วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
การพัฒนาทักษะการคิด
ยุคอนาคตนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในอัตราเร่งที่เร็วมากขึ้น เพราะมีการสื่อสารความคิด และความรู้สึกกันได้ อย่างง่ายดาย และอย่างกว้างขวาง ด้วยวิทยาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีการก่ายกันขึ้นไปบนฐานความรู้ ที่นับวันฐานนั้นจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น คนที่จะได้รับการยอมรับอย่างโดดเด่น จึงต้องเป็นคนที่คิด และทำ แตกต่างจากคนอื่นทั่วไป นั่นคือ มีความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะต่องานที่ต้องการ ความแปลกแตกต่าง เช่น ธุรกิจ ต้องการสร้างจุดขายสินค้า หรือบริการเพื่อดึงดูดลูกค้าอยู่เสมอ องค์กรต่างๆ ต้องการการปฏิรูปภายใน ภาพรวมระดับประทศ ต้องการความคิดสร้างสรรค์ ในการปฏิรูปครบวงจร ทั้งประเทศ เป็นต้น กิจการเหล่านี้ ล้วนต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น
ความคิดสร้างสรรค์ในนิยามของผม ควรจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ประการแรก สิ่งใหม่ (new, original) เป็นการคิดที่แหวกวงล้อมความคิดที่มีอยู่เดิม ที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร แม้กระทั่งความคิดเดิมๆ ของตนเอง ประการที่สอง ใช้การได้ (workable) เป็นความคิดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่ลึกซึ้ง และสูงเกินกว่าการใช้เพียง "จินตนาการเพ้อฝัน" คือ สามารถนำมาพัฒนาให้เป็นจริง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ ของการคิดได้เป็นอย่างดี และประการที่สาม มีความเหมาะสม เป็นความคิดที่สะท้อนความมีเหตุมีผล ที่เหมาะสม และมีคุณค่า ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
การที่คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์ ได้ตามลักษณะที่กล่าวมานั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพการทำงาน และการพัฒนาของสมอง ซึ่งสมองของคนเรามี 2 ซีก มีการทำงานที่แตกต่างกัน สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในส่วนของการตัดสินใจ การใช้เหตุผล สมองซีกขวา ทำหน้าที่ในส่วนของการสร้างสรรค์ แม้สมองจะทำงานต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมองทั้งสองซีก จะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกัน ในแทบทุกกิจกรรมทางการคิด โดยการคิดสลับกันไปมา อย่างเช่น การอ่านหนังสือ สมองซีกซ้ายจะทำความเข้าใจ โครงสร้างประโยค และไวยากรณ์ ขณะเดียวกัน สมองซีกขวาก็จะทำความเข้าใจ เกี่ยวกับลีลาการดำเนินเรื่อง อารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อเขียน ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆ กัน ไม่สามารถแยกพัฒนาในแต่ละด้านได้ การค้นพบหน้าที่แตกต่างกันของสมองทั้งสองส่วน ช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากได้มากขึ้น
ในการพัฒนาสมองของผู้เรียน ให้ใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่านการจัดการเรียนการสอนนั้น ควรจัดอย่างสมดุล ให้มีการพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปด้วยกัน ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสมดุลในการคิด และคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เอนเอียงไปในหลักการเหตุผล มากเสียจนติดอยู่ในกรอบ ของความคิดแบบเดิม และไม่ใช่การคิดด้วยการใช้จินตนาการเพ้อฝันมากเกินไป จนไม่มีความสัมพันธ์กัน ระหว่างความฝัน กับความสมเหตุสมผล ซึ่งจะทำให้ไม่สมารถนำมาปฏิบัติให้เป็นจริงได้ ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การคิดสร้างสรรค์ จึงพึ่งพาทั้งสมองซีกซ้าย และขวาควบคู่กันไป
อย่างไรก็ตาม การที่คนแต่ละคนจะคิดสร้างสรรค์ได้มากน้อย เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญหลายประการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีควรมีทุกคน เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในตนเอง ได้แก่
1. องค์ประกอบด้านทัศนคติ และบุคลิกลักษณะ
