บุญเผวสหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ดังมีคำพังเพยว่า "เดือนสามด้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ เดือนสี่ด้อยจัวน้อยเทศน์มะที" (คำว่า เจ้าหัว หมายถึงพระภิกษุ จัว หมายถึง สามเณร มะที หมายถึง มัทรี) บางแห่งทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดก็มีและหากทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ด มักจะทำบุญบั้งไฟรวมด้วยก่อนจัดงาน ทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน ทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่าง ๆ สำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และเลี้ยงแขกเลี้ยงคนที่มาร่วมงานและจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หลังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดยทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสมเณรในวัดนั้น เพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาไปนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้งอยู่มาร่วมทำบุยด้วย ซึ่งตามปรกติเมื่อพระภิกษุสามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์และร่วมงานด้วยหมู่บ้านและมาก ๆ หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กัณฑ์ใด กัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกันและบอกจำนวนคาถาของแต่ละกีณฑ์ให้ทราบด้วยเพื่อเตรียมความเทียนมาตามจำนวนคาถาของกันฑ์ที่คนซึ่งจำนวนคาถาของกัณฑ์ต่าง ๆ มีดังนี้ ทศพร 19 คาถา หิมพานต์ 134 คาถา ทานกัณฑ์ 209 คาถา วนปเวสน์ 57 คาถา ชูชก 79 คาถา จุลพน 35 คาถา มหาพน 80 คาถา กุมาร 101 คาถา มัทรี 90 คาถา สักบรรพ 43 คาถา มหาราช 68 คาถา ฉกษัตริย์ 30 คาถาและนครกัณฑ์ 48 คาถา รวม 1000 คาถาพอดีชาวบ้านยังแบ่งหน้าที่กันด้วยว่าใครเป็นผู้รับเลี้ยงพระภิกษุสามเณรและญาติโยมหมู่บ้านใด โดยแบ่งหน้าที่มอบให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ เนื่องจากแต่ละวัดมีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านไปร่วมกันมากชาวบ้านจึงช่วยกันปลูกที่พักชั่วคราวขึ้น เรียกว่า ตูบ (กระท่อม) หรือผาม (ปะรำ) จะปลูกรอบบริเวณวัดรอบศาลาหรือรอบกฏิก็ได้ ตูบมีขนาดกว้างประมาณ 4 ศอก ยาวตามความเหมาะสม หลังคาเป็นรูปเพิงหรือเป็นจั่วก็ได้ พื้นปูด้วยกระดานหรือฟาก ที่พักนี้กะจัดทำให้พอเพียง และให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันเริ่มงาน มูลเหตุที่มีการทำบุญเผวส มีเล่าไว้ในเรื่องพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า พระมาลัยได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พบพระศรีอริยเทตไตรย พระศรีอริยเมตไตยได้ดำรัสสั่งกับพระมาลัยว่าถ้ามนุษย์อยากพบพระองค์ จงอย่าได้ทำบาปหนัก ได้แก่ ฆ่าหรือข่มเหงบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ทำร้ายร่างกายพระพุทธเจ้าและยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน ให้อุตสาห์ฟังเรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกหรือเผวสให้จบในวันเดียวกันฟังแล้วให้นำไปประพฤติปฏิบัติจะได้พบพระศาสนาของพระองค์ เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์จึงได้บอกให้มนุษย์ทราบ โดยเหตุนี้ผู้ปรารถนาจะพบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย จึงพากันทำบุญเผวสสืบต่อกันมา วิธีดำเนินการ ก่อนมีงานบุญเผวสหลายวัน ชาวบ้านชายหญิงทั้งคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งส่วนมากเป็นหนุ่มสาวพากันไปรวมกันที่วัด ช่วยกันจัดทำที่พักสำหรับผู้มาร่วมงานและช่วยกันจัดทำดอกไม้ จัดตกแต่งประดับประดาศาลาโรงธรรมด้วยดอกไม้ พวงมาลัยและธงทิว พวกผู้หญิงจะจัดทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียนพันธูปพันเทียน ปืนดาบอย่างละพัน และข้าวตอกดอกไม้ไว้บูชาคาถาพัน ดอกไม้ที่จัดมีดอกบัวพันดอก นอกนี้อาจมีดอกผักตบ ดอกกางของ (ดอกปีบ) อย่างละพันดอก (ดอกไม้ปรกติทำด้วยไม้แทน) ธงพันผืนทำด้วยเศษผ้า กระดาษสี ใบลานหรือใบตาลก็ได้ เสร็จจากการจัดดอกไม้ธูปเทียนธงและสิ่งดังกล่าวแล้ว ซึ่งด้วยสายสิญจน์ ตั้งหม้อน้ำมนต์ มีขันหมากเบ็ง(บายศรีประดับด้วยหมาก) แปดอัน โอ่งน้ำ 4 โอ่ง ตั้งไว้ที่มุมธรรมาสน์ ในโอ่งน้ำมีจอก แหน (สาหร่าย) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกจิกดอกฮัง (ดอกเต็งรัง) ดอกบัว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก ฯลฯ และใบบัวปั้นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปนก รูปวัว รูปควาย รูปช้าง รูปม้า ฯลฯ เอาไว้ที่ใต้ธรรมาสน์ เอาธงใหญ่แปดวงปักรอบนอกศาลาในทิศทั้งแปด เพื่อหมายว่าเป็นเขตปลอดภัย ป้องกันพญามารไม่ให้ลำเข้ามา ตามเสาธงที่ใส่ข้าวพันก้อน ซึ่งปรกติสานเป็นพานด้วยไม้ไผ่ บางแห่งสานเป็นตาด้วยไม้ตอก เป็นคีรีวงกตไว้รอบศาลาและทำเป็นทางเข้าศาลาโรงธรรมคดเคี้ยวไปมา บนศาลานอกจากประดับประดาให้สวยงามแล้ว บางแห่งยังมีภาพมหาเวสสันดรชาดกประดับไว้ทางด้านตะวันออกของศาลาโรงธรรม ปลุกหออุปคุตขึ้นไว้พร้อมมีสิ่งเหล่านี้บนหอด้วยคือ มีบาตร 1 ใบ ร่ม 1 คัน กระโถน 1 ใบ กาน้ำ 1 ใบ แลสบงจีวร 2 ชุด สำหรับพระอุปคุต การจัดตกแต่งดังกล่าวกะจัดให้เสร็จเรียบร้อยวันงานพอดี วันรวม (วันโฮม) วันแรกของงานเรียกว่า "วันรวมหรือวันโฮม" ในวันโฮมนอกจากจะมีประชาชนตามละแวกบ้านและหมู่บ้านอื่นที่ใกล้เคียงหลั่งใหลกันมาร่วมงานแล้ว จะมีพิธีงานที่สำคัญ 2 อย่าง คือ
