาะเวียงจันทร์และหลวงพระบางซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนา คงเหมือนเป็นทายาทของคูยอดแก้ว หรือมิฉะนั้นก็ช่วยราชภาระบริหารรองคูยอดแก้วซึ่งคล้อยรับภาระด้านบริหารฝ่ายซ้ายของราชคูหลวง คูยอดแก้วนั้นบริหารฝ่ายขวา ท่านผู้เป็นราชคูหลวงเป็นประมุขสงฆ์ตำแหน่งพระสังฆราชนั้นเอง 5. คูยอดแก้ว เป็นตำแหน่งรับสนองพระบัญชา ดุจตำแหน่งบัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช เท่ากับตำแหน่งสังฆนายก ผู้จะได้รับตำแหน่งนี้จะต้องมีคุณสมบัติเป็นที่เคารพยำเกรงของสังฆมณฑล และประชาชนทั่วไปทั้งแคว้น ตำแหน่งนี้คงมีเฉพาะเมืองเวียงจันทน์เท่านั้นและตำแหน่งนี้สำคัญเท่ากับเป็นรองสมเด็จพระสังฆราช และคงจะเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปณาเถราภิเษกด้วยพระองค์เอง
6. ราชคูหลวง คงเป็นตำแหน่งพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางคณะสงฆ์และคงมีแต่เฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้นพิธีการเถราภิเษก ในสมัยโบราณพิธีเถราหรือฮดสรง ซึ่งเป็นพิธีเลื่อสมณศักดิ์แต่พระสงฆ์ตามประเพณี มักมีตามหัวเมืองต่าง ๆ อาจจะจัดทำพิธีขึ้นโดยเฉพาะหรือในงานบุญตามประเพณี เช่น บุญบั้งไฟซึ่งนิยมทำในเดือนหก เป็นต้น ผู้ดำเนินการอาจะเป็นเจ้าผู้ครองเมืองพร้อมด้วยท้าวเพีย หรือตาแสง นายบ้าน(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับประชาชนจัดประกอบพิธีขึ้น ส่วนพิธีเถราภิเษกโดยพระมหากษัตริย์แต่งตั้งโดยพระองค์เองเท่านั้น คงจะมีพิธีใหญ่โตและจัดบริขารเครื่องยศถวายเป็นพิเศษและจะจัดอย่างไรไม่ค่อยทราบรายละเอียด
ส่วนพิธีเถราภิเษก หรือฮดสรงที่ทำในท้องถิ่นภาคอีสานมีดังต่อไปนี้
ก. อุปกรณ์การฮดสรง
1. บริขารเครื่องยศ ธรรมเนียมการสถาปนาแต่งตั้งพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงคุณวุฒิ เฉียบแหลมพระธรรมวินัย และเพียบพร้อมด้วยคุณความดี ให้ได้รับสมณศักดิ์ตามขั้นนั้น นิยมจัดหาบริขารเครื่องยศเพื่อถวายบูชาคุณความรู้ ความอุตสาหะวิริยะ ฯลฯ คล้ายเป็นของขวัญ และเครื่องแสดงคุณความดี มี 1. เครื่องครองของพระภิกษุสามเณรที่ฮดสรง มีอัฐบริขาร 8 ได้แก่ ผ้าจีวร 1 ผืน ผ้าสังฆาฏิ 1 ผืน ผ้าสบง 1 ผืน รัดประคด 1 สาย มีดโกน 1 เล่ม กล่องเข็ม 1 กล่อง ธรรมกรก 1 อัน และมีดตัดเล็บ 1 เล่ม นอกนี้มีผ้าห่มสีเหลืองหรือสีแดง 1 ผืน รองเท้าคีบ 1 คู่ ไม้เท้าเหล็ก 1 อัน หมวก (หว่อม) ทำด้วยผ้าสีแดงปักด้วยไหมทอง สำหรับสวมทำเป็นเกศ 1 ใบ และเม็ง (เตียงนอน)
2. ตาลปัตรรูปใบโพธิ์ ปกติใช้ปักด้วยเส้นไหม
3. หลาบเงินหรือหลาบทอง เหตุที่ให้ชื่อว่า บริขารเครื่องยศ เพราะจัดหามอบถวายให้ในขณะที่ได้รับสถาปนาแต่งตั้ง คือ ได้รับยศแต่งตั้งหลาบเงิน คำว่า หลาบ เป็นศัพท์เก่าแก่ของชาวอีสาน หมายถึง ทรวงทรง สัณฐาน ความสวยงาม เช่น "คนนี้ได้หลายได้ลายดี หรือมีหลาบหลาย" หมายถึง เป็นคนที่มีทรวงทรงเหมาะสม สวยงาม หลาบเงิน คือ หลาบที่ทำด้วยเงิน ตีเป็นแผ่น ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. หลาบชั้นสำเร็จ กว้าง 1 นิ้ว เป็นแผ่นเงิน หนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หรือ 1 เซนติเมตร ยาว วัดจากคางถึงลูกตาหรือวัดจากหางคิ้วซ้ายผ่านหน้าผากจนถึงหางคิ้วขวาใช้หลาบเดียวฮดครั้งเดียว