คนที่รู้เพียงเทคนิควิธีการคิดสร้างสรรค์นั้น อาจจะสามารถคิดเชิงสร้างสรรค์ได้ในระดับหนึ่ง แต่หากมีทัศนคติ และบุคลิกภาพในเชิงที่สร้างสรรค์ เป็นองค์ประกอบร่วมด้วย บุคคลนั้นจะสามารถคิดสร้างสรรค์ ได้อย่างดีมาก นักคิดสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีทัศนคติ และบุคลิกลักษณะหลายประการ อาทิ เป็นคนที่เปิดกว้างต่อการรับประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยท่าทีที่ยินดี จะเรียนรู้เสมอ มีอิสระในการคิดพินิจ และตัดสินใจ กล้าเผชิญความเสี่ยง มีความเชื่อมั่น และเป็นตัวของตัวเอง มีทัศนคติเชิงบวก ต่อสถานการณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย มีแรงจูงใจอันสูงส่ง ที่จะประสบความสำเร็จ เป็นคนที่ยินดีทำงานหนัก มีความสนใจต่อสิ่งที่มีความสลับซับซ้อน อดทนต่อปัญหาที่ยังมองไม่เห็นทางออก หรือคำตอบ บากบั่น อุตสาหะ เรียนรู้จากความล้มเหลว ให้เป็นบทเรียนของชีวิต และสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี โดยมีความสุขุม และมีความมั่นคงในจิตใจเพียงพอ
2. องค์ประกอบด้านความสามารถทางสติปัญญา
ความคิดสร้างสรรค์ จัดว่าเป็นทักษะระดับสูง ของความสามารถทางสติปัญญา ความสามารถเหล่านี้ ได้แก่
ความสามารถในการกำหนดขอบเขต ของปัญหา ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ จะไม่มองปัญหาที่เห็นอยู่ตรงหน้า ด้วยสายตาธรรมดา หรือด้วยความคิดที่ไม่สู้ แต่มองด้วยมุมมองแบบใหม่ เพื่อทำให้เห็นทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่เหมาะสมกว่า โดยเริ่มต้นด้วยการให้นิยาม หรือกำหนดขอบเขตของปัญหา ที่ต้องการแก้ไขได้อย่างชัดเจน จากนั้นจึงตั้งเป้าหมาย เพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น ในแนวทางที่สร้างสรรค์กว่าเดิม
ความสามารถในการใช้จินตนาการ ในการพิจารณาปัญหา เพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ การวาดภาพจากจินตนาการ ช่วยทำให้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เกิดได้ง่ายขึ้น เช่น การที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) สามารถพัฒนาทฤษฎีสัมพันธภาพ ได้จากการวาดภาพว่า ตนเองกำลังท่องเที่ยวไปบนลำแสง ที่ยาวไกลลำแสงหนึ่ง
ความสามารถในการคัดเลือกอย่างมียุทธศาสตร์ มีลักษณะดังเช่น ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ความสามารถในการมุ่งสู่หนทาง การแก้ปัญหาที่มีศักยภาพ ความสามารถในการตัดทางเลือก ที่ไม่เกี่ยวข้องออก ความสามารถในการรู้ว่า เวลาใดจะต้องใช้การคิดแบบใด จึงจะเหมาะสม และช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ เป็นต้น
ความสามารุในการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ การที่เราจะได้ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีที่สุดนั้น เราควรจะมีความสามารถ ในการแยกแยะ และคัดเลือกความคิดที่ดี และเหมาะสมท่ามกลางแนวความคิด ที่เป็นไปได้มากมาย โดยคัดเลือกเฉพาะความคิด ที่มีความสอดคล้องกัน มารวบรวมประกอบกัน เพื่อสร้างเป็นความคิดใหม่ขึ้น และนำความคิดใหม่ที่ได้นั้น มาพิจารณาประเมินคุณค่า ในลำดับต่อไป ความสามารถในการประเมิน ทำให้เกิดคววามก้าวหน้าในการแก้ปัญหา อันเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับ ความปรารถนาที่จะให้ได้คำตอบ ที่มีคุณภาพสูง เป็นสิ่งใหม่ที่ดีกว่า และมีความเหมาะสมยิ่งกว่า
3. องค์ประกอบด้านความรู้ ความรู้เป็นเหมือนดาบสองคม ที่มีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในมุมบวก และมุมลบ จากการศึกษาวิจัยของ Rosenman, M.F. ใน Jurnal of Creative Behavior ใน 1988 พบว่า ความรู้ที่สะสมมาเป็นเวลาหลายปีนั้น มีความสำคัญต่อการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คนที่มีความรู้ มักจะคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความรู้ เพราะทำให้เข้าใจธรรมชาติของปัญหาได้กว้าง และลึกซึ้งกว่าคนที่ขาดฐานข้อมูลความรู้ ช่วยทำให้เราสามารถคิดงานที่มีคุณภาพ เพราะมีรากฐานของความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนั้นรองรับ และช่วยกระตุ้นให้มีการคิดต่อยอดความรู้ต่อไป อันเกิดจากการได้รับความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับ หรือมีอยู่ มาขบคิด และก่อร่างขึ้นเป็นต้นกำเนิดของความคิดอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ความรู้กลับอาจเป็นตัวขัดขวาง ความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย หากยึดติดในความรู้ที่มีอยู่มากเกินไป จนเป็นอุปสรรค ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการคิดออกนอกกรอบ หรือคิดจากมุมมองใหม่ๆ ที่กว้างขวางขึ้น