1. การนิมนต์พระอุปคุต ในตอนเช้ามือของวันโฮม ประมาณสี่หรือห้านาฬิกา มีพิธีนิมนต์พระอุปคุตโดยก่อนเริ่มพิธีการ มีการนำก้อนหินขนาดโตพอสมควรสามก้อนไปวางไว้ในวังน้ำหรือถ้าไม่มีวังน้ำอาจเป็นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดที่ทำบุญเผวสเท่าใดนัก พอถึงกำหนดเวลาก็มีการแห่พานดอกไม้ธูปเทียนขันห้าขันแปด (พานเทียนและดอกไม้อย่างละห้าคู่และแปดคู่) ไปยัง ณ สถานที่ก้อนหินวางอยู่ซึ่งสมมุติว่าเป็นพระอุปคุต พอไปถึงที่ดังกล่าวจะมีผู้หยิบก้อนหินชูขึ้นและถามว่าเป็นพระอุปคุตหรือไม่ สองก้อนแรกจะได้รับคำตอบว่า "ไม่ใช่" พอถึงก้อนที่สามจึงจะตอบว่า "ใช่" จึงมีการกล่าวคำอาราธนาพระอุปคุตแล้วอัญเชิญก้อนหินก้อนที่สามซึ่งสมมุติใส่พานหรือถาม และจะมีการจัดประทัดหรือปืนกันตูมตาม แล้วมีการแห่พระอุปคุตพร้อมตีฆ้องตีกลองและเครื่องดนตรีมีแคน เป็นต้นอย่างครึกเครื้นเข้ามายังวัดแล้วจึงนำมาประดิษฐ์สถานไว้ที่หออุปคุตข้างศาลาโรงธรรม ซึ่งเตรียมจัดไว้แล้ว พอแห่พระอุปคุตเข้ามาประดิษฐานไว้เรียบร้อยผู้ชอบสนุกก็จะตีฆ้องและกลองพร้อมเครื่องดนตรี แห่แหนฟ้อนรำรอบ ๆ วัดและตามละแวกหมู่บ้านตามอัธยาศัย
การนิมนต์พระอุปคตมาเมื่อมีงานบุญเผวส เพื่อให้มีความสวัสดีมีชัย และเพื่อให้การจัดงานสำเร็จราบรื่นด้วยดี
มูลเหตุดั้งเดิมมีการนิมนต์พระอุปคต มีเรื่องเล่าว่าพระอุปคตเป็นพระเถระผู้มีฤทธิ์ได้นิรมิตกุฎีอยู่กลางมหาสมุทร ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากที่ต่าง ๆ เอามาบรรจุไว้ในสถานที่พระองค์สร้างใหม่ เสร็จแล้วจะจัดงานฉลอง พระองค์ทรงพระปริวิตกถึงมารที่เคยเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า เกรงว่าการจัดงานจะไม่ปลอดภัยจึงมีรับสั่งให้ไปนิมนต์พระอุปคตมาในพิธี ฝ่ายพญามารรู้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะฉลองพระสถูป จึงพากันมาบันดาลอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ พระอุปคตจึงบันดาลฤทธิ์ตอบ ครั้งสุดท้ายพระอุปคตเนรมิตเป็นสุนัขเน่าแขวนคอมารไว้ มารไม่สามารถแก้ได้ เอาไปให้พระอินทร์ช่วยแก้ให้ พระอินทร์ก็แก้ไม่ได้ มารจึงยอมสารภาพผิด พระอุปคตแก้ให้แล้วกักตัวมารไว้บนยอดเขา เสร็จพิธีแล้วจึงปล่อยให้ตัวมารไปพระเจ้าอโศกมหาราชและผู้ร่วมงานนั้นจึงปลอดภัย โดยเหตุนี้เมื่อมีพิธีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเช่น บุญเผวส จึงได้มีการนิมนต์พระอุปคุตมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ และให้เกิดสวัสดิมีชัยดังกล่าวแล้วก่อนพระเทศน์เอาคาถาพระอุปคุตทั้งสี่บทปักไว้ข้างธรรมาสน์ทั้งสี่ทิศด้วยคำอาราธนาพระอุปคุต และคาถาพระอุปคุต มีด้งนี้
มูลเหตุดั้งเดิมมีการนิมนต์พระอุปคต มีเรื่องเล่าว่าพระอุปคตเป็นพระเถระผู้มีฤทธิ์ได้นิรมิตกุฎีอยู่กลางมหาสมุทร ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากที่ต่าง ๆ เอามาบรรจุไว้ในสถานที่พระองค์สร้างใหม่ เสร็จแล้วจะจัดงานฉลอง พระองค์ทรงพระปริวิตกถึงมารที่เคยเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า เกรงว่าการจัดงานจะไม่ปลอดภัยจึงมีรับสั่งให้ไปนิมนต์พระอุปคตมาในพิธี ฝ่ายพญามารรู้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะฉลองพระสถูป จึงพากันมาบันดาลอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ พระอุปคตจึงบันดาลฤทธิ์ตอบ ครั้งสุดท้ายพระอุปคตเนรมิตเป็นสุนัขเน่าแขวนคอมารไว้ มารไม่สามารถแก้ได้ เอาไปให้พระอินทร์ช่วยแก้ให้ พระอินทร์ก็แก้ไม่ได้ มารจึงยอมสารภาพผิด พระอุปคตแก้ให้แล้วกักตัวมารไว้บนยอดเขา เสร็จพิธีแล้วจึงปล่อยให้ตัวมารไปพระเจ้าอโศกมหาราชและผู้ร่วมงานนั้นจึงปลอดภัย โดยเหตุนี้เมื่อมีพิธีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเช่น บุญเผวส จึงได้มีการนิมนต์พระอุปคุตมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ และให้เกิดสวัสดิมีชัยดังกล่าวแล้วก่อนพระเทศน์เอาคาถาพระอุปคุตทั้งสี่บทปักไว้ข้างธรรมาสน์ทั้งสี่ทิศด้วยคำอาราธนาพระอุปคุต และคาถาพระอุปคุต มีด้งนี้
คำอาราธนาพระอุปคุต
โอกาสะ โอกาสะ ฝูงข้าทั้งหลาย อภิวันท์ไหว้ยังพระมหาอุปคุตผู้ประเสริฐ มีศักดาเลิศปรากฏ ทรงเกีนรติยศขีณา กว่าพระอรหันตาทั้งหลาย ข้าขออาราธนามหาเถระผู้มีอาคมแก่กล้า จงเสด็จแต่น้ำคงคา มาผจญมารร้ายด้วยบาทพระคาถาว่า อุปคุตโต มหาเถโร คิชฌะกูโต สามุทธะโย เอกะมาโร เตชะมาโร ปะลายันตุ ฝูงข้าทั้งหลายขออาราธนามหาเถระเจ้า จงมาผจญมลมารทั้งห้า ใต้ลุ่มฟ้าและเวหน ภายบนแต่อกนีฏฐานเป็นเค้าตลอดเท่าถึงนาคครุฑ มนุษย์เทวา ผู้มีใจสาโหด โกรธาโกรอธรรม ฝูงมีใจดำบ่ฮุ่ง หน้ามืดมุ่งมานมัว ถ้ำฝายเหนือและขอกใต้ทั้งที่ใกล้และที่ไกล ตะวันตกและตะวันออก ขอบเขตภูมิสถาน อันฝูงข้าทั้งหลายจักฟังพระธรรมเทศนา ในสถานที่นี้ ขออัญเชิญพระอาทิตย์ผู้วิเศษใสแสง พระจันทร์แยงเยืองโลก อังคารโผดผายผัน พุธพฤหัสพลันแวนเที่ยว ศุกร์เสาร์เกี่ยวคอยระวัง กำจัดบังแวดไว้ เทพไท้ตนลือฤทธิ์พระพาย แมนมิตรไตรสถาน พระอิศวรผันผายแผ่รัศมีแก่แตโช ผาบศัตรูมาฮ้าย ในคุ้มข่วงเขตสถาน อันฝูงข้าทั้งหลายจักยอทานและและฟังเทศน์ องค์เทเวศจงฮักษากำจัดประดามารโหดร้าย ให้พลัดพ่ายกลับหนี อย่าฮาวีข่วงเขตที่นี้ก็ข้าเทอญ โย โย อุปคุตโต มหาเถโร ยัง ยัง อุปคุตตัง มหาเถรัง กายัง ฟันธะมะรัส สะดีวัง สัพเพยักขา ปะลายันตุ สัพเพ ภยา ปะลายันตุ สัพเพ ปิสาจา ปะลายันตุ ฝูงผียักษ์และผีเสื้อ ฝูงเป็นใจพญามาร สูทานทั้งหลายมีใจ อันมักผาบแพ้ตนประเสริฐ สัพพัญญู ปะลายันตุ จงผันผายออกหนี จากขอบเขตประเทศที่นี้ ก็ข้าเทอญ