2. หลาบเงินขั้นซา กว้าง 1 นิ้ว เป็นแผ่นเงิน หนาประมาณครึ่งเซนติเมตรหรือ 1เซนติเมตร ยาวกจากหูซ้ายถึงหูขวา ตำแหน่งซา ฮดถึง 3 ครั้งเรียกว่า ซา 1 หลาบ ซา 2 หลาบและ 3 หลาบ
3. หลาบเงินชั้นคู กว้าง 1 นิ้ว หนาประมาณครึ่งเซนติเมตรหรือ 1 เซนติเมตร เป็นแผ่นเงิน ยาววัดจากง่อน (ท้ายทอย) ทางด้านซ้ายถึงด้านขวา หรือวัดรอบศรีษะ ตำแหน่งดู ฮดถึง 3 ครั้ง เรียกว่า คู 1 หลาบ คู 2 หลาบ คู 3 หลาบ ขนาดความยาวของหลาบเงินนั้น ส่วนมากจำได้กันทั่วไปว่า เพราะมีคำพูดว่า "สำเร็จเพียงตา ซาเพียงหู คูเพียงง่อย" ฮดครั้งใดจะได้รับหลาบเงินทุกครั้ง ถึงขั้นสูงสุดจึงได้หลาบเงินถึง 7 หลาบหลาบนี้ถือว่าเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้ได้รับการฮดสรง ดังนั้น หากสึกจากพระภิกษุสามเณรแล้ว นำเอาหลาบติดตัวไปได้ข้อความจารึกในหลาบ เมื่อตีหลาบแล้ว นำหลาบใส่พาน ทำการจารึกเป็นอักษรขอม (ถ้าเป็นสมัยปัจจุบันก็อาจจารึกด้วยอักษรไทยที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็ได้) ข้อความที่จารึกมักไม่เหมือนกันทั่วไป แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างข้อความจารึกในหลาบมีดังนี้ "โส อตฺถลทฺโธ สุขิโต วิรุฬ?โห พุทฺธศาสเน อโรโค สุขิโต โหหิ สหสพฺเพหิ ญาติภิ จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ" นอกจากนี้ ยังตระเตรียมตัวจัดหาใบลาน เพื่อเขียนคำประกาศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายสัญญาบัตรโดยใช้ใบลานขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ตัดยาวประมาณ 1 คืบกว่า และเขียนด้วยอักษรขอมเช่นเดียวกับหลาบคำประกาศนี้อาจเขียนแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ตัวอย่างข้อความมีดังนี้ " ศรี ศรี ศุภมังคลุมะ ฑีฆายุวัฑฒนะ พุทธศักราช…………..(บอกพุทธศักราชปัจจุบัน) อภิราชเฮืองโฮม…….(บอกฤดู) เหมันตะกาลนิยม พรหมทินโนตม์ พระจันทร์แจ้งโชติใสแสง แฝงนักขัตตะยุตตมะราชาฤกษ์ ถือหน่วย ชื่อว่า…………..(บอกฤกษ์แต่งตั้ง) ภรณี สุกใสดี สนิท อันสถิตอยู่ใน………..(บอกราศี) เมษราศี สุกใสดี บ่อเศร้า ภายในสังฆราช ดูเป็นเค้า ภายนอกมีเจ้า……………(บอกชื่อผู้เป็นประธานฝ่ายฆราวาส) เป็นประธานกับทั้งบุตรหลานกรมการใหญ่น้อยสิบฮ้อยท้าวพระยา พร้อมกันน้อมนำมาซึ่งบริขารและน้ำมุทธาภิเษก คติเรกพระพร แถมนามกรตื่มยศ ฮดให้เป็น……..(ออกชื่อเดิมตำแหน่งเดิม)ขึ้นสู่……..(หลาบเงินเรียก หิรัญรัชฏะ ปัตตา หลาบทองเรียก สุวัณณะรัชฏะปัตตา) ให้ชื่อว่า……..(ชื่อยศที่ได้รับแต่งตั้งใหม่) ทะรงคัมภีร์ปัญญาและสุขุมปัญญา ศาสนูปถัมภ์สัมปันนะวิโรจน์ เถราภิเษกมหามุงคุล ขอจงวุฒิจำเริญฮุ่งเฮืองในพุทธศาสนาเทอญ" หรืออาจเขียนว่าดังต่อไปนี้ "ศรี ศรี ศุภมังคละ อุตตมาภิรมย์ พรหมศรีสวัสดีฑีฆายุ วัณณะ สุขะ พละ วัฒโน อัฆฐยุตตระ จตุรถาธิกานิ เทวะลังวัจฉะ ระหะหัสสานิอติกกัณตานิ ศักราช……….(บอกพุทธศักราชปัจจุบัน) ปกติมาส พิลาสเฮืองโอมพรหม………(บอกฤดู) คิมหันตะ วิสาขะเส สุกกะปักเขปฏิปาเทติ วารดิถี ระวิวารภิรมย์ ไชยเชษฐสยม สายัณหกาลนิยม พรหมจรรย์วิโรจน์ แจ้งโชติใสแสง แฝงกันจันทร์ นักขัตตนุต อุตตมมหาราชฤกษ์ ถืกหน่วยชื่อว่า……….(บอกฤกษ์แต่งตั้ง) อัสสวันนี้ลูกสนิท อันสถิตอยู่ใน……..(บอกราศี) พฤษภราศี สังฆสามัคคี ภายในมีเจ้าพระคุณ…….(ออกชื่อและตำแหน่งพระเถระผู้ประธาน) เป็นเค้ากับทัเงอันเตวาสิกทั้งปวง ภายนอกมี………(ออกชื่อและตำแหน่งประธานฝ่ายฆราวาสเป็นต้นเป็นประธาน มีใจชมชื่นพร้อมกันโมทนากับอุบาสกอุบาสิกาใหญ่น้อยเป็นปริโยสานกับทั้งปุตตานัดดาในคามวาสีเป็นเอกศรัทธา จึงมีใจเลื่อมใสชมชื่น ได้แล้วยื่นยอทาน มีใจบานสร้อยโชติ พี่น้องโสดช่วยโมทนา เจตราศรัทธาพร่ำพร้อมใจอ่อนน้อมในธรรมจึงพร้อมกันนำมา……..(หลาบเงินเรียกหิรัญรัชฎะปัตตา หลาบทองเรียกสุวัณณะรัชฏะปัตตา)ยังเงินขาวและคำแดงดี มาตีแปลงเป็นหลาบโสภาพเพี้ยงเสมอดังใบลานกับทั้งเครื่องบริขารอันวิเศษกับทั้งน้ำบ่อแก้วภิเษกมูรธา ภิสิณธุจะด้วยน้ำอบและน้ำหอม จึงพร้อมนำมาซึ่งเครื่องเถราภิเษก อดิเรกนามยศฮดสรง ปลงประสิทธิพระพร แถมนามกรเจ้า……………(ออกชื่อและตำแหน่งเดิมของผู้ให้รับฮดสรง) ขึ้นยศใหญ่ใส่ชื่อว่า……..(ออกชื่อยศที่ได้รับแต่งตั้งใหม่) ในพื้นหิรัญรัชฏะปัตตา หรือ สุวัณณะรัชตะปัตตา สมเด็จพระธรรมโคตรวงศา อันประกอบไปด้วยวิริยปัญญาปิฏกะ พระราชจตุปริสุทธิศีล มธุรสาภาณี ชินบุตรอุตตมปุญโญ ปฐมสมโพธิโชติปาละ เจ้าแล" ความนิยมเก่าแก่ จัดหากระบอกไม้ไผ่โตประมาณแขนกิ่ว (ข้อมือ) ตัดเลยขอทางนั้นทางนี้ยาวประมาณนิ้วมือ ใช้ตัดตรงกลางให้ขาด ทำลิ้นสวมกันได้ชนิดบั้งบี้ (กระบอกใส่ใบเสร็จ) ขัดให้สวยงาม เหลือผิวนอกไว้ตากแดดให้แห้งพอสมควร จึงลงรักปิดทอง ให้ลายทองรดน้ำบ้างลายทองเทพนมบ้าง เรียกว่า "บั้งหลาบ" สำหรับใส่หลาบและใบประกาศ จะทำการสถาปนาเถราภิเษกจำนวนกี่รูปก็ทำถวายรูปละบั้ง ๆ ให้ครบทุกรูปบางครั้งทำไม่ทันก็ยืมของรูปใดรูปหนึ่งก่อนก็ได้ ในชนบทแห่งทำการเถราภิเษกยังจัดหาทองคำตีเป็นแผ่นแทนหลาบก็มี อาจหนักหนึ่งสลึง สองสลึง สามสลึง หนึ่งบาท หรือสองบาทก็ได้
2. เครื่องประกอบการฮดสรง
1. ฮางฮด (รางรดน้ำสรง) ทำรางด้วยไม้เป็นรูปพญานาค ซึ่งทำเป็นลวดลายลงรักปิดทองอย่างสวยงาม ตรงคอนาคเจาะเป็นรูกลมสำหรับให้น้ำไหลลงที่ห้องฮางฮดเอาเหล็กกลมๆทำเป็นราวสำหรับติดเทียนบูชา1 ราว
2. เทียนกึ่งหรือเทียนง่า คือ เทียนที่นำมาประกอบติดกันเหมือนกิ่งไม้ 3 คู่ และเทียนกาบ 3 คู่ สำหรับจุดบูชาที่ราวเทียนในฮางฮดสรง
3. เทียนเล่มบาท 1 คู่ เทียนหนักเล่มละ 1 บาท 2 เล่ม สำหรับเป็นเทียนบูชา
4. เทียนเล่มเบี้ย 1 คู่ หนักเล่มละ 2 บาท ใช้มะพร้าวอ่อน 2 ลูก เจียนหัวท้ายให้สวยงาม ปักเทียนไว้บนหัวมะพร้าว
5. ขันหมากเบ็ง 1 คู่
6. เทียนเล็ก 1 คู่ พร้อมดอกไม้สำหรับให้ผู้รับการฮดสรงถือบูชา ขณะฟังผู้เฒ่าอ่านประกาศ
7. หินก้อนโต 1 ก้อน สำหรับให้ผู้รับการฮดสรงเหยียบในขณะฮดสรง ที่ใต้ก้อนหินมีใบคูณใบยอหญ้าแพรกและใบตองรองไว้
8. โอ่ง สำหรับใส่น้ำหอมพร้อมน้ำอบน้ำหอม (น้ำอบน้ำหอม ปรกติผู้ไปร่วมพิธีต่างจัดทำไปเอง)
9. บายศรี 1 คู่ พร้อมเทียนอาดหรือเทียนชัย ปักบายศรีข้างละ 1 เล่ม
นอกนี้มีอุปกรณ์อื่น ๆ ตามความจำเป็นขั้นตอนในพิธีฮดสรง
ก. ตั้งกองฮดสรง นำบริขารเครื่องยศที่กล่าวข้างต้น ได้แก่ อัฐบริขาร ตาลปัตรหลาบเงินหรือหลาบทองพร้อมเครื่องประกอบการฮดสรงบางอย่าง ได้แก่ เทียนกิ่งหรือเทียนง่าเทียนกาบ เทียนเล่มบาท เทียนเล่มเบี้ยขันหมากเบ็งและบายศรี เป็นต้น นำมาจัดบนศาลาโรงธรรมโดยจัดตั้งเป็นชุดหรือกองตกแต่งให้สวยงาม เรียกว่า กองฮด
ข. แห่สมโภชมุงคุล ในวันรวมหรือวันโฮม เวลาประมาณบ่าย 3 โมง ปรกติจะมีการแห่เครื่องยศและเครื่องประกอบการฮดสรงที่ตั้งไว้กองฮดมีหม้อน้ำอบน้ำหอมเข้าขบวนแห่ด้วย จัดขบวนยานหามพร้อมด้วยฆ้อง กลอง พิณพาทย์ มโหรี การจัดขบวนมีจัดยานหามเทียบข้างศาลาโรงธรรม นิมนต์พระสังฆเถระสวมเถราภิเษกมงคล (หมวกหรือหว่อม) ให้ที่ศีรษะผู้รับโอสรง มอบตาลปัตรให้ด้วยแล้วจึงหามพระสังฆเถระออกหน้าพร้อมผู้รับการฮดสรง อุ้มผ้าไตรและถืออุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแห่ไปในขบวนจะมีพลุ ตะไลจุดก็ได้ แห่รอบวัดหรือศาลาโรงธรรมแล้วแต่สะดวก 3 รอบ เสร็จพิธีแห่แล้ว นิมนต์พระภิกษุสามเณรขึ้นบนศาลาโรงธรรม พร้อมนำอุปกรณ์ฮดสรงไปประดิษฐานไปตามเดิม จึงทำพิธีสมโภชมุงคุล ดังนี้
1. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ตั้งบาตรน้ำมนต์ไหว้พระรับศีล เสร็จแล้วอาราธนาปริตตมงคล
2. พระสงฆ์สวดป่าวสัคเค ลวดมุงคุลน้อย มุงคุลหลวง ไชยน้อย ไชยใหญ่ และนิมนต์พระภิกษุสามเณรผู้รับฮดสรง นั่งฟังเจริญพระพุทธมนต์จนจบ
3. กลางคืนจะมีมหรสพสมโภชก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร
4. วันรุ่งขึ้น ถวายอาหารบิณฑบาตเช้า และมีฟังเทศนาอานิสงส์ด้วยกันก็ได้
ค. จัดสถานที่ฮด เพื่อเป็นสิริมงคล การฮดสรงนิยมจัดสถานที่ฮดสรงดังนี้
1. ตั้งฮางฮด (รางรดน้ำสรง) ห่างจากศาลาโรงธรรมประมาณ 10 วา เป็นอย่างน้อย ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อยสองข้างทาง ใช้ผ้าขาวคาดเป็นเพดานจากโรงธรรมถึงฮางฮด ผินหัวนาคฮางฮดไปทางทิศเหนือ หางนาคไปทางทิศใต้ ทำห้องสรงไว้ทางหัวนาค ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อยไว้รอบห้องสรงให้เหลือทางเข้าไว้ กั้นห้องสรงให้มิดชิด และให้หัวนาคอยู่ตรงบนห้องสรง หางนาคให้อยู่นอกห้องสรงปลูกศาลเพียงตาขึ้นที่สองข้างฮางฮด สำหรับตั้งบายศรีซ้ายขวา นำก้อนศิลามงคลไปวางไว้ใต้ฮางฮด ตรงคอพญานาค โดยมีใบคูณใบยอ หญ้าแพรกและใบตองรองพื้น เอาผ้าผืนบาง ๆ ห่อพันกล่องหลาบ รองลงที่คอพญานาค ติดเทียนกิ่งหรือเทียนง่าและเทียนกาบตรงราวเหล็กที่ฮางฮด
2. ตั้งโอ่งน้ำอบน้ำหอมไว้ใกล้บริเวณห้องสรง จัดใบคูณใบยอไว้อย่างละ 7 ใบ วางไว้ตรงรางน้ำสรงไหลลง ใช้ผ้าขาวห่อรางน้ำเพื่อกรอง และใช้ใบโพธิ์ 7 ใบ ใส่ห่อผ้าขาวหรือจะใส่เครื่องรางของขลังด้วยก็ได้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก 3. สมมติตาผ้าขาวเป็นพราหมณ์ 4 คน นุ่งขาวห่มขาว ถือไม้กระบองและไม้แบ ยาวประมาณ 1 วา ยืนรักษาทิศทั้งสี่ อยู่ในบริเวณห้องสรง
ง. พิธีสถาปนา เมื่อได้เวลาศุภฤกษ์มงคลดิถี พระสงฆเถระผู้เป็นประธานในสงฆ์จัดพิธีสถาปนาดังนี้
1. มอบตาลปัตร ไม้เท้าเหล็ก สวมกระโจมมงคล (หมวกหรือหว่อม) จับไม้เท้าเหล็กต่อๆ กันไป เดินจากโรงพิธีสู่ห้องสรง ระหว่างนี้ญาติโยมจะเข้าไปเกาะชายจีวรผู้รับการฮดสรงคล้ายจูงนาคเข้าโบสถ์ก็ได้
2. โยมผู้ชายพร้อมกันนอนคว่ำ (นอนเหมบ) เรียงกันไปถึงห้องสรง เพื่อให้พระเถระและผู้รับการฮดสรงเหยียบบั้นเอว ถือว่าศักดิ์สิทธิ์หายเจ็บหลังปวดเอวดีนัก
3. ถึงห้องสรงแล้ว พระสังฆเถระพร้อมพระพิธีหรือผู้เฒ่าจุดเทียนกิ่งหรือเทียนง่า และเทียนกาบบนฮางฮด แล้วพระพิธีกลับโรงพิธีเหลือพระสังฆเถระในห้องฮด
4. พระสังฆเถระถอดกระโจมมงคล (หมวกหรือหว่อม) ออกเอามือจับบ่าซ้ายขวาหมุนไปขวา 3 รอบ เป็นประทักษิณ จึงนิมนต์นั่งบนตั่งพิธี ฝ่าเท้าเหยียบบนหินมงคล ประนมมือ กระทำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
5. ญาติโยมนั่งถือไตรจีวรพร้อมตั้งนโม ฯลฯ 3 จบ กล่าวถวายไตรจีวรว่า อมานิ มยํ ภนเต ตีจีวรานิ สปริวารานิ ภิกขุสีลวนตสส นิยยาเหมสาธุโน ภนเต อิมานิ ติจีวรานิ ภิกขุสีลวนโต ปฏิคคณหาตุ อมหากํ ฑีฆรตตํ หิตาย สุขาย ภิกษุสามเณรผู้รับการฮดสรงรับสาธุพร้อมกัน ญาติโยมถวายผ้าไตรจีวร ภิกษุสามเณร ผู้รับนั้นทำกับปะพินทุ แล้วมอบให้โยมถือไว้ก่อน
6. ญาติโยมนำว่าคำถวายน้ำหอม ดังนี้อิมานิ มยํ ภนฺเต คนฺโธทกานิ เถราภิเสกตฺถาย ภิกฺขสีลวนฺ ตสนส นิยฺยาเทมทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต ฯลฯตติยมฺปิ ภนฺเต ฯลฯอมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ สํวตฺตนฺตุ สาธุ ๆ ๆ จึงนำน้ำหอมถวายพระสังฆเถระ จัดมูรธาภิเษาด้วยน้ำหอม นิมนต์พระสงฆ์ผู้ร่วมพิธีทุกรูป สวดไชย์น้อย ไชยใหญ่ (ทุกวันนี้สวดชยันโต) ขณะนั้นย่ำฆ้อง กลอง เสพพิณพาทย์ มโหรี จุดพลุ ตะไล และระหว่างนั้นญาติโยมชายหญิงทั้งหมดที่ไปร่วมพิธี หลั่งน้ำหอมฮดสรงลงที่ฮางฮดน้ำหอมก็จะไหลลงถูกพระภิกษุสามเณรที่นั่งอยู่ตรงรูฮางฮดนั้น เสร็จแล้วผู้รับฮดสรงยืนขึ้น ทายกนำไตรจีวรให้ครอง ครองเสร็จให้ยืนเรียงแถวประนมมือตั้ง นโม 3 จบ แล้วว่าคาถา "สีหนาทํ ทนทนเต เต ปริสาสุ วิสารทา" จบ กำกำปั้นตีฆ้องชัย "โม่ง" ทุกคนในที่นั้นส่งเสียงว่าสำเร็จ, ซา, คู ให้ว่าดัง ๆ ผู้รับฮดสรงว่า สีหนาทํ ฯ ไปอีก ผู้อยู่นั้นส่งเสียงเช่นเดิมอีกถึง 3 ครั้ง แล้วให้รูปต่อไปว่าอย่างเดียวกัน คือรูปใดได้ฮดสรงเป็นสำเร็จ ก็ให้พร้อมกันว่า สำเร็จ 3 ครั้ง ถ้ารูปใดได้ฮดเป็น ซา ก็ ว่าซา พร้อมกัน 3 ครั้ง รูปใดที่ได้ฮดเป็นคูก็ให้ว่าคู พร้อมกัน 3 ครั้ง ทำเช่นเดียวกัน
7. พระสังฆเถระมอบตาลปัตร ไม้เท้าเหล็ก จูงทุกรูปที่ได้รับการฮดสรงขึ้นบนศาลาโรงธรรมโดยญาติโยมผู้ชายนอนคว่ำ (นอนเหมบ)อีกให้ไต่เหมือนกับตอนที่จะไปรับการฮดสรง พระภิกษุสามเณรผู้รับการฮดสรงขึ้นไปนั่งบนอาสนะ ณ ศาลาโรงธรรม
8. ญาติโยมพร้อมกันขึ้นบนศาลาโรงธรรม จุดธูปเทียนไหว้พระรับศีล โดยพระภิกษุสามเณรได้รับฮดสรงนั้นพร้อมกันตั้งตาลปัตรให้ศีลพร้อมกัน
9. ผู้เฒ่าจุดเทียนเล็กคู่หนี่งพร้อมดอกไม้ถวายผู้ได้รับการฮดสรงถือไว้ประธานฝ่ายฆราวาสอ่านประกาศในใบลาน อ่านประกาศของรูปใดจบ ให้ตีฆ้อง 3 ครั้ง เสร็จแล้ว มอบถวายกล่องหลาบ พระสงฆ์สวดชยันโตไปจนเสร็จพิธีมอบถวายกล่องหลาบ
จ. ตั้งขันบายศรี เมื่อมอบถวายหลาบยศแล้ว พราหมณ์ 4 คน ซึ่งนุ่งขาวห่มขาว ยืนรักษาพิธีเถราภิเษกฮดสรงนั้น
เอาบายศรีมาตั้งลงข้างซ้ายขวาผู้รับการฮดสรง หรือถ้ามีหลายรูปก็นิมนต์ให้ผู้รับการฮดสรงนั่งล้อมขันบายศรี ผู้เฒ่าจัดการจุดเทียนอาดหรือเทียนชัย ที่ปักอยู่บนบายศรีซ้ายขวา ผู้รับหน้าที่เป็นพราหมณ์ทำพิธีเบิกบายศรี มงคล ปาวเทวดา ดังนี้ "อายนตุ โภนุโต ดูราเทพดาเจ้าถ้วนทุกหมู่ ที่สถิตอยู่ในท้องจักรวาล เนาในสถานทุกเพศ น่านน้ำเขตไพรพนอม ทั่วทั้งจอมดอยดอนดงห้วยหาด ทั่วทั้งอากาศเวหน ภายค่วงบนฝูงมวลแมนทุกส่ำ ถ้วนหน้าส่ำอินทร์พรหมทั้งพระยมตนองอาจทั้งท้าวราชจตุโลกบาล ผู้บริบาลทวยโลก ให้หายโศกอยู่สวัสดี ทั้งนางธรณี อิสูรครุฑนาค ทุกภาคน้ำนางน้อยเมขลา ทั้งมเหศักดามวลหมู่ ขอเชิญมาสู่เขตตั้งพิธีอันฝูงข้าดาดีตกแต่งไว้ ขอเชิญเทพไท้สรวงสวรรค์ จงเสด็จเฮ็วพลันห่อนให้ช้า ฮิ่บอ่วยหน้าเสด็จด่วนลงมา เที่ยวเทอญ"
ฉ. สูตรขวัญบายศรี ตั้งนโม 3 จบ แล้วว่าคำสูตรขวัญบายศรี ดังนี้
" ศรี ศรี สิทธิพระพร บวรดิเรก อเนกเตโช ชัยมงคลมหาสิริมังคเลส ศาตเพทพร้อมอาคม ขุนบรมปุนแปงไว้ ให้ลูกแก้วออกกินเมือง ฤทธิเฮืองทะรงแท่น มื่อนี้แม่นมื้อมหาคุณ ขุนแคนดาแต่งแล้ว ให้ลูกแก้วกิ่งลงมา เป็นราชาครองสืบสร้าง เมืองมิ่งกว้างนาคอง วันนี้ปองเป็นโชคไตรโลกย่อมลือชา ทะรงอิทธานุภาพยิ่งเจ้าจอมมิ่งเมืองแมน ทะรงแท่นแถนถัดล้ำ มื้อนี้ซ้ำคุณคง พระยาจัดทะรงทศราช พรหมนาถเล่าแถมพรพระอิศวรหลอนแถมโชค พระนารายณ์โยคสิทธิชัย ท้าวสหัสนัย์ประสาทฝนห่าแก้ว ใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์ อุตตมะโชค อุตตมะโยค อุตตมะดีถี อัตตมะนาที อุตตมะศรีพิลาส อินทะพาดพร้อมไตรยางค์ ทั่วนาวางค์คาดคู่ พร้อมกันอยู่สอนลอน อาทิตย์จรจันทะฤกษ์ อังคารถือมหาชัย พุธพฤหัสไปเป็นโชค ศุกร์เสาร์โยคเดชมงคล อันเป็นผลหลายประโยค อุตตมะโชคแท้ดีหลี มเหสักขีหลิงหล่ำโลก ให้หายทุกโศกนานา พระอภัยราชาขึ้นทะรงแท่น หายโพยแม่นวันดีกัณหาชาลีเมืองฮอดเมืองบู่ สถิตอยู่เย็นใจ ท้ายพญาศรีสญไชย์ภูวนา นิมนต์ราชปุตตา ให้เป็นพระราชาคืนดังเก่าเป็นเล่าสองทีก็เป็นมื้อนี้วันนี้ วันนี้เป็นดิถีทั้งห้า เจ้าฟ้าเล่าแถมคุณ พราหมณปุนปองราชพรแก้วอาจสิบประการวรสารตัวองอาจ ชี้สู่ราชเล็งโญ วันนี้ โพธิญาณตนหน่อฟ้า มีเดชกล้าสวยเมือง พระบุญเฮืองครองเมืองตุ้มไพร่ทศราชไต่ตามธรรม จำนำสัตว์ให้พ้น วันนี้ดีลื่นล้นเหลือประมาณ หนุมานใจผ่องแผ้ว นีรมิตผาสาทแก้วก่อแปงเมือง นาคองเฮืองทศราช เชียงเครืออาจขุนเม็ง เงินยวงเซ้งเนาคับคั่งสะพรั่งพร้อมฝูงหมู่เสนาเดาดามาเป็นบริวารแวดล้อม มาอยู่อ้อมทุกหมู่โยธา ทั้งนาคานาดีครุฑนาค ทุกภาคพร้อมธรณี เมขลาศรีสาวถ่าวเชื้อท่านท้าวปรเมศวร บรบวนฤทธีกล้า เอาแผ่นผ้าขี่ตางยาน กุมภัณฑ์ดาลยมราช จตุโลกอาจองค์หลวงทั้งค่วงบนบุรมเจ้าฟ้าเดชะกล้ากว่าสิ่งทั้งหลาย จึงยายยังพระพรและควงจุ้มให้ลงมาคุ้มฝูงคน ให้หายกังวลและเดือดฮ้อน โพยพยาธิ์ค่อนพ่ายหนีไปทั้งภายในและภายนอก แดดด้าวขอกคีรี พระฤษีสิทธิเดช จบเทพพร้อมอาคมนิยมประสิทธิ์ประสาทพรแก้วอาจดวงดี มื้อนี้แม่มื้อสวรรค์ วันนี้แม่นวันชอบ ทั้งประกอบด้วยฤกษ์งามยามดี เป็นศรีสิทธิชัยมัคลาดิเรกอเนกสวัสดี แท้ดีหลีแลนาย บัดนี้ ฝูงข้าน้อย ใจชื่อช้อยินสะออน ขอโอมอ่านอวยพรแก่……………..ผู้ทะรงคุณคามมากข้าน้อยหากขอวอน คุณอนุสรณ์สามสิ่ง คือ รัตนตรัยแก้วกิ่งดวงดี กับทั้งคุณประเสริฐศรีทุกแห่ง จบแหล่งหล้าสรวงสวรรค์มาเสกสรรเป็นพระพร คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อโรคยะปฏิภาณะ อธิปติ คุณสารสมบัติทุเยื่อง ขอให้เดชานุภาพกระเดื่องทั่วธรณี ดังแสงสุรีย์สว่างโลก หายทุกข์โศกสวัสดี เชยยตุ ภวํ เชยย มงคลํ จงให้เป็นชัยมงคลอันแวนยิ่งถ้วนทุกสิ่งสมบูรณ์ นั้นเทอญ (ตีฆ้อง 3 ที โห่ร้องเอาชัย)
ข. เฮียกขวัญผูกแขน เมื่อพราหมณ์กล่าวคำสูตรขวัญเสด็จ จะมีพิธีเฮียก (เรียก) ขวัญผูกแขนสำหรับเฮียกขวัญผูกแขนนั้น มีปรากฎอยู่
ในหนังสือประเพณีการบายศรีสู่ขวัญทั่วไปแล้ว จึงมิได้นำมารวบรวมไว้ในนี้ท่านผู้สนใจอาจศึกษาและท่องจำจากหนังสือดังกล่าว พิธีเฮียกขวัญผูกแขน พระสงฆ์ตั้งตาลปัตรสวดชยันโต 3 จบ พร้อมกับผูกแขนร่วมด้วยพราหมณ์และญาติโยม เสด็จพิธีแล้ว นิมนต์พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับการฮดสรง เข้านั่งอาสนะบนอาสน์สงฆ์ ญาติโยมประเคนบริขารเครื่องยศเฉพาะส่วนที่ยังมิได้ประเคน กองของรูปใดก็ประเคนรูปนั้น จากนี้ญาติโยมอาจจะถวายปัจจัยไทยทานแต่พระภิกษุสามเณรซึ่งมาร่วมพิธีเป็นพิเศษอีกก็แล้วแต่จะเห็นสมควรเมื่อประเคนแล้ว พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับเถราภิเษกและผู้ร่วมพิธีตั้งตาลปัตร อนุโมทนา ยถาสพพี จบ ว่า สพพุทธานุภาเวนะจนจบ ต่อภวตุ สพพมงคลํ ฯ จบ แล้วเป็นเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีสู่ขวัญนาค บวชนาคและฮดสรงหรือเถราภิเษก (ถ้ามี แล้วจะมีการแห่บั้งไฟออกนอกวัดไปแสดงคารวะมเหศักดิ์หลักเมืองและผีปู่ตาหรือผีเจ้าบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองหรือหมู่บ้าน แล้วแห่ไปตามละแวกบ้าน การแห่บั้งไฟจะมีการเซิ้งและฟ้อนรำพร้อมดนตรีพื้นเมืองชนิดต่าง ๆ เช่น กลอง ฆ้อง แคน พิณ ฯลฯ สำหรับขบวนเซิ้งและคำเซิ้งในประเพณีบุญบั้งไฟ อาจแบ่งออกได้เป็นสามพวก คือ พวกที่มีความรู้และเป็นสำคัญ คำเซิ้งจึงไม่พิถีพิถันนักอาจเป็นคำขอและอื่น ๆ ก็ไพเราะ อีกพวกหนึ่งมักคือพวกที่มีความรู้และคุณธรรมคำขอเหล้ากินบ้าน และขบวนแห่ก็มักจะจัดตามชอบส่วนอีกพวกหนึ่งมักค่อนข้างไปในทางตลกโปกฮา และบางทีคำพูดและกิริยาท่าทางที่แสดงอาจหยาบคายคือ คำเซิ้ง บางที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศและคำหยาบปะปนอยู่บ้าง นอกนี้ในขบวนแห่บางทีนำวัตถุบางอย่าง เช่น ไม้ เป็นต้น มาทำรูปอวัยวะเพศของชายหญิงมาประดับตามร่างกาย หรือถือแห่ร่วมขบวนไปด้วย และบางทีทำรูปชายหญิงร่วมเมกุนกับบนบั้งไฟขณะที่หามไปก็มี นอกนี้บางคนก็อาจมีการแสดงท่าทางหยาบโลนบ้าง แต่การทำเช่นนี้ ส่วนใหญ่ไม่มีใครถือสาหาความ ถือเป็นเรื่องขบขันและสนุกสนานมากกว่า เพราะเคยทำมานานคล้ายเป็นประเพณี ในขณะแห่บางคนเอาวัตถุบางอย่างมาทำเป็นหน้ากาก ซึ่งรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวแบบหัวโขนมาปิดหน้าตนและยังมีการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ บ้างก็แต่งแฟนซีเซิ้งและฟ้อนกันไปเป็นกลุ่ม ๆ บางกลุ่มเล่นพื้นเมืองทำท่าทางตลก เช่น ทอดแห ขายยาและอ่านหนังสือผูกคลอด้วยเสียงแคน บางคนก็รำไปพร้อมกับเสียงแคน ฯลฯ
สำหรับคำเซิ้งบั้งไฟขอยกตัวอย่างมาให้ดูดังต่อไปนี้
" โอเฮาโอ พวกฟ้อนเฮาโอ บั้งไฟหมื่นของพญาแถน ขึ้นไปเทิงเมืองแมนเถิงที่ชั้นฟ้า สุดแหล่งหล้าเหลียวบ่มีเห็น ข้ามตาเวนอุดรเป็นเขต ข้ามประเทศเมืองใหญ่หนองหาน ข้ามภูพานไปแล้วคุณพ่อ ขึ้นก่อด่อสามมื้อบ่ลง ตำข้าวถงไปนำเอาโลด ช่างแม่นขึ้นโพดเอาโลดเอาเหลือจนมีเสือหมูหมาช้างย้าน จนว่าฮ้านซิโปดซิเพ คักแท้เดบั้งไฟบักส่า ขึ้นจนว่าฝ้าแตกเป็นฝอย แหงนตาลอยจนว่าตาค้าง พออยากจ้างไผส่องนำเห็นบั้งไฟขึ้นแล้วซิหาทางเซิ้งต่อ มาพ้อบ่อนนี่เฮาอยากได้หญัง ใจเฮาหวังหล้าเด็ดหรือว่าเหล้าโท อยากขอเหล้าเด็ดนำเจ้าจักโอ ขอเหล้าโทนำเจ้าจักถ้วย หวานจ้วยจ้วยต้วยปากหลานชาย ตักมายายหลานชายให้มันคู่ดันบ่คู่โตข้อยบ่หนีตายเป็นผีซินำมาหลอก ออกจากบ้านซิหว่านดินนำ ตายเป็นปลวกมากัดเครือพลู ตายเป็นหนูมากัดเครือหูกต่ายเป็นลูกน้อยไห่จ่องกินนม เอาเถาะฟ้าวเอาเถาะ คันบ่ให้ทัวขั้นไดซิลงท่ง ลุงทานแล้วหลานแก้วซิให้พร ลุงทานแล้วให้แข้วเจ้าดำ ลุงทานแล้วให้ถงคำลุงตง ให้ท้องลุงพ่งคือดั่งไหได ลุงเฮ็ดไฮ่ให้ได้ข้าวฮวงหนา ลุงเฮ็ดนาให้ได้ข้าวฮวงใหญ่ ให้ลูกใภ้หลานน้อยได้ชื่นชม เลี้ยงควายด่อนให้เป็นโตเขาดำ เลี้ยวควายดำให้เป็นโตเข้าแถ้วเลี้ยงแผ่แล้วไว้คราดไฮ่ไถนา มาเฮามาพวกเซิ้งเฮามา ฯลฯ" ส่วนการเล่นอย่างอื่น ๆ ซึ่งแล้วแต่ใครจะคิดขึ้น เพื่อความสนุกสนานคงดำเนินต่อไปเป็นกลุ่ม ๆ หรือคนเดียวตามอัธยาศัยจนตลอดวันและตลอดคืน ในระหว่างงานนี้หนุ่ม ๆ จะถือโอกาสคุยกับสาว ๆ ที่ตนชอบตามเพิงปะรำหรือผามทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยพอถึงกลางคืน นอกจากจะมีการคบงันด้วยการละเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน บางแห่งมีการเส็งกลอง การแข่งขันตีกลอง กลองที่เอามาตีแข่งขันกันเรียกว่า "กลองเส็ง" ผู้มาแข่งขันอาจเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกันหรือต่าง ๆ หมู่บ้านนำกลองมาแข่งก็ได้การตัดสินแข่งตีกลอง ตัดสินที่ลีลา จังหวะการตี และเสียงดัง การคบงันปรกติมีการเล่นและร้องรำต่าง ๆ จะสว่างดังกล่าวแล้ว พอรุ่งเช้าถวายจังหันเสร็จแล้ว นำบั้งไฟไปจุดที่นั่งร้านบนต้นไม้ ซึ่งยกขึ้นสำหรับจุดบั้งไฟโดยเฉพาะบางแห่งมีการจุดบั้งไฟในตอนบ่ายก่อนนำบั้งไฟไปจุดจะมีการแห่บั้งไฟพร้อมกับมีการเล่นต่างๆ อีกครั้งหนึ่งและมีการประกวดดังกล่าวแล้วข้างต้น การจุดบั้งไฟส่วนมากต้องนำไปจุดกลางทุ่ง ห่างไกลจากชุมชนหรือหมู่บ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากบั้งไฟ ระหว่างการแห่และจุดบั้งไฟ ประชาชนจะไปดูกันอย่างคับคั่ง เมื่อจุดบั้งไฟแล้ว หากบั้งไฟใครขึ้นสูง ญาติมิตรจะพากันขามช่างบั้งไฟไปสรงน้ำหรือไปปรับกินเหล้า และถ้าหากบั้งไฟไม่ขึ้นก็จะหามช้างไปโยนลงน้ำหรือโคลนตมเมื่อจุดบั้งไฟเสร็จแล้วมีการตามรอยไฟ คือ ฟ้อนรำไปเยี่ยมตามบ้านต่าง ๆ เพื่อขอสุราอาหารกินกัน การทำบุญชนิดนี้ นอกจากจะเป็นพิธีขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว ยังทำให้ผู้ที่มาร่วมงานกันทำบุญเกิดความรักใคร่สามัคคีกัน เพราะชาวบ้านได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนคบค้าสมาคมกันและเป็นการพักผ่อนสนุกสนานเพลิดเพลิน ก่อนจะได้ลงมือทำนาทำไร่ซึ่งเป็นงานหนักด้วย เมื่อเล่นสนุกสนานกันพอสมควรจนถึงค่ำแล้ว จึงแยกย้ายกันกลับบ้าน เป็นเสร็จพิธีบุญบั้งไฟ นอกจากการทำบุญบั้งไฟ ยังมีการทำบุญวิสาขบูชา คือ วันเพ็ญเดือนหก ได้แก่การถวายภัตตาหารบิณฑบาตร ฟังเทศน์ในตอนเช้า และเวียนเทียนในตอนค่ำ นอกนี้ในเดือนหกนี้บางแห่งคงมีการสรงน้ำพระพุทธรูปซึ่งเป็นการสรงต่อเนื่องมาจากพิธีตรุษสงกรานต์ ดังได้กล่าวแล้วในเรื่องบุญสงกรานต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น