4. องค์ประกอบด้านรูปแบบการคิด รูปแบบการคิดของแต่ละคน มีผลต่อการรับรู้ และบุคลิกลักษณะของคนๆ นั้น รูปแบบการคิดจะช่วยให้เกิดการประยุกต์ ความสามารถทางสติปัญญา และความรู้ของคนๆหนึ่ง ในการแก้ปัญหา คนสองคนอาจจะมีระดับสติปัญญาเท่าเทียมกัน ต่างกันตรงรูปแบบการคิด งานวิจัยหลายชิ้นบ่งบอกว่า รูปแบบการคิดของคนบางคน ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่รูปแบบการคิดของบางคน ขัดขวางการคิดสร้างสรรค์ เช่น ความสมดุลในการคิด แบบมองมุมกว้าง กับการคิดแบบมองมุมแคบ การคิดในมุมแคบ เป็นการคิดแบบลงในรายละเอียดของปัญหา ส่วนการคิดในมุมกว้าง เป็นการคิดแบบมองกว้าง ในระดับทั่วไปของปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มักจะต้องมองในภาพกว้างก่อน หรือคิดในมุมกว้างก่อน จากนั้น จึงค่อยพิจารณาลงในรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให้ได้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ได้ความคิดสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์ที่สุด
5. องค์ประกอบด้านแรงจูงใจ แรงจูงใจเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่กระตุ้นให้คนต้องการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งแรงจูงใจภายใน และแรงกระตุ้นจากภายนอก แรงจูงใจกระตุ้นจากภายใน ที่มีประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์ เช่น ความต้องการประสบความสำเร็จ ความต้องการสิ่งใหม่ๆ การตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น เป็นต้น คนที่มีแรงกระตุ้นจากภายใน มักจะบอกว่า เขาทำงานนี้ เพราะรู้สึก "สนุก" หรือไม่ก็ค้นพบว่า มัน "น่าสนใจ" และจะพึงพอใจ เมื่องานที่ทำนั้นประสบความสำเร็จ ส่วน แรงกระตุ้นจากภายนอก จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ การที่สิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นผู้ยื่นเสนอรางวัล ยกตัวอย่างเช่น เงิน ความก้าวหน้าในการทำงาน การได้รับการยกย่องจากหัวหน้างาน การมีชื่อเสียง การได้รับรางวัล เป็นต้น จากการศึกษา พบว่า คนที่ถูกกระตุ้นด้วยรางวัลนั้น จะมีความคิดสร้างสรรค์ต่ำกว่า คนที่มีแรงกระตุ้น จากความต้องการที่อยู่ภายใน หรือการได้รางวัลที่ไม่เกี่ยวข้อง กับงานที่ทำอยู่ อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจจากภายใน และภายนอกที่ผสมผสานกันอย่างสมดุล จะช่วยให้การทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ บรรลุวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี
6. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม การที่คนเราจะสามารถคิดสร้างสรรค์ ได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมร่วมด้วยเป็นสำคัญ คนที่มีลักษณะการสร้างสรรค์ มักเป็นผู้ที่ได้รับการกระตุ้น และได้รับการส่งเสริมสนับสนุน โดยการสร้างบรรยากาศ ที่ไม่มีการสร้างกรอบมาตรฐานมาบีบรัด อันได้แก่ สังคมที่ส่งเสริมสิทธิแสรีภาพ ในการแสดงออกของประชาชน สังคมที่ส่งเสริมความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม สังคมที่มีแบบอย่าง คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สังคมที่ให้รางวัล และสนับสนุนคนที่คิดแตกต่าง สังคมที่ส่งเสริมการแข่งขัย ทางธรกิจอย่างเสรี บริบทสังคมเช่นนี้ ย่อมส่งเสริมให้คในสังคมนั้น มีความคิดสร้างสรรค์
ในทางตรงกันข้าม คนบางคน หรือกลุ่มคนในบางสังคม อาจเรียกได้ว่า เป็นคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่หล่อหลอมให้พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ ของคนในสังคมนั้นๆ หยุดชะงักลง เช่น สังคมที่ยึดมั่นการดำเนินชีวิต ตามขนบธรรมเนียมประเพณีสังคม ที่มีลักษณะเผด็จการ ทำให้คนในสังคม ไม่กล้าคิดนอกกรอบ สังคมที่ไม่เห็นคุณค่าความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยอมรับความคิดที่คนๆ หนึ่งได้สร้างสรรค์ขึ้น และสังคมที่ไม่มีการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์ เช่น การเรียนการสอน ที่เน้นการท่องจำ โรงเรียนไม่มีบรรยากาศ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ จึงทำให้ผู้เรียนเติบโตขึ้น อย่างขาดทักษะในการคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น บริบทแวดล้อมต่างๆ เหล่านี้ มีผลทำให้การพัฒนาความสามารถ ด้านการคิดสร้างสรรค์หยุดชะงักลง
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอน ในการนำไปประยุกต์เข้ากับ การจัดการเรียนการสอน เพื่อคิดหาเทคนิควิธีการ เพื่อนำมาฝึกฝนให้ผู้เรียน สามารถเป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ นั่นหมายความว่า จะต้องเกิดการคิดสร้างสรรค์ เริ่มต้นที่ ผู้จัดการเรียนการสอนโดยตรงเสียก่อน ที่จะไม่ยึดกับกรอบรูปแบบเดิม หากรูปแบบเดิมนั้น ขัดขวางการคิดสร้างสรรค์ในผู้เรียน
ที่มา
เอกสารการสอนของท่านอาจารย์จตุพร ภูศิริภิญโญ
วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552
คลองสิบสี่
หมายถึง ข้อกติกาของสังคม ๑๔ ประการที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีดังนี้
12.เดือนสิบสอง บุญกฐิน
คำแปล
11.เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
คำแปล
คำแปล
10.เดือนสิบ บุญข้าวสาก
( ภาคกลางเรียกว่าข้าวกระยาสารท ) แต่บางแห่งข้าวเม่า ข้าวพองและข้างตอกมิได้คลุกเข้าด้วยกันคงแยกไปทำบุญเป็นอย่างๆ ไปตามเดิม เมื่อเตรียมของทำบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใคร่นับถืออาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ แล้วแต่สะดวก สิ่งของเหล่าสี้มักแลกเปลี่ยนกันมาระหว่างญาติพี่น้องและชาวบ้านที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นได้บุญและเป็นการผูกมิตรไมตรีกันไปในตัวด้วย มูลเหตูที่มีการทำบุญข้าวสาก มีเรื่องเล่าไว้ในธรรมบทว่า มีบุตรชายกฎุมพีผู้หนึ่ง เมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้วแม่ได้หาหญิงผู้มีอายุและตระกูลเสมอกันมมาเป็นภรรยา แต่อยู่ด้วยกันหลายปีไม่มีบุตร แม่จึงหาหญิงอื่นมาให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉา จึงคิดฆ่าทั้งลูกและเมียน้อยเสีย ฝ่ายเมียน้อยเมื่อก่อนจะตายก็คิดอาฆาตเมียหลวงไว้ ชาติต่อมาฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นแมว อีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นไก่ แมวจึงกินไก่และไข่ ชาติต่อมาฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นเสือ อีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นกวาง เสือจึงกินกวางและลูก ชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นคนอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นยักษิณี พอฝ่ายคนแต่งงานคลอดลูก นางยักษิณีจองเวร ได้ตามไปกินลูกถึงสองครั้งต่อมามีครรภ์ที่สาม นางได้หนีไปอยู่กับพ่อแม่ของตนพร้อมกับสามี เมื่อคลอดลูกเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงพร้อมด้วยสามีและลูกกลับบ้าน พอดีนางยักษิณีมาพบเข้า นางยักษิณีจึงไล่นาง สามีและลูก นางจึงพาลูกหนีพร้อมกับสามีเข้าไปยังเชตวันมหาวิหาร ซึ่งพอดีพระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ นางและสามีจึงนำลูกน้อยไปถวายขอชีวิตไว้ นางยักษ์จะตามเข้าไปในเชตวันมหาวิหารไม่ได้ เพราะถูกเทวดากางกั้นไว้ พระพุทธเจ้าจึงโปรดให้พระอานนท์ไปเรียกนางยักษ์เข้ามาฟังพระธรรมเทศนา พระองค์ทรงสั่งสอนไม่ให้พยาบาทจองเวรกัน แล้วจึงโปรดให้นางยักษ์ไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา นางยักษ์ตนนี้มีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดีปีไหนฝนจะตกดีปีไหนฝนจะตกไม่ดีจะแจ้งให้ชาวเมืองได้ทราบ ชาวเมืองให้ความนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งนางยักษ์อย่างบริบูรณ์สม่ำเสมอ นางยักษ์จึงได้นำเอาอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอิสานจึงถือเอาการถวายสลากภัตหรือบุญข้าวสากนี้เป็นประเพณีสืบต่อกันมาและเมื่อถึงวันทำบุญข้าวสาก นอกจากนำข้าวสากไปถวายพระภิกษุและวางไว้บริเวณวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ชาวนาจะเอาอาหารไปเลี้ยงนางยักษ์ หรือผีเสื้อนาในบริเวณนาของตนเปลี่ยนเรียกนางยักษ์ว่า " ตาแฮก "
วิธีดำเนินการ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ ตอนเช้าชาวบ้านจะพากันนำอาหารคาวหวานต่างๆ ไปทำบุญตักบาตรที่วัดโดยพร้อมเพรียงกัน และถวายทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้นก็กลับบ้าน แต่บางคนอาจอยู่วัดจำศีล ภาวนาและฟังเทศน์ก็มีต่อมาพอสายพอจวนเพล ชาวบ้านจะนำเอาข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้ ไปวัดอีกครั้งหนึ่ง โดยเอาอาหารต่างๆ จัดเป็นสำรับหรือชุดสำหรับถวายทานหรือถวายเป็นสลากภัต การถวายอาหารตอนนี้จัดใส่ภาชนะต่างๆแล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจัดใส่ถ้วย ชามถวาย บางแห่งใช้ทำเป็นห่อ ทำเป็นกระทงด้วยใบตองกล้วยหรือกระดาษ บางแห่งใส่ชะลอม ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่และกรุด้วยใบตองกล้วยหรือกระดาษ บ้านหนึ่งๆจะจัดทำสักกี่ชุดแล้วแต่ศรัทธา ประเพณีบุญข้าวสารที่นิยมทำกันอีกอย่างหนึ่ง คือ สลากภัต อาจทำได้หลายวิธี คือวิธีหนึ่ง ก่อนจะนำของถวายพระชาวบ้านจะจับสลากชื่อพระภิกษุสามเณรก่อน สลากที่จับถูกชื่อพระภิกษุสามเณรรูปใด ก็นำของไปถวายแต่พระภิกษุสามเณรรูปนั้น วิธีหนึ่ง ผู้ถวายจะเขียน ชื่อของตนใส่ลงในบาตร พระภิกษุสามเณรรูปใด ได้สลากของผู้ใด ผู้นั้นก็นำของไปถวายข้าวสากกี่ชุด จะเขียนชื่อเจ้าของข้าวสากพร้อมจำนวนชะลอมหรือท่อหรือทา และคำอุทิศส่วนกุศล ใส่กระดาษไปด้วย เมื่อชาวบ้านไปพร้อมกันที่วัดแล้ว จะนำเอาสลากนั้นไปใส่ลงในขันหรือบาตรรวมกันคลุกให้เข้ดีแล้ว จะมีการจับสลากขึ้นมาทีละใบ เมื่อจับสลากถูกใบใด ก็จะมีการอ่านชื่อผู้เจ้าของสลากพร้อมคำอุทิศส่วนกุศล พออ่านจบเจ้าของข้าวสากจะนำห่อ ชะลอมหรือสำหรับอาหารต่าง ๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์การจับสลากใบแรก ประชาชนบางตำบลหมู่บ้านให้ความสนใจและตื่นเต้นเป็นพิเศษ ว่าปีนั้นจะจับสลากถูกใครก่อนคนอื่น เพราะเชื่อถือกันว่า ถ้าปีได้จับสลากคนแรกเป็นคนฐานะยากจน มักจะทำนายว่า ปี่นั้นมักจะหากินไม่คอยได้ผลดี เช่น ข้าวกล้าในนา จะไม่งอกงาม เป็นต้น แต่ถ้าปีใดจับสลากถูกคนที่มีฐานะดี ก็มักจะทำนายว่า ประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ ไม่อดอยาก นอกนี้บางแห่งชาวบ้านยังนิยมเอาห่อหรือชะลอมข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้เปรตหรือญาติผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่าง ๆ ที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่อุทิศให้ด้วย เมื่อถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณรและนำอาหารไปวางไว้บริเวณวัดเสร็จแล้ว มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เปรตและญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย เป็นอันเสร็จพิธี นอกจากนี้ผู้ที่มีนาจะนำข้าวสารไปเลี้ยง "ตาแฮก" ที่นาขอบตน ดังกล่าวแล้วข้างต้น
คำถวายสลากภัต
อิมานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภักขุสังโฆ อิมานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัง ญาตะกานัณจะกาละ กะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงให้โอกาสรับซึ่งสลากภัต กับทั้งบริขารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย และญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ซึ่งล่วงลับไปแล้วตลอดกาลนานาเทอญ
9.เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดินนิยมทำกันในแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า บุญข้าวประดับดินเป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต (ชาวอีสานบางทีเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดินได้แก่ ข้าวและอาหารหวานคาวพร้อมหมากพลูบุหรี่ที่ห่อด้วยใบตองกล้วย นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้หรือวางไว้ตามพื้นดินหรือที่ใดที่หนึ่งในบริเวณวัด พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว มารับเอาอาหารที่อุทิศให้ต่อมาภายหลังนิยมนำภัตตาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตายโดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย มูลเหตุที่จะมีการทำบุญข้าวประดับดิน มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาลบรรดาญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์ ตายไปแล้วไปเกิดเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์แล้ว มิได้ทรงอุทิศส่วนกุศลผลบุญไปให้บรรดาเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น เมื่อเปรตมิได้รับผลบุญ ถึงเวลากลางคืนพากันมาส่งเสียงน่ากลัว เพื่อขอส่วนบุญอยู่ใกล้ ๆ กับพระราชนิเวศน์ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้ยินเช่นนั้น พอรุ่งเช้าจีงเสด็จไปทูลถาม สาเหตุจากพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าจึงทรงแจ้งถึงสาเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงทราบแล้ว จึงถวายทานแล้วอุทิศส่วนกุศลซึ่งได้ทำไปให้เปรต ตั้งแต่นั้นมาบรรดาเปรตเหล่านั้นก็ไม่มารบกวนอีกเพราะเปรตที่เป็นญาติได้รับผลบุญแล้ว ชาวอีสานจึงถือเอามูลเหตุนี้ทำบุญข้าวประดับดินติดต่อกันมา
วิธีดำเนินการ พอถึงวันแรม 13 ค่ำ เดือนเก้า ชาวบ้านเตรียมอาหารมีทั้งคาวหวาน ได้แก่ เนื้อปลาเผือกมัน ข้าวต้ม ขนม น้ำอ้อย น้ำตาล ผลไม้ เป็นต้น และหมากพลูบุหรี่ไว้ให้พร้อมเพื่อจัดทำเลี้ยงกันในครอบครัวบ้าง และทำบุญถวายพระภิกษุสมเณรบ้าง ส่วนสำหรับอุทิศให้ญาติที่ตายใช้ห่อด้วยใบตองกล้ายคาวห่อหนึ่ง หวานห่อหนึ่ง และหมากพลูบุหรี่ห่อหนึ่ง เย็บหุ้มปลายแต่บางคนใส่ใบตองที่เย็บเป็นกระทงก็มีหรือหากไม่แยกกัน อาจเอาอาหารทั้งคาวหวานหมากพลูบุหรี่ใส่ในห่อหรือกระทงเดียวกันก็ได้ สิ่งเหล่านี้จะมากน้อย ก็แล้วแต่ศรัทธา พอเช้าวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้าตอนเช้ามืด คือ เวลาประมาณ 4 ถึง 6 นาฬิกา ชาวบ้านก็นำอาหารหมากพลูบุหรี่ที่ห่อหรือใส่กระทงแล้ว ไปวางไว้ตามพื้นดิน วางแจกไว้ตามบริเวณโบสถ์ ต้นโพธิ์ ศาลาวัดตามกิ่งไม้ หรือต้นไม้ใหญ่ ๆ ในบริเวณวัด พร้อมพับจุดเทียนไว้ และบอกกล่าวแก่เปรตให้มารับเอาของและผลบุญด้วย บางหมู่บ้านจะเอาอาหารที่อุทิศให้แก่ผู้ตายเสร็จแล้วนี้ฝังไว้ในดินก็มี เพื่อไม่ให้ผู้ใดผู้หนึ่งมากินอาหารที่เป็นเดนเปรตเพราะกลัวจะกลายเป็นเปรตไปด้วย การวางอาหารไว้ตามพื้นดินหรือตามที่ต่าง ๆ เพื่อจะให้พวกเปรตมารับเอาของที่อุทิศให้ได้ง่ายโดยไม่ต้องมีพิธีรีตองนัก เสร็จพิธีอุทิศผลบุญส่งไปให้เปรตแล้ว ชาวบ้านก็จะนำอาหารที่เตรียมไว้ไปตักบาตรและถวายทานแต่พระภิกษุสามเณร มีการสมาทานศีลฟังเทศน์และกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับต่อไป การทำบุญข้าวประดับดิน บางท้องถิ่นมีการห่ออาหารคาวหวานหมากพลูบุหรี่ไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ บริเวณวัด ภายหลังการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรแล้วก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวประดับดิน
คำถวายสังฆทาน
(ข้าวประดับดิน)อิมานิ มะยัง ภันเต ปิณฑะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปิณฑะภัตตานิ สะปะริวานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะ รัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวและอาหาร (ข้าวประดับดิน) กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวและอาหาร (ข้าวประดับดิน) พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
8.เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
บุญเข้าพรรษาถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปดเป็นวันทำบุญ เป็นประเพณีที่ถือมาแต่โบราณครั้งพุทธกาล เพราะในฤดูฝน เมื่อฝนตกหนทางไปมาไม่สะวก เป็นการลำบากในการที่พระภิกษุจะสัญจรไปมา และบางครั้งพระภิกษุอาจเดินเข้าไปในเรือกสวนไร่นาเหยียบย่ำพืชผักของชาวบ้านเสียหาย จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำที่หรือเข้าพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด เพื่อให้พระภิกษุสามเณรอยู่เป็นที่โดยเหตุผลดังกล่าวและในระหว่างเข้าพรรษา พระภิกษุสามเณรจะได้ถือโอกาสเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่าง ๆ เพื่อจะนำไปสั่งสอนพุทธศาสนิกชนต่อไปด้วย ในระหว่างเข้าพรรษา พระภิกษุสามเณรจะไปพักค้างคืนที่อื่นไม่ได้นอกจากไปด้วยสัตตาหกรณียะ คือการไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษาของพระเมื่อมีเหตุจำเป็นได้แก่
1. สหธรรมิก (ผู้มีธรรมอันร่วมกัน) หรือมารดาบิดาป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาล
2. สหธรรมิกกระสันจะสึก ไปเพื่อระงับ
3. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุด ไปเพื่อปฏิสังขรณ์
4. ทายกบำเพ็ญกุศล สงมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธา แม้ธุระอื่น นอกจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างที่อื่นได้ และการไปในกรณีดังกล่าว ต้องกลับมาภายใน 7 วัน หมายความว่าไปได้ไม่เกิน 7 วันนั้นเอง มูลเหตุที่จะมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์เข้าพรรษา เรื่องมีอยู่ว่าครั้งพุทธกาลเพื่อพระพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระสงฆ์พวกหนึ่งเรียกว่า "ฉัพพัคคีย์" เที่ยวไปมาตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อคราวฝนตกแผ่นดินชุ่มด้วยน้ำฝน ก็เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าและหญ้าระบัดเขียว ทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอันตรายประชาชนทั่วไปพากันติเตียนว่า แม้แต่พวกเดียรสถีย์ปริพาชกเขายังหยุด ที่สุดแม้นกยังรู้จักทำรังอาศัยบนยอดไม้หลบหลีกฝน แต่พระสมณะศากยบุตรทำไมจึงเที่ยวอยู่ได้ทั้งสามฤดู เหยียบหญ้าและต้นไม้ที่เป็นของชีวิตอยู่ ทั้งทำสัตว์ทั้งหลายให้ตายเป็นอันมากเช่นนี้ เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้ยินคำตำหนิติเตียนเช่นนั้น จึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ตอนนี้เรียกว่าพรรษาแรกแต่ถ้าพระภิกษุรูปใดไม่สามารถเข้าพรรษาได้ตามกำหนดดังกล่าว อาจเข้าพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเก้าเป็นต้นไปจนครบ 3 เดือนก็ได้ เรียกว่าพรรษาหลังในระหว่างเข้าพรรษาให้พระภิกษุอยู่ในวัดแห่งเดียวไม่อนุญาตให้ไปพักแรมที่อื่นตลอด 3 เดือน ถ้าพระภิกษุเที่ยวไปกลางพรรษา หรืออธิษฐานจำพรรษาแล้ว อยู่ครบ 3 เดือนไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฎเว้นแต่มีเหตุอันจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ปรกติไปได้ไม่เกิน 7 วัน ประเพณีให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา คือ อยู่ในวัดแห่งเดียวไปค้างที่ไหนไม่ได้ 3 เดือน จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิธีดำเนินการ เมื่อถึงวันทำบุญเข้าพรรษา ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่างก็จัดอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ไปถวายพระ บางคนก็นำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มี ไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค ผ้าห่มนอน ตะเกียง ธูปเทียนเป็นต้นไปถวาย โดยเฉพาะเครื่องสำหรับให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียง น้ำมัน เป็นต้น ชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื่อว่าการถวายทานแสงสว่างแด่พระภิกษุสงฆ์จะได้อานิสงส์แรงทำให้ตามทิพย์และสติปัญญาดี ก่อนวันเข้าพรรษา ทางวัดจะเที่ยวบอกบุญชาวบ้านขอให้ไปหาขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียนโดยจัดทำเป็นเล่มหรือแท่งขนาดใหญ่ และทำเป็นต้น เรียกว่า ต้นเทียน มีการประดับประดาอย่างสวยงาม พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด ก็พากันแห่ไปถวายวัด บางแห่งแบ่งการหล่อเทียนออกเป็นคณะ ก่อนนำไปถวายวัดมีการประกวดต้นเทียนกันด้วย ขบวนต้นเทียนที่จัดเป็นคณะ มีการฟ้อนรำและการละเล่นพื้นเมืองประกอบ สนุกสนานเฮฮากัน เมื่อไปถึงวัดก็มีการทำพิธีถวายเทียน ผ้าอาบน้ำฝน และบริวารอื่น ๆ แต่พระภิกษุสามเณรและมีการฟังเทศน์ด้วยบางแห่งชาวบ้านชายหญิงเข้าโบสถ์สวดบทธรรมเป็นทำนองสรภัญญ์ เริ่มแต่อาราธนาศีล อาราธนาธรรม ตลอดจนบทเรียนเกี่ยวกับการประพฤติการปฏิบัติ และพรรณาถึงคุณของผู้มีอุปการคุณ ซึ่งมีท่วงทำนองไพเราะจับใจมากทำให้ผู้สวดและผู้ฟังจิตใจสงบสุข บางหมู่บ้านอาจมีสวดสรภัญญ์แข่งขันกัน ผ้าอาบน้ำฝน คือผ้าที่พระภิกษุใช้นุ่งอาบน้ำ สีอนุโลมตามสีจีวร ขนาดยาว 4 ศอก 1 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 1 กระเบียด 2 อนุกระเบียด ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเจ็ด ถึงกลางเดือนแปดเป็นเวลาที่พระภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ผู้มีศรัทธาอาจถวายผ้าอาบน้ำฝนได้ ตามกำหนดนี้โดยมากนิยมถวายกันในวันเพ็ญเดือนแปด มูลเหตุที่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน เดิมพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้เพียงผ้า 3 ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าห่ม 1 และผ้านุ่ง 1 ครั้งถึงฤดูฝนพระภิกษุบางรูปจะอาบน้ำฝนไม่มีผ้าจะนุ่งอาบ จึงเปลือยกายอาบน้ำ วันหนึ่งนางวิสาขาใช้สาวใช้ไปวัดขณะฝนตก สาวใช้เห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน จึงกลับมาเล่าให้นางวิสาขาฟัง นางวิสาขาจึงกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าอาบน้ำฝน พระองค์จึงทรงอนุญาตเขตกำหนดแสวงหาผ้าและเวลาให้ผ้าอาบน้ำฝน ให้พระภิกษุถือเป็นกิจวัตรปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา
คำถวายเทียนและคำถวายผ้าอาบน้ำฝน มีดังต่อไปนี้
คำถวายเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต ปะทีปัง สะปะริวารัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกษุสังโฆ อิมานิ ปะทีปัง สะปะริวารัง ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเทียนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเทียนและบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ มะยังภันเต วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหาหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนพร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
7.เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
6.เดือนหก บุญบั้งไฟ
ศรี ศรี สุมังคละสวัสดีวิเศษ อดิเรกชัยศรี สวัสดีจงมีแก่ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งเทพานาค ครุฑ เทวบุตร เทวดา อินทร์พรหมนมราชา จตุราทั้งสี่ ทุกที่พร้อมจักรวาล กับทั้งสถานเจ้าที่ จงพร้อมกันมาชมชื่นยินดี เชิงมังคลาศรีอันวิเศษ วันนี้พระเจ้าเกตุเข้าสู่ราศี เป็นดีสุดขนาด พิณพาทย์พร้อมตรียางค์ ทั้งนาวางค์คาดคู่ ตั้งเป็นหมู่สอนลอน พระอาทิตย์จรจันทร์ฤกษ์ อังคารถืกมหาชัยพุธพฤหัสไปเป็นโยค ศุกร์เสาร์ได้อมุตตโชตพร้อมลักขณาวันนี้ตามตำราว่าได้ฤกษ์ถืกหน่วยชื่อว่า อุตตมราศี เป็นวันดีอุตตมโชค อุตตมโยคอุตตมราชา อุตตมไชยา อุตตมเสฏฐา วันนี้เป็นวันลาภะอันล้ำเลิศ ประเสริฐมุงคุล ปุนแปลงดีแต่งแล้ว พาขวัญแก้วจึงยอมามีทั้งท้าวพญาเสนาและอำมาตย์ มีทั้งปราชญ์พร้อมมวลมา มีทั้งบุตตาและพ่อแม่ ทั้งเฒ่าแก่และวงศา พี่น้องพร้อมกันมานั่งสอนลอนทุกถ้วนหน้าไหลลั่งเทมาทั้งหญิงและสาวบ่าว ใจคิดอ่าวน่ายินดี เพื่อจักมาบายศรีนาคเจ้าจักได้พลัดพรากจากห้องเคหา จักได้ลาบิดาและมารดาออกไปบวช สร้างผนวชในศาสนาเจ้าก็คิดเห็นสังขารอันทุกขัง อนิจังอนันตาบ่มั่นบ่เที่ยง ฮู้บิดเบี่ยงไปมา เป็นอนิจจังบ่เลิกแล้ว บ่ได้ว่าหนุ่มแก่และชราผู้บังเกิดเป็นโรคาและพยาธิบ่ได้คลาดจากมรณา เจ้าได้คิดเห็นคุณบิดามารดาที่ได้เลี้ยงมาเป็นอันยาก เลี้ยงลำบากทุกวันคืน แต่อยู่ในอุทรท้องแม่ลำบากแท้เหิงนานเจียรกาบให้หนักหน่วงท้อง กินของเผ็ดและฮ้อนแม่ก็ค่อยเพียรรอดเจ้าก็อยู่ในกำหนด 10 เดือนบรบวนจนถ้วนทศมาสแล้ว เจ้าจึงคลาดแคล้วจากท้องแม่มารดา ม้มท้องมาเลิศแล้วลูกแก้วแม่เป็นชาย ฝูงตายายชมชื่น ยอยกยื่นเจ้าออกมา ผู้ลางคนหาไม้ได้แล้ว จึงตัดสายแห่แผ่สายบือ ลางคนถือกระบวยน้ำตักน้ำ ลางคนถือผ้าผืนกว้างมาตุ้มหุ่มนอน แม่จึงอุ้มเอาเจ้าใส่ในอก แล้วจึงยกเจ้าใส่ในเพลา แม่จึงเอาข้าวป้อนมื้อละ 3 คาบ อาบน้ำวันละ 3 ที แม่เจ้าก็ขัดสีลูบไล้ แม่เจ้าเอาใจใส่ทุกค่ำเช้ามีคา อันว่าเถิงฤดูปีใหม่มาฮอดแล้วฟ้าแผดฮ้องเสียงดังแม่เจ้าอุ้มใส่อู่ แม่เจ้าอุ้มสะสมสู่กินนม แม่ก็ชมลูกแก้ว คันว่าเลี้ยงใหญ่แล้วพอแล่นแล่นไปมาตามภาษาเด็กอ่อน ซะส่อนหน้าแล้วใหญ่เป็นคนเจ้าคิดถึงคำกังวลดั่งแค้น หน้าหมองแน่นในใจคิดอาลัยบ่แล้วคิดแล้ว ๆ อยากไปบวชในศาสนา เจ้าก็คิดถึงคุณบิดามารดาเป็นอันยิ่ง เจ้าจึงอำลำอุตสาห์เข้ามาบวช สร้างผนวชเป็นสามเณรเจ้าก็เฮียนสิกขาบทศศีลาธรรมอันวิเศษได้แล้ว บัดนี้อายุเจ้าก็ได้ถึงเขตเข้า 20 ปี บรบวนคักแน่ฝูงพ่อแม่จึงได้จัดหาเถิงศรัทธา ฮอดญาติพี่น้อง ตามพวกพ้องและมิตรสหาย บางพ่อศรัทธาหลายได้เสื่อสาดเป็นองอาสน์ปูนอน บางพ่องมีศรัทธาได้จีวรและผ้าพาด บางพ่องได้ผ้าอาดทั้งไตร ด้วยใจใสสุดขนาด บางพ่องได้บาตรและผ้าสบง บางพ่องได้ถงและน้ำเต้า ได้ไม้เท้าและตาลปัตร มีดตัดเล็บและกล่องเข็ม ดินสอและเครื่องประดับบริขารบริโภค บางพ่องได้โตกถ้วยและคนทีเหล็กจารดีอันคมกล้ากับเสื่อสารอาสนะทั้งศิลาน์และเมี่ยงหมากดูหลากด้วยเครื่องบริขารเป็นของอันเจตนาทานอันล้ำยิ่ง เพื่ออยากเห็นหน้าพระแก้วกิ่งเมตไตรยขออย่าได้ทรวัยอยู่ในโลก ขอให้ได้พ้นจากโศกโศกา ขอให้ได้เกิดมาในดุสิตล้ำเลิศ เมืองแก้วเกิดยอดนิพพาน เป็นที่สุขสำราญลือเดชขอให้พ้นจากทุกขเวทอยู่สวัสดี สัตตาธัมมาวุฒิธรรมทั้ง 7 ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อโรคะถ้วน 5 ปฏิภาณะถ้วน 6 อธิปไตยถ้วน 7 จงเสด็จเข้ามาฮับษายังขันธสันดานแห่งฝูงข้าพเจ้าตราบต่อเท่าห้าพันพระวัสสาก็ข้าเทอญ ศรี ศรี สุมังคะ สุขะสวัสดี บัดนี้ข้อยจักเชิญเอาขวัญสมศรีเจ