โอกาสะ โอกาสะ ฝูงข้าทั้งหลาย อภิวันท์ไหว้ยังพระมหาอุปคุตผู้ประเสริฐ มีศักดาเลิศปรากฏ ทรงเกีนรติยศขีณา กว่าพระอรหันตาทั้งหลาย ข้าขออาราธนามหาเถระผู้มีอาคมแก่กล้า จงเสด็จแต่น้ำคงคา มาผจญมารร้ายด้วยบาทพระคาถาว่า อุปคุตโต มหาเถโร คิชฌะกูโต สามุทธะโย เอกะมาโร เตชะมาโร ปะลายันตุ ฝูงข้าทั้งหลายขออาราธนามหาเถระเจ้า จงมาผจญมลมารทั้งห้า ใต้ลุ่มฟ้าและเวหน ภายบนแต่อกนีฏฐานเป็นเค้าตลอดเท่าถึงนาคครุฑ มนุษย์เทวา ผู้มีใจสาโหด โกรธาโกรอธรรม ฝูงมีใจดำบ่ฮุ่ง หน้ามืดมุ่งมานมัว ถ้ำฝายเหนือและขอกใต้ทั้งที่ใกล้และที่ไกล ตะวันตกและตะวันออก ขอบเขตภูมิสถาน อันฝูงข้าทั้งหลายจักฟังพระธรรมเทศนา ในสถานที่นี้ ขออัญเชิญพระอาทิตย์ผู้วิเศษใสแสง พระจันทร์แยงเยืองโลก อังคารโผดผายผัน พุธพฤหัสพลันแวนเที่ยว ศุกร์เสาร์เกี่ยวคอยระวัง กำจัดบังแวดไว้ เทพไท้ตนลือฤทธิ์พระพาย แมนมิตรไตรสถาน พระอิศวรผันผายแผ่รัศมีแก่แตโช ผาบศัตรูมาฮ้าย ในคุ้มข่วงเขตสถาน อันฝูงข้าทั้งหลายจักยอทานและและฟังเทศน์ องค์เทเวศจงฮักษากำจัดประดามารโหดร้าย ให้พลัดพ่ายกลับหนี อย่าฮาวีข่วงเขตที่นี้ก็ข้าเทอญ โย โย อุปคุตโต มหาเถโร ยัง ยัง อุปคุตตัง มหาเถรัง กายัง ฟันธะมะรัส สะดีวัง สัพเพยักขา ปะลายันตุ สัพเพ ภยา ปะลายันตุ สัพเพ ปิสาจา ปะลายันตุ ฝูงผียักษ์และผีเสื้อ ฝูงเป็นใจพญามาร สูทานทั้งหลายมีใจ อันมักผาบแพ้ตนประเสริฐ สัพพัญญู ปะลายันตุ จงผันผายออกหนี จากขอบเขตประเทศที่นี้ ก็ข้าเทอญ
คาถาพระอุปคุต
บทที่หนึ่ง อุปคุตโต มหาเถโร เยนะสัจเจนะยะสัจ วาชิปุเร อะหหุสัจจะ วัชเชนะ วิสัง สามัส สะหัญญะตุ บทที่สอง อุปคุตโต เยนะสัจเจนะ ยะสาโม สัจจิวา มาตา เปติภะโรอาหุ กุเรเชฏฐา ปัจจายิโน เอเตนะสัจจะ วัชเชนะ วิสสา มัสสะหัญญตุ บทที่สาม อุปคุตโต เยนะสัจเจนะ ยะสาโม ปานาปิ ยัตตะโร มะมะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัสิง สามัสสะ หัญญะตุ บทที่สี่ อุปคุตโต ยะจิน จิตตะ ปุญญะมังทะ เจวะ สิตุจะเต สพเพนะเต สาเลนะ อิสามัสสะหัญญะตุ
2. การแห่เผวส พอตอนบ่ายประมาณสองหรือสามโมงในวันโฮม ชาวบ้านมารวมกันที่วัด เตรียมตัวจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมติให้พระเวสสันดรและนางมัทรีไปอยู่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นป่าจริงหรือทุ่งนา หรือลานหญ้าก็ได้แล้วแต่ภูมิประเทศจะอำนวย พิธีการอัญเชิญพระพุทธรูป 1 องค์ และพระภิกษุ 4 รูป ขั้นนั่งบนเสลี่ยงหามไปยัง ณ ที่สมมุติว่า พระเวสสันดรและนางมัทรีประทับอยู่ (ไม่ห่างจากวัดเท่าใดนัก) พอไปถึงที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เริ่มต้นแห่เผวส ก่อนเริ่มต้นแห่มีการอาราธนาศีลและรับศีลและห้าก่อน แล้วทำพิธีบายศรีสู่ขวัญพระเวสสันดรกับนางมัทรีนิมนต์พระเทศน์กัณฐ์ฉกษัตริย์ เสร็จแล้วกล่าวอันเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยหามเสลี่ยงพระพุทธรูป และพระภิกษุออกก่อน บางแห่งหากมีรูปภาพเกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดร ก็จะแห่รูปภาพดังกล่าวไปในขบวนด้วย พอขบวนแห่ถึงวัดจึงทำการแห่รอบวัดหรือศาลาโรงธรรมโดยเวียนขวารอบ แล้วนำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม และนำดอกไม้ธูปเทียนไปวางไว้ ณ ที่จัดไว้ ประชาชนจึงกลับไปพักผ่อน พอถึงตอนค่ำประชาชนจะมาโฮม (รวม) กันอีกครั้งจึงอาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ เมื่อพระสวดพระพุทธมนต์จบ พระจะขึ้นสวดบนธรรมมาสน์อีก 4 ครั้ง ๆ ละ 2 รูป รวม 8 รูป คือ สวดอิติปิโส โพธิสัตว์บั้นต้น-บั้นปลายและสวดชัยตามลำดับ ต่อไปนี้นิมนต์พระขึ้นเทศน์พระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน ก่อนพระเทศน์เอาคาถาพระอุปคุตทั้งสี่บทปักไว้ที่ข้างธรรมาสน์ดังกล่าวแล้ว เมื่อพระเทศน์จบตอนนี้แล้ว ประชาชนจะกลับไปพักหรือคบงับกันต่อไปตามอัธยาศัย ระหว่างคบงันพวกหนุ่ม ๆ สาวๆ จะพูดจาเย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน บางก็ร้องรำทำเพลงเป่าแคนและดีดพิณจนจวนสว่าง (ราว 3 หรือ 4 นาฬิกา) ชาวบ้านจึงแห่ข้าวพันก้อนไปถวายพระอุปคุตที่วัดแล้ววางข้าวพันก้อนไว้ตามธงหรือตามภาชนะที่จัดไว้ เสร็จแล้วพอใกล้สว่างก็ประกาศป่าวเทวดาและอาราธนาพระเทศน์สังกาส หลังจากฟังพระเทศน์สังกาสแล้วจึงอาราธนาเทศน์มหาชาติ พระจะเทศน์มหาชาติตลอดวัน ขึ้นต้นจากัณฑ์ทศพรจนถึงนครกัณฑ์ เมื่อจบแล้วมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกว่าจะเทศน์จบทุกกัณฑ์ก็ต้องค่ำพอดีเมื่อเทศน์มหาชาติจบจัดขันดอกไม้ธูปเทียนกล่าวคำคารวะพระรัตนตรัยเป็นเสร็จพิธีบุญเผวส การนิมนต์พระอุปคุตและแห่พระเวสสันดรกับนางมัทรีเข้าเมือง บางแห่งถ้าจัดงานสามวัน จะจัดเป็นวันโฮมวันหนึ่ง โดยนิมนต์พระอุปคุตในตอนเช้าของวันโฮม วันที่สองตอนบ่ายจึงทำการเชิญพระเวสสันดรกับนางมัทรีเข้าเมือง วันที่สามจึงเทศน์มหาชาติ อนึ่ง ในระหว่างงานบุญ ปรกติจะมีชายสูงอายุคนหนึ่ง นุ่งขาวห่มขาวเป็นผู้คอยปรนนิบัติดูและพระอุปคุตและบริเวณศาลาโรงธรรม โดยถือศีลแปดและจะต้องอยู่ประจำบนศาลาโรงธรรมจนตลอดงานส่วนก้อนหินที่สมมุติว่าเป็นพระอุปคุตนั้น เมื่อเสร็จงานบุญเผวสแล้วก็มีการนิมนต์ไปไว้ยัง ณ ที่เดิมด้วย
บทที่หนึ่ง อุปคุตโต มหาเถโร เยนะสัจเจนะยะสัจ วาชิปุเร อะหหุสัจจะ วัชเชนะ วิสัง สามัส สะหัญญะตุ บทที่สอง อุปคุตโต เยนะสัจเจนะ ยะสาโม สัจจิวา มาตา เปติภะโรอาหุ กุเรเชฏฐา ปัจจายิโน เอเตนะสัจจะ วัชเชนะ วิสสา มัสสะหัญญตุ บทที่สาม อุปคุตโต เยนะสัจเจนะ ยะสาโม ปานาปิ ยัตตะโร มะมะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัสิง สามัสสะ หัญญะตุ บทที่สี่ อุปคุตโต ยะจิน จิตตะ ปุญญะมังทะ เจวะ สิตุจะเต สพเพนะเต สาเลนะ อิสามัสสะหัญญะตุ
2. การแห่เผวส พอตอนบ่ายประมาณสองหรือสามโมงในวันโฮม ชาวบ้านมารวมกันที่วัด เตรียมตัวจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมติให้พระเวสสันดรและนางมัทรีไปอยู่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นป่าจริงหรือทุ่งนา หรือลานหญ้าก็ได้แล้วแต่ภูมิประเทศจะอำนวย พิธีการอัญเชิญพระพุทธรูป 1 องค์ และพระภิกษุ 4 รูป ขั้นนั่งบนเสลี่ยงหามไปยัง ณ ที่สมมุติว่า พระเวสสันดรและนางมัทรีประทับอยู่ (ไม่ห่างจากวัดเท่าใดนัก) พอไปถึงที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เริ่มต้นแห่เผวส ก่อนเริ่มต้นแห่มีการอาราธนาศีลและรับศีลและห้าก่อน แล้วทำพิธีบายศรีสู่ขวัญพระเวสสันดรกับนางมัทรีนิมนต์พระเทศน์กัณฐ์ฉกษัตริย์ เสร็จแล้วกล่าวอันเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยหามเสลี่ยงพระพุทธรูป และพระภิกษุออกก่อน บางแห่งหากมีรูปภาพเกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดร ก็จะแห่รูปภาพดังกล่าวไปในขบวนด้วย พอขบวนแห่ถึงวัดจึงทำการแห่รอบวัดหรือศาลาโรงธรรมโดยเวียนขวารอบ แล้วนำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม และนำดอกไม้ธูปเทียนไปวางไว้ ณ ที่จัดไว้ ประชาชนจึงกลับไปพักผ่อน พอถึงตอนค่ำประชาชนจะมาโฮม (รวม) กันอีกครั้งจึงอาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ เมื่อพระสวดพระพุทธมนต์จบ พระจะขึ้นสวดบนธรรมมาสน์อีก 4 ครั้ง ๆ ละ 2 รูป รวม 8 รูป คือ สวดอิติปิโส โพธิสัตว์บั้นต้น-บั้นปลายและสวดชัยตามลำดับ ต่อไปนี้นิมนต์พระขึ้นเทศน์พระมาลัยหมื่น พระมาลัยแสน ก่อนพระเทศน์เอาคาถาพระอุปคุตทั้งสี่บทปักไว้ที่ข้างธรรมาสน์ดังกล่าวแล้ว เมื่อพระเทศน์จบตอนนี้แล้ว ประชาชนจะกลับไปพักหรือคบงับกันต่อไปตามอัธยาศัย ระหว่างคบงันพวกหนุ่ม ๆ สาวๆ จะพูดจาเย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน บางก็ร้องรำทำเพลงเป่าแคนและดีดพิณจนจวนสว่าง (ราว 3 หรือ 4 นาฬิกา) ชาวบ้านจึงแห่ข้าวพันก้อนไปถวายพระอุปคุตที่วัดแล้ววางข้าวพันก้อนไว้ตามธงหรือตามภาชนะที่จัดไว้ เสร็จแล้วพอใกล้สว่างก็ประกาศป่าวเทวดาและอาราธนาพระเทศน์สังกาส หลังจากฟังพระเทศน์สังกาสแล้วจึงอาราธนาเทศน์มหาชาติ พระจะเทศน์มหาชาติตลอดวัน ขึ้นต้นจากัณฑ์ทศพรจนถึงนครกัณฑ์ เมื่อจบแล้วมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกว่าจะเทศน์จบทุกกัณฑ์ก็ต้องค่ำพอดีเมื่อเทศน์มหาชาติจบจัดขันดอกไม้ธูปเทียนกล่าวคำคารวะพระรัตนตรัยเป็นเสร็จพิธีบุญเผวส การนิมนต์พระอุปคุตและแห่พระเวสสันดรกับนางมัทรีเข้าเมือง บางแห่งถ้าจัดงานสามวัน จะจัดเป็นวันโฮมวันหนึ่ง โดยนิมนต์พระอุปคุตในตอนเช้าของวันโฮม วันที่สองตอนบ่ายจึงทำการเชิญพระเวสสันดรกับนางมัทรีเข้าเมือง วันที่สามจึงเทศน์มหาชาติ อนึ่ง ในระหว่างงานบุญ ปรกติจะมีชายสูงอายุคนหนึ่ง นุ่งขาวห่มขาวเป็นผู้คอยปรนนิบัติดูและพระอุปคุตและบริเวณศาลาโรงธรรม โดยถือศีลแปดและจะต้องอยู่ประจำบนศาลาโรงธรรมจนตลอดงานส่วนก้อนหินที่สมมุติว่าเป็นพระอุปคุตนั้น เมื่อเสร็จงานบุญเผวสแล้วก็มีการนิมนต์ไปไว้ยัง ณ ที่เดิมด้วย
สำหรับคำสู่ขวัญพระเวสสันดร คำป่าวเทวดา คำอาราธนาเทศน์ต่าง ๆ และคำถารวะพระรัตนตรัยมีดังต่อไปนี้คำสู่ขวัญพระเวสสันดร
ศรี ศรีสวัสดีปัญญะมัย ไตรรัตนะวรดิตถี อิมุติตะโชติ ประสิทธิโยดพร้อมนักขัดดา พระจันทร์พระจรใสเสร็จ เสด็จเข้าใกล้แพงภาค จากนักขัตฤกษ์ชื่อว่า ..... (ออกชื่อราศี) ภายในมี ..... (ออกชื่อเจ้าอาวาส) เป็นเค้า ภายนอกมี…..(ออกชื่อผู้เป็นหัวจัดงาน) พร้อมกันเลื่อมใส ในวรพระพุทธศาสนาเป็นอันยิ่งฝูงข้าทั้งหลายจึ่งพร้อมกันมา ราชาบายศรี ศากยมนีหน ตนเป็นครูสั่งสอน สัตตนิกรอยู่จี้จอยจึงแจ้งบ่ขาด ปางเมื่อเจ้าสิทธารถละฆราวาสห้องบุรี เจ้าก็บายพระขรรค์ชัยศรี ตักเกศเกล้าโมฬี เจ้าก็หนีไปบวชสร้างผนวชให้หกพระวัสสา ก็จึงได้เรื่องรัตน์ ตรัสเป็นสัพพัญญตญาณ การเป็นพระ แทบเท้าไม้พระศรีมหาโพธิ เป็นเจ้าโผดสงสาร วันนั้นก็มีแลชัยยะตุภะวัง ชัยยะมังคะลัง (ให้สวด 3 จบสวดเสร็จแต่ละจบ ให้ตีฆ้อง 1 ที แล้วจึงแห่เผวสเข้าเมือง)
ศรี ศรีสวัสดีปัญญะมัย ไตรรัตนะวรดิตถี อิมุติตะโชติ ประสิทธิโยดพร้อมนักขัดดา พระจันทร์พระจรใสเสร็จ เสด็จเข้าใกล้แพงภาค จากนักขัตฤกษ์ชื่อว่า ..... (ออกชื่อราศี) ภายในมี ..... (ออกชื่อเจ้าอาวาส) เป็นเค้า ภายนอกมี…..(ออกชื่อผู้เป็นหัวจัดงาน) พร้อมกันเลื่อมใส ในวรพระพุทธศาสนาเป็นอันยิ่งฝูงข้าทั้งหลายจึ่งพร้อมกันมา ราชาบายศรี ศากยมนีหน ตนเป็นครูสั่งสอน สัตตนิกรอยู่จี้จอยจึงแจ้งบ่ขาด ปางเมื่อเจ้าสิทธารถละฆราวาสห้องบุรี เจ้าก็บายพระขรรค์ชัยศรี ตักเกศเกล้าโมฬี เจ้าก็หนีไปบวชสร้างผนวชให้หกพระวัสสา ก็จึงได้เรื่องรัตน์ ตรัสเป็นสัพพัญญตญาณ การเป็นพระ แทบเท้าไม้พระศรีมหาโพธิ เป็นเจ้าโผดสงสาร วันนั้นก็มีแลชัยยะตุภะวัง ชัยยะมังคะลัง (ให้สวด 3 จบสวดเสร็จแต่ละจบ ให้ตีฆ้อง 1 ที แล้วจึงแห่เผวสเข้าเมือง)
คำอาราธนาเทศน์พระมาลัยหมื่น
สุระหิตัง นิจจัง ตังตัง ธัมมัง วันทามิ ข้าไหว้บาทนาโถ กับทั้งพระศรีมหาโพธิ กุศลโสตมวลมา มีอัตราข้าไหว้นับได้ด้วยโกฏิ เทพพระมาลัยโปรดปรานี ตั้งไว้ดีบ่เศร้า ข้ากราบเศียรเกล้าวันทา ด้วยมาลาดวงดอกพร้อมด้วยข้าวตอกบรรณาการ ทั้งข้าวเปลือกข้าวสารผายแผ่ บูชาแก่ให้สัพพัญญู องค์พุทโธผู้ประเสริฐ อัคคะเลิศองค์พระธรรม สังโฆนำบ่ขาด ตามโอวาทคำสอน ชีณาวรองค์ประเสริฐ สมมุติสงฆ์เลิศทรงธรรม พวกข้าน้อมนำมาพร่ำพร้อมน้อมกายและอินทรีย์ จิตยินดีบ่ประมาท ฟังโอวาทคำสอน ในบวรพุทธศษสน์ ด้วยบาทพระคาถาว่าโยโส สุนทะหิตัง ธัมมัง วะรัง สักกัจจัง อาราธนัง กะโรมะ
สุระหิตัง นิจจัง ตังตัง ธัมมัง วันทามิ ข้าไหว้บาทนาโถ กับทั้งพระศรีมหาโพธิ กุศลโสตมวลมา มีอัตราข้าไหว้นับได้ด้วยโกฏิ เทพพระมาลัยโปรดปรานี ตั้งไว้ดีบ่เศร้า ข้ากราบเศียรเกล้าวันทา ด้วยมาลาดวงดอกพร้อมด้วยข้าวตอกบรรณาการ ทั้งข้าวเปลือกข้าวสารผายแผ่ บูชาแก่ให้สัพพัญญู องค์พุทโธผู้ประเสริฐ อัคคะเลิศองค์พระธรรม สังโฆนำบ่ขาด ตามโอวาทคำสอน ชีณาวรองค์ประเสริฐ สมมุติสงฆ์เลิศทรงธรรม พวกข้าน้อมนำมาพร่ำพร้อมน้อมกายและอินทรีย์ จิตยินดีบ่ประมาท ฟังโอวาทคำสอน ในบวรพุทธศษสน์ ด้วยบาทพระคาถาว่าโยโส สุนทะหิตัง ธัมมัง วะรัง สักกัจจัง อาราธนัง กะโรมะ
คำอาราธนาเทศน์พระมาลัยแสน
ยังยัง สัทธัมมะ วะรัง ตะทัตตัปปะโก ระสะตัง สักกัจจัง นะมัสสามิ ฝูงข้าทั้งหลาย นรหญิงชายถ้วนถี่พร้อมภาคที่วันทา ยกมือมาใส่เกล้า ก้มกราบเท้านาโถ องค์พุทโธล้ำยิ่ง พร้อมทุกสิ่งสักการ ด้วยจิตบานเฮือง ฮุ่นมุ่งมาดแผ่บุญกุศล หวังเอาตนข้ามโอฆ พ้นจากโลกสงสาร ขอให้ได้พบศาสนาของพระศรีอารย์ไว้วาทองค์พระบาทอนาคต ทรงเกียรติยศไขธรรม อันจักนำมาตรัสในภายหน้า ขอให้ข้าได้สัมฤทธิ์ บวรมัยมิตรเห็นธรรมโสดานำบังเกิด ไกลจากโลกอสัญญี อวิจีแสนส่ำ พ้นภาคต่ำสู่ญาณทอง เดิมตามคลองอันวิเศษ ตัดกิเลสสวัฎฎะวนพร้อมทุกคนผายแผ่ กัณฑ์มาลัยแสนผายแผ่กว้างเมตตาธรรม ข้าน้อมนำบ่ขาด บ่ประมาทตั้งใจฟัง ขอให้สมหวังในชาตินี้และชาติหน้า พวกข้าน้อยวันทา ตามบาทพระคาถาว่า อัตถะธัมมัง ปะกาเสถะโน โอกาสะ อารานัง กะโรมะ
ยังยัง สัทธัมมะ วะรัง ตะทัตตัปปะโก ระสะตัง สักกัจจัง นะมัสสามิ ฝูงข้าทั้งหลาย นรหญิงชายถ้วนถี่พร้อมภาคที่วันทา ยกมือมาใส่เกล้า ก้มกราบเท้านาโถ องค์พุทโธล้ำยิ่ง พร้อมทุกสิ่งสักการ ด้วยจิตบานเฮือง ฮุ่นมุ่งมาดแผ่บุญกุศล หวังเอาตนข้ามโอฆ พ้นจากโลกสงสาร ขอให้ได้พบศาสนาของพระศรีอารย์ไว้วาทองค์พระบาทอนาคต ทรงเกียรติยศไขธรรม อันจักนำมาตรัสในภายหน้า ขอให้ข้าได้สัมฤทธิ์ บวรมัยมิตรเห็นธรรมโสดานำบังเกิด ไกลจากโลกอสัญญี อวิจีแสนส่ำ พ้นภาคต่ำสู่ญาณทอง เดิมตามคลองอันวิเศษ ตัดกิเลสสวัฎฎะวนพร้อมทุกคนผายแผ่ กัณฑ์มาลัยแสนผายแผ่กว้างเมตตาธรรม ข้าน้อมนำบ่ขาด บ่ประมาทตั้งใจฟัง ขอให้สมหวังในชาตินี้และชาติหน้า พวกข้าน้อยวันทา ตามบาทพระคาถาว่า อัตถะธัมมัง ปะกาเสถะโน โอกาสะ อารานัง กะโรมะ
คำป่าวเทวดาฟังธรรมลำมหาชาติ
สุนันตุ โภนดต เย เทวา สังหา ดูราเทพเจ้าทั้งหลาย หมายมีอินทรเจ้า เป็นเค้าเป็นประธาน กับทั้งโสฬสมหาพรหมตนทรงญาณลือเดช พระอาทิตย์ตนวิเศษใสแสง จันทร์จรแฮงเฮืองฮุ่งราหูพุ่งรัศมี ทั่วทิศาปราสาทจตุราชโลกบาล อิศวรสารแสนส่ำ ธรณีพร่ำมวลมา เมขลาไกวแก้วแกว่ง ทั่วทุกแห่งอันฮักษา ทั้งภูผาและเถื่อนถ้ำทั้งย่านน้ำและเหวหิน ทั้งแดนดินและเถื่อนกว้าง ทั้งย่านน้ำและวังฮี ทั้งโบกขรณีและหย่อมหญ้า ทุกแหล่งหล้าและโพธิ์ศรีทั้งเจดีย์และแก้วกู่ อันฮักษาศาสนาอยู่อาฮามเขต ประเทศภูมิสถาน ก้ำฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ทุกเทศท่องอาณาทั้งคูหาและแถวถี่ ขออัญเชิญเทพไท้ทุกที่แดนไกล พวกฝูงข้าทั้งหลาย ขออัญเชิญเทพแก่ไท้ทั้งมวล ในหมื่นโลกธาตุอากาศจักรวาล ขอจงพร้อมกันเสด็จลีลา ลงมาช่องหน้า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า แล้วจังพร้อมกันเข้ามาฟังยังลำมหาชาติ ขอจงสำเร็จความปรารถนา พวกหมู่ข้าทั้งหลาย ทุกคนทุกคน ก็ข้าเทอญ
สุนันตุ โภนดต เย เทวา สังหา ดูราเทพเจ้าทั้งหลาย หมายมีอินทรเจ้า เป็นเค้าเป็นประธาน กับทั้งโสฬสมหาพรหมตนทรงญาณลือเดช พระอาทิตย์ตนวิเศษใสแสง จันทร์จรแฮงเฮืองฮุ่งราหูพุ่งรัศมี ทั่วทิศาปราสาทจตุราชโลกบาล อิศวรสารแสนส่ำ ธรณีพร่ำมวลมา เมขลาไกวแก้วแกว่ง ทั่วทุกแห่งอันฮักษา ทั้งภูผาและเถื่อนถ้ำทั้งย่านน้ำและเหวหิน ทั้งแดนดินและเถื่อนกว้าง ทั้งย่านน้ำและวังฮี ทั้งโบกขรณีและหย่อมหญ้า ทุกแหล่งหล้าและโพธิ์ศรีทั้งเจดีย์และแก้วกู่ อันฮักษาศาสนาอยู่อาฮามเขต ประเทศภูมิสถาน ก้ำฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ทุกเทศท่องอาณาทั้งคูหาและแถวถี่ ขออัญเชิญเทพไท้ทุกที่แดนไกล พวกฝูงข้าทั้งหลาย ขออัญเชิญเทพแก่ไท้ทั้งมวล ในหมื่นโลกธาตุอากาศจักรวาล ขอจงพร้อมกันเสด็จลีลา ลงมาช่องหน้า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า แล้วจังพร้อมกันเข้ามาฟังยังลำมหาชาติ ขอจงสำเร็จความปรารถนา พวกหมู่ข้าทั้งหลาย ทุกคนทุกคน ก็ข้าเทอญ
คำอาราธนาเทศน์สังกาส
ชัยะตุ ภะวัง ชัยะตุ ภะวัง ชัยะมังคะลัง บวรวิลาส องค์พระบาทสิทธารถราชกุมาร สมภารเพ็งบ่ขาดเป็นปัจฉิมชาติโพธิสัตว์ ปฏิบัติถ้วนถี่ ใจแจ้งที่สงสาร มียศญาณบ่โศก บริโภคทวยธรรม์ สัพพะสรรพ์ทุกสิ่งเป็นลูกมิ่งท้าวสุทโธ ใจโกศลแสนโยชน์ ปางเมื่อซิได้โผดฝูงสัตว์ สมภารพันธ์เต็มดี ยามนอนฮ้อนอินทรีย์สะดุ้งตื่นเดิกดื่นผู้คนนอน เจ้าก็จรเสด็จไปยังปราสาท เดียรดาษนักสนม บางน่องนอนปะนมและปะกัน บางน่องนอนอ้าปากและขบฟัน นางน่องนอนมืนตาและยิ่งแข้วน้ำลายไหล วิกลวิการไปหลายหลาก พร้อมทุกภาคมเหสี นอนหลับดีอยู่ดีด้อย กอดลูกน้อยราหุล เลยลวดชักม้า ไปสู่แม่น้ำอันเชื่อว่าอโนมานที ยกพระขรรค์ดวงดีตักเกล้าเกศ ทรงเพศบรรพชาจึงแก้ววรกัณฐัก เลยลวดชักม้า ไปสู่แม่น้ำอันเชื่อว่าอโนมานที ยกพระขรรค์ดวงดีตัดเกล้าเกศ ทรงเพศบรรพชาจึงกล่าวคาถาว่า กรินทัง สีรสา นมามิ ดังนี้เป็นเค้า ตราบต่อเท่าเข้าสู่นิพพาน ก็ข้าเทอญ
ชัยะตุ ภะวัง ชัยะตุ ภะวัง ชัยะมังคะลัง บวรวิลาส องค์พระบาทสิทธารถราชกุมาร สมภารเพ็งบ่ขาดเป็นปัจฉิมชาติโพธิสัตว์ ปฏิบัติถ้วนถี่ ใจแจ้งที่สงสาร มียศญาณบ่โศก บริโภคทวยธรรม์ สัพพะสรรพ์ทุกสิ่งเป็นลูกมิ่งท้าวสุทโธ ใจโกศลแสนโยชน์ ปางเมื่อซิได้โผดฝูงสัตว์ สมภารพันธ์เต็มดี ยามนอนฮ้อนอินทรีย์สะดุ้งตื่นเดิกดื่นผู้คนนอน เจ้าก็จรเสด็จไปยังปราสาท เดียรดาษนักสนม บางน่องนอนปะนมและปะกัน บางน่องนอนอ้าปากและขบฟัน นางน่องนอนมืนตาและยิ่งแข้วน้ำลายไหล วิกลวิการไปหลายหลาก พร้อมทุกภาคมเหสี นอนหลับดีอยู่ดีด้อย กอดลูกน้อยราหุล เลยลวดชักม้า ไปสู่แม่น้ำอันเชื่อว่าอโนมานที ยกพระขรรค์ดวงดีตักเกล้าเกศ ทรงเพศบรรพชาจึงแก้ววรกัณฐัก เลยลวดชักม้า ไปสู่แม่น้ำอันเชื่อว่าอโนมานที ยกพระขรรค์ดวงดีตัดเกล้าเกศ ทรงเพศบรรพชาจึงกล่าวคาถาว่า กรินทัง สีรสา นมามิ ดังนี้เป็นเค้า ตราบต่อเท่าเข้าสู่นิพพาน ก็ข้าเทอญ
คำอาราธนาเทศน์มหาชาติ
ศรี ศรี บวรไม่ตรี ชัยะโชค ข้าขออัญเชิญท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พร้อมทุกที่ทวยธรรม ทั้งสุบรรณครุฑนาคสักโกภาคภายนบน ปัญจมารมลทั้งตัว จงผาบแพ้ผจญมาร ยมภิบาลท่านไท้ อยู่ป่าไม้และวงกต ทั้งบรรพตและคูหา ขออัญเชิญธรณีนางนาถ ขมวดวาดมวยผม เป็นนทีผาบมารในแท่นแก้ว มารคลาดแคล้วกลับหนี อัญชลีกราบไหว้เชิญทั้งเทพไท้ภายบน จงเอาตนเข้ามาฟังธรรมจำศีลทุกเมื่อ อย่าได้เบื่อคลองธรรม อันจักนำมาในอดีตชาติกฎในบาทพระ คาถาในนิกายทั้งห้า กฏไว้ว่าแวนตระการ เป็นตำนานบทเค้า นักปราชญ์เจ้านำมา ในมหาเวสสันดรราชาปฐมมาเป็นเค้า ฟังเยอนักปราชญ์เจ้าน้อยหนุ่มพรศรี จงมีใจอดใจเพียร กระทำดีอยู่ดีด้วยดีด้อยขวนขวายหามาลาดอกไม้ใหญ่น้อยให้ได้พอพัน อุบลบานไขกาบ กับทั้งของพาบพร้อมอย่างละพัน ดอกผักตบไขช่องกาบบัวหลวงพาบพร้อมพอฟัน ประทีปน้ำมันมาบ่ขาด ธงกระดาษและธงชัย ประดับไปทุกแห่ง ข้าวพันก้อนแบ่งพอพันวางเป็นถันสพาส อย่างประมาทละเพียรเสีย ทั้งผัวเมียและลูกเต้า พร้อมใจกันเข้าภาวนา ถือมาลาดวงดอกไม้ก้มกราบไหว้วันทา มือหูตาจดจ่อ ตั้งใจต่อกองบุญ ให้เป็นคุณและประโยชน์ พ้นจากโทษและเวรกรรม จิตใจนำพร่ำพร้อมน้อมหน้าอยู่สนลน จิตใจตนอย่าประมาท มักจักเป็นบาปฮ้ายยิ่งหนักหนา คือ ดั่งนางอมิตตาหนุ่มเหน้า ได้พราหมณ์เฒ่าเป็นผัวนางบ่กลัวเกรงบาป ฟังธรรมหากเหงานอน จิตใจวอนนำชู้ บาปกรรมผู้นำเถิงโต ได้สามีโซ่ถ่อยเฒ่าทุกข์ยากเข้าบ่มีวาง กรรมของนางแวนเที่ยว เวรผู้เกี่ยวพัวพัน กรรมตามทันจึงมีโทษ น้อยหนุ่มโสดจงอุตสาห์ถือมาลานบน้อม พร้อมลูกเต้าและนัดดา จิตโสภาอย่าประมาท ฟังโอวาทชาดก พระองค์ยกทรงสอน ทศพรกัณฑ์ เคลื่อนคลาด จรจากสวรรค์ สมทันเทียมทุกที่ สมมุ่งมาดที่นางประสงค์ อินทราทรงทานทอด พรยอดแก้วบรบวน ตามสมควรบ่ขาด ได้เป็นพุทธราชมารดา องค์สัตถาแก่นเหง้า ท่านกฎเข้าชื่อทศพร หิมพานวอนพราหมณ์เที่ยวพราหมณ์เฒ่าที่เที่ยวขอทาน หิมวันซอกไซ้ ท่านกฎไว้ว่าหิมพาน ทานกัณฑ์คชสารช้างเผือก พระองค์เลือกยกขึ้นยอทาน ฝูงกันคารคนขมอด แลกแก้วยอดดวงโพธิญาณ ตามตำนานท่านกฏไว้ วนปเวสน์ใกล้เข้าสู่วงกต ชูชกพราหมณ์ใจคดเที่ยวขอ จุลพนไพรแถวถี่ มหาพนยิ่งแวนตระการ สองกุมารทานทอด ท่านขอดไว้ชื่อกัณฑ์กุมาร มัทรีตามแวนเกี่ยว นางนาถเที่ยวทัวระวัย ในพงไพรเถื่อนกว้าง ท่านกล่างอ้างว่ากัณฑ์มัทรี สักกบรรพมีหลายภาค นำนาถน้อยสองศรี หลงคีรีป่าไม้ เข้าฮอดไท้สญชัย อัตถ์ไขชื่อว่ากัณฑ์มหาราช ฉกษัตริย์ภาคเทียวทัน เชิญจอมธรรม์ทั้งสี่ออกจากที่วงกต บำเพ็ยพรตลาไล กลับเวียงชัยนครกว้าง ท่านกล่าวอ้างว่ากัณฑ์นครเป็นคำสอนถ้วนถี่ กฎไว้ที่ชาดก พระองค์ทรงยกเห็นสมภารเพ็ญจีไจ้จีไจ้ น้อยนาถไท้ลุนหลัง ตั้งใจฟังในอดีตชาติ ตามบทบาทพระคาถาว่าอาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานกัลยาสาตถัง สัพพยัญชนัง เกวลปริปุณณัง ปริสุทธัง มหาเวสันตรชตกัง พรหมจริยัง ปกาเสถโน โอกาสะ อาราธนัง กะโรมะ
ศรี ศรี บวรไม่ตรี ชัยะโชค ข้าขออัญเชิญท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พร้อมทุกที่ทวยธรรม ทั้งสุบรรณครุฑนาคสักโกภาคภายนบน ปัญจมารมลทั้งตัว จงผาบแพ้ผจญมาร ยมภิบาลท่านไท้ อยู่ป่าไม้และวงกต ทั้งบรรพตและคูหา ขออัญเชิญธรณีนางนาถ ขมวดวาดมวยผม เป็นนทีผาบมารในแท่นแก้ว มารคลาดแคล้วกลับหนี อัญชลีกราบไหว้เชิญทั้งเทพไท้ภายบน จงเอาตนเข้ามาฟังธรรมจำศีลทุกเมื่อ อย่าได้เบื่อคลองธรรม อันจักนำมาในอดีตชาติกฎในบาทพระ คาถาในนิกายทั้งห้า กฏไว้ว่าแวนตระการ เป็นตำนานบทเค้า นักปราชญ์เจ้านำมา ในมหาเวสสันดรราชาปฐมมาเป็นเค้า ฟังเยอนักปราชญ์เจ้าน้อยหนุ่มพรศรี จงมีใจอดใจเพียร กระทำดีอยู่ดีด้วยดีด้อยขวนขวายหามาลาดอกไม้ใหญ่น้อยให้ได้พอพัน อุบลบานไขกาบ กับทั้งของพาบพร้อมอย่างละพัน ดอกผักตบไขช่องกาบบัวหลวงพาบพร้อมพอฟัน ประทีปน้ำมันมาบ่ขาด ธงกระดาษและธงชัย ประดับไปทุกแห่ง ข้าวพันก้อนแบ่งพอพันวางเป็นถันสพาส อย่างประมาทละเพียรเสีย ทั้งผัวเมียและลูกเต้า พร้อมใจกันเข้าภาวนา ถือมาลาดวงดอกไม้ก้มกราบไหว้วันทา มือหูตาจดจ่อ ตั้งใจต่อกองบุญ ให้เป็นคุณและประโยชน์ พ้นจากโทษและเวรกรรม จิตใจนำพร่ำพร้อมน้อมหน้าอยู่สนลน จิตใจตนอย่าประมาท มักจักเป็นบาปฮ้ายยิ่งหนักหนา คือ ดั่งนางอมิตตาหนุ่มเหน้า ได้พราหมณ์เฒ่าเป็นผัวนางบ่กลัวเกรงบาป ฟังธรรมหากเหงานอน จิตใจวอนนำชู้ บาปกรรมผู้นำเถิงโต ได้สามีโซ่ถ่อยเฒ่าทุกข์ยากเข้าบ่มีวาง กรรมของนางแวนเที่ยว เวรผู้เกี่ยวพัวพัน กรรมตามทันจึงมีโทษ น้อยหนุ่มโสดจงอุตสาห์ถือมาลานบน้อม พร้อมลูกเต้าและนัดดา จิตโสภาอย่าประมาท ฟังโอวาทชาดก พระองค์ยกทรงสอน ทศพรกัณฑ์ เคลื่อนคลาด จรจากสวรรค์ สมทันเทียมทุกที่ สมมุ่งมาดที่นางประสงค์ อินทราทรงทานทอด พรยอดแก้วบรบวน ตามสมควรบ่ขาด ได้เป็นพุทธราชมารดา องค์สัตถาแก่นเหง้า ท่านกฎเข้าชื่อทศพร หิมพานวอนพราหมณ์เที่ยวพราหมณ์เฒ่าที่เที่ยวขอทาน หิมวันซอกไซ้ ท่านกฎไว้ว่าหิมพาน ทานกัณฑ์คชสารช้างเผือก พระองค์เลือกยกขึ้นยอทาน ฝูงกันคารคนขมอด แลกแก้วยอดดวงโพธิญาณ ตามตำนานท่านกฏไว้ วนปเวสน์ใกล้เข้าสู่วงกต ชูชกพราหมณ์ใจคดเที่ยวขอ จุลพนไพรแถวถี่ มหาพนยิ่งแวนตระการ สองกุมารทานทอด ท่านขอดไว้ชื่อกัณฑ์กุมาร มัทรีตามแวนเกี่ยว นางนาถเที่ยวทัวระวัย ในพงไพรเถื่อนกว้าง ท่านกล่างอ้างว่ากัณฑ์มัทรี สักกบรรพมีหลายภาค นำนาถน้อยสองศรี หลงคีรีป่าไม้ เข้าฮอดไท้สญชัย อัตถ์ไขชื่อว่ากัณฑ์มหาราช ฉกษัตริย์ภาคเทียวทัน เชิญจอมธรรม์ทั้งสี่ออกจากที่วงกต บำเพ็ยพรตลาไล กลับเวียงชัยนครกว้าง ท่านกล่าวอ้างว่ากัณฑ์นครเป็นคำสอนถ้วนถี่ กฎไว้ที่ชาดก พระองค์ทรงยกเห็นสมภารเพ็ญจีไจ้จีไจ้ น้อยนาถไท้ลุนหลัง ตั้งใจฟังในอดีตชาติ ตามบทบาทพระคาถาว่าอาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานกัลยาสาตถัง สัพพยัญชนัง เกวลปริปุณณัง ปริสุทธัง มหาเวสันตรชตกัง พรหมจริยัง ปกาเสถโน โอกาสะ อาราธนัง กะโรมะ
คำคารวะพระรัตนตรัย(กล่าวตอนเทศน์เผวสหมดทุกกัณฑ์และเทศน์ฉลองเผวสแล้ว ก่อนผู้ไปร่วมฟังเทศน์กลับบ้าน)
โอกาสะ โอกาสะ ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งหญิงชายและนงค์ท่าว ทั้งผู้บ่าวและผู้สาว ทั้งลุงอาวและพ่อแม่ทั้งเฒ่าแก่และลุงตา ทั้งท้าวพญาเสนาและอำมาตย์ ทั้งนักปราชญ์และปุโรหิต ทั้งบัณฑิตและชาวเมือง มีศรัทธาเฮืองพร่ำพร้อม ใจอ่อนน้อมในธรรม บางพ่อมีเงินคำ ตามแต่ได้ บางพ่อมีดอกไม้และเผิ้งเทียน ใจเสถียรชมชื่นยายื่นพร้อมกันมา มีดีลาและเมี่ยงหมาก หลายหลาก พร้อมอาหารมีเครื่องหวานเป็นเค้า คือว่าข้าวต้มและข้าวหนมประสมกับข้าวมธุปายาส ข้าวปาดและข้าวมัน สัพพะสรรพปิ้งจี่ หมกมอกหมี่แกมแกง เป็นของแพงอันประณีตแซบซ้อยจืดเพิงใจ มโนมัยตกแต่ง พร้อมกันแล้วจึงนำมาถวายบูชาเลิศแล้ว แต่พระแก้วเจ้าทั้งสาามในอาฮามข่วงเขต ถวายแด่เจ้ากูตนวิเศษ ก็หารแล้วบรบวน บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลาย จึงประมวลมายังเครื่องบูชาทั้งหลาย 2 ประการ คือ อามิสบูชา และขันธบูชาภายในและภายนอก บูชาภายในคือจิตใจและขันธ์ทั้งห้า แห่งฝูงข้าทั้งหลายภายนอกนั้นคือ ข้าวตอก ดอกไม้และธูปเทียนอันฝูงข้าทั้งหลายได้ตั้งใจเลียนตั้งไว้ช่องหน้าแล้ว ก็จึงอธิษฐาน ให้เป็น 5 โกฏฐาส ปฐมโกฏฐาสถ้วนหนึ่งนั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแต่สัพพัญญเจ้า ตนเป็นเค้าโผดสัตว์โลกเนืองนอก โกฏฐานอันถ้วนสองนั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแด่นวโลกุตตรธรรมเก้าเจ้าดวงงาม โกฏฐานอันถ้วนสามนั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาแต่พระอริยสงฆ์ ตนทรงศิลาอันถ้วนถี่ โกฏฐานอันถ้วนสี่นั้นฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแต่สถูปฮูปพระพุทธเจ้าและเจดีย์ ทั้งพระศรีมหาโพธิ์อันอยู่ในหมื่นโยชน์ชมพู ดูตระการงามในมนุษย์แหล่งหล้า โกฏฐานอันถ้วนห้านั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแต่เทพบุตรเทพดาพระอินทร์ พระพรหม พญายมบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ นางน้อยนาถเมขลานางธรณีอีสูรย์เป็นเค้า อันเป็นเจ้าพสุธา ฝูงข้าทั้งหลายบ่อาจจักนับจักคณนาได้ ลำดับต่อเลียนกันมายังโทษอันเป็นเค้า ตราบต่อเท่าปัดนี้ก็ดี โทษอันเกิดจากการวจี มโนทวารดีถีจิตใจ หลอนว่าได้ปากโพดและได้กล่าววาจา ได้ครหาติเตียนพระพุทธฮูปเจ้าว่าบ่งาม องค์ฮามนั้นช่วงสูงสักสะหน่อย องค์น้อยนั้นยังต่ำพอประมาณองค์กลางนั้นหนาบางบ่ช่อยโชติ องค์ใหญ่นั้นว่าหนาโพดบ่เสมอกัน หลอนว่าได้ติเตียนพระจอมธรรม์ว่ามีสีอันเศร้า ขอพระพุทธเจ้าจงโผดกูณา อย่าได้เป็นโทษานุโทษต้อง เป็นบาปต้องอยู่ในวัฏสงสาร ก็ข้าเทอญ ประการหนึ่ง ฝูงข้าทั้งหลายได้ตกแต่งทาน มีทั้งเครื่องหวานและเครื่องส้ม มีทั้งเครื่องต้มและเครื่องแกงหลอนว่ามีดำแดงตกใส่ เป็นฝุ่นไหง่ปลิวไป เป็นของสุดวิสัยบ่ฮู้เมื่อคือว่าเชื่อใจแล้วจึ่งนำมาถวายบูชาและเคนแจกแด่พระแก้วเจ้าทั้งสาม ในอาฮามข่วงเขตถวายแด่เจ้ากูตนวิเศษก็หากแล้วบรบวน บัดนี้ ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งตายายและเด็กน้อย ยืนละห้อยแล่นนำมา นำลุงตาและพ่อแม่ เข้าฮู้แต่เล่นและยินดีบางพ่อตีหิงตีและนางช่าวง บางพ่องย่างไปมาตามภาษาเด็กน้อยบางพ่องไห้อิ่นอ้อยอยากกินนม บางพ่องได้เหยียบตมเข้ามาในข่วงเขต บางพ่องปลิดหมากไม้ผลา บางพ่อปลิดอัมพวามี้ม่วง บางพ่อเล่นเต้นส่วงหยอดไยกันโรหันตาฮ้องไห้ ได้ไม้ค้อนแล้วไล่ตีกันส่งเสียงนันในวัด บ่สงัดเมื่อฟังธรรม เป็นคลองบ่ยำและประมาท หลอนว่าได้นั่งฮ่วมสาด และฮ่วมหนัง ได้นั่งต่าวหลังและต่าวข้าง หลอนว่าได้ปล่อยข้างม้าและงัวควายเข้ามาในเขต ขอแก่เจ้าตนวิเศษจงอนุญาตให้ อย่าได้เป็นโทโสโทษต้องเป็นบาปข้างนำไปสุดวิสัยเมื่อจักมรมาศ ครั้นว่าคลาดคลาดแล้ว ขอให้ได้เมื่อเมืองแก้ว ชื่อนีรพาน ก็ข้าเทอญ จัตตาโร ธัมมา อันว่าธรรมทั้งสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ จงประวัตตนาการ ในขันธสันดานแห่งฝูงทั้งหลาย ทุกตนทุกตน ก็ข้าเทอญ
โอกาสะ โอกาสะ ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งหญิงชายและนงค์ท่าว ทั้งผู้บ่าวและผู้สาว ทั้งลุงอาวและพ่อแม่ทั้งเฒ่าแก่และลุงตา ทั้งท้าวพญาเสนาและอำมาตย์ ทั้งนักปราชญ์และปุโรหิต ทั้งบัณฑิตและชาวเมือง มีศรัทธาเฮืองพร่ำพร้อม ใจอ่อนน้อมในธรรม บางพ่อมีเงินคำ ตามแต่ได้ บางพ่อมีดอกไม้และเผิ้งเทียน ใจเสถียรชมชื่นยายื่นพร้อมกันมา มีดีลาและเมี่ยงหมาก หลายหลาก พร้อมอาหารมีเครื่องหวานเป็นเค้า คือว่าข้าวต้มและข้าวหนมประสมกับข้าวมธุปายาส ข้าวปาดและข้าวมัน สัพพะสรรพปิ้งจี่ หมกมอกหมี่แกมแกง เป็นของแพงอันประณีตแซบซ้อยจืดเพิงใจ มโนมัยตกแต่ง พร้อมกันแล้วจึงนำมาถวายบูชาเลิศแล้ว แต่พระแก้วเจ้าทั้งสาามในอาฮามข่วงเขต ถวายแด่เจ้ากูตนวิเศษ ก็หารแล้วบรบวน บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลาย จึงประมวลมายังเครื่องบูชาทั้งหลาย 2 ประการ คือ อามิสบูชา และขันธบูชาภายในและภายนอก บูชาภายในคือจิตใจและขันธ์ทั้งห้า แห่งฝูงข้าทั้งหลายภายนอกนั้นคือ ข้าวตอก ดอกไม้และธูปเทียนอันฝูงข้าทั้งหลายได้ตั้งใจเลียนตั้งไว้ช่องหน้าแล้ว ก็จึงอธิษฐาน ให้เป็น 5 โกฏฐาส ปฐมโกฏฐาสถ้วนหนึ่งนั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแต่สัพพัญญเจ้า ตนเป็นเค้าโผดสัตว์โลกเนืองนอก โกฏฐานอันถ้วนสองนั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแด่นวโลกุตตรธรรมเก้าเจ้าดวงงาม โกฏฐานอันถ้วนสามนั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาแต่พระอริยสงฆ์ ตนทรงศิลาอันถ้วนถี่ โกฏฐานอันถ้วนสี่นั้นฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแต่สถูปฮูปพระพุทธเจ้าและเจดีย์ ทั้งพระศรีมหาโพธิ์อันอยู่ในหมื่นโยชน์ชมพู ดูตระการงามในมนุษย์แหล่งหล้า โกฏฐานอันถ้วนห้านั้น ฝูงข้าทั้งหลาย ขอถวายสมมาบูชาแต่เทพบุตรเทพดาพระอินทร์ พระพรหม พญายมบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ นางน้อยนาถเมขลานางธรณีอีสูรย์เป็นเค้า อันเป็นเจ้าพสุธา ฝูงข้าทั้งหลายบ่อาจจักนับจักคณนาได้ ลำดับต่อเลียนกันมายังโทษอันเป็นเค้า ตราบต่อเท่าปัดนี้ก็ดี โทษอันเกิดจากการวจี มโนทวารดีถีจิตใจ หลอนว่าได้ปากโพดและได้กล่าววาจา ได้ครหาติเตียนพระพุทธฮูปเจ้าว่าบ่งาม องค์ฮามนั้นช่วงสูงสักสะหน่อย องค์น้อยนั้นยังต่ำพอประมาณองค์กลางนั้นหนาบางบ่ช่อยโชติ องค์ใหญ่นั้นว่าหนาโพดบ่เสมอกัน หลอนว่าได้ติเตียนพระจอมธรรม์ว่ามีสีอันเศร้า ขอพระพุทธเจ้าจงโผดกูณา อย่าได้เป็นโทษานุโทษต้อง เป็นบาปต้องอยู่ในวัฏสงสาร ก็ข้าเทอญ ประการหนึ่ง ฝูงข้าทั้งหลายได้ตกแต่งทาน มีทั้งเครื่องหวานและเครื่องส้ม มีทั้งเครื่องต้มและเครื่องแกงหลอนว่ามีดำแดงตกใส่ เป็นฝุ่นไหง่ปลิวไป เป็นของสุดวิสัยบ่ฮู้เมื่อคือว่าเชื่อใจแล้วจึ่งนำมาถวายบูชาและเคนแจกแด่พระแก้วเจ้าทั้งสาม ในอาฮามข่วงเขตถวายแด่เจ้ากูตนวิเศษก็หากแล้วบรบวน บัดนี้ ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งตายายและเด็กน้อย ยืนละห้อยแล่นนำมา นำลุงตาและพ่อแม่ เข้าฮู้แต่เล่นและยินดีบางพ่อตีหิงตีและนางช่าวง บางพ่องย่างไปมาตามภาษาเด็กน้อยบางพ่องไห้อิ่นอ้อยอยากกินนม บางพ่องได้เหยียบตมเข้ามาในข่วงเขต บางพ่องปลิดหมากไม้ผลา บางพ่อปลิดอัมพวามี้ม่วง บางพ่อเล่นเต้นส่วงหยอดไยกันโรหันตาฮ้องไห้ ได้ไม้ค้อนแล้วไล่ตีกันส่งเสียงนันในวัด บ่สงัดเมื่อฟังธรรม เป็นคลองบ่ยำและประมาท หลอนว่าได้นั่งฮ่วมสาด และฮ่วมหนัง ได้นั่งต่าวหลังและต่าวข้าง หลอนว่าได้ปล่อยข้างม้าและงัวควายเข้ามาในเขต ขอแก่เจ้าตนวิเศษจงอนุญาตให้ อย่าได้เป็นโทโสโทษต้องเป็นบาปข้างนำไปสุดวิสัยเมื่อจักมรมาศ ครั้นว่าคลาดคลาดแล้ว ขอให้ได้เมื่อเมืองแก้ว ชื่อนีรพาน ก็ข้าเทอญ จัตตาโร ธัมมา อันว่าธรรมทั้งสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ จงประวัตตนาการ ในขันธสันดานแห่งฝูงทั้งหลาย ทุกตนทุกตน ก็ข้าเทอญ
นอกนี้มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบุญเผวสอีก ดังต่อไปนี้
1. กัณฑ์เทศน์ ตามปรกติการเทศน์มหาชาติทุกกัณฑ์ จะต้องมีชาวบ้านเป็นเจ้าภาพจัดเครื่องกัณฑ์มาถวายกัณฑ์หนึ่ง ๆ อาจมีหลาย ๆ คนช่วยกันจัดร่วมกัน หรือต่างคนต่างจัดกัณฑ์มาก็ได้กัณฑ์เทศน์นอกจากปัจจัยไทยทาบต่าง ๆ แล้ว ยังมีเทียนตามจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์ด้วย จำนวนเทียนคาถาของแต่ละกัณฑ์ได้กล่าวไว้แล้วข้างตน ซึ่งเมื่อรวมทุกกัณฑ์แล้ว จะมีเทียนคาถาหนึ่งพันพอดี เมื่อเวลาพระที่ตนรับกัณฑ์ขึ้นเทศน์ เจ้าภาพก็จะจุดเทียนคาถา หว่านข้าวตอกข้าวสารตามประเพณี ในระหว่างเทศน์บางทีมีการถวายกัณฑ์เพิ่มเติม เรียกว่า "กัณฑ์แถมสมภาร" คือถึงบทใดกัณฑ์ใดที่พระเทศน์ดีมีเสียงไพเราะ มีเนื้อความกินใจ ผู้ฟังจะถวายแถมกัณฑ์ให้แล้วแต่ศรัทธาของผู้ฟัง ส่วนใหญ่จะถวายเป็นเงิน เมื่อเทศน์จบจะเอาเงินที่แถมสมภารนี้ไปถวายรวมกับปัจจัยกัณฑ์เทศน์ด้วยเมื่อเทศน์จบกัณฑ์หนึ่ง ๆ มีการตีฆ้องเป็นสัญญาณ
2. เทศน์แหล่ คือ ทำนองเทศน์เล่นเสียงยาว ๆ คล้ายทำนองลำยาว มีการเล่นลูกคอและทำเสียงสูงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ เรื่องมหาชาตินี้ ที่นิยมเทศน์แหล่ได้แก่ กัณฑ์มัทรี กัณฑ์มหาราชหรือนครกัณฑ์การเทศน์แหล่จะนิมนต์พระที่เสียงดีมาเทศน์คั่นกลาง เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเกิดความไพเราะซาบซึ้ง ไม่เกิดการเบื่อหน่ายที่ต้องฟังเทศน์นาน ๆ การเทศน์แหล่นี้บางแห่งก็ไม่มีเทศน์กัน
3. กัณฑ์หลอน คือ กัณฑ์เทศน์ที่ทำพิธีแห่ไปจากบ้าน ไม่จำเพากัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่งและไม่เจาะจงจะถวายพระรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อแห่กัณฑ์หลอนไปถึงวัด พระรูปใดกำลังเทศน์อยู่ เมื่อท่านเทศน์จบก็นิมนต์มารับกัณฑ์หลอนกัณฑ์นั้น กัณฑ์หลอนส่วนใหญ่จะทำด้วยกระจาดสานด้วยไม้ไผ่ มีคานหามใส่ของกินของใช้ที่มีผู้บริจาคพร้อมด้วยเงินและทำเป็นต้นประดับประดาอย่างสวยงาม การจัดกัณฑ์หลอนมักเป็นกลุ่มคนรวมกันจัดขึ้น อาจมีเจ้าภาพหลาย ๆ คนมาร่วมกัน พวกหนุ่มสาวร่วมกันจัดทำขึ้นบ้าง คนเฒ่าคนแก่ พวกพ่อค้า กลุ่มบ้านเหนือ กลุ่มบ้านใต้รวมกันจัดขึ้นบ้าง เมื่อเสร็จแล้วก็แห่ไปรอบ ๆ หมู่บ้าน ผ่านบ้านนั้นก็มักถวายปัจจัยไทยทานสมทบกัณฑ์ด้วยเป็นการร่วมสามัคคีกันไปในตัว การแห่กัณฑ์หลอนมักทำกันอย่างสนุกสนาน มีการตีฆ้อง ตีกลอง เป่าแคนดีดพิณ ตีโทน ฯลฯ และฟ้อนรำไปด้วย เมื่อถึงวัดแล้วก็หยุดใช้เสียง แล้วนำกัณฑ์ไปถวายพระเมื่อท่านเทศน์จบเป็นการถวายเพิ่มจากกัณฑ์ที่ถวายธรรมดาอีกที่หนึ่ง ในงานบุญเผวสคราวหนึ่ง อาจมีกัณฑ์หลอนสักกี่กัณฑ์ก็ได้ แล้วแต่ศรัทธาของประชาชนในละแวกนั้น บางทีหากมีหลายกัณฑ์ จะทยอยแห่กันแทบตลอดกันก็มี พระรูปใดหากถูกกัณฑ์หลอนถือว่าโชคดี เพราะมักได้ปัจจัยมากเป็นพิเศษ ดังคำพังเพยกล่าวว่า "ถือกัณฑ์หลอน มันซิรวยข้าวต้ม"นอกนี้ อาจมีกัณฑ์พิเศษที่เจ้าของกัณฑ์เจาะจงนำไปถวายพระผู้เทศน์รูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" คำว่า จอบ หมายความว่า แอบดู ดังนั้น "กัณฑ์จอบ" จึงหมายถึง ก่อนนำกัณฑ์ไปถวายไปแอบดูให้รูปแน่เสียก่อนว่า เป็นพระรูปที่เจาะจงจะนำไปถวาย จึงแก่กัณฑ์เข้าไปยังวัดขณะที่พระรูปนั้นกำลังเทศน์อยู่ และเมื่อเทศน์จบก็นำกัณฑ์ไปถวายพอดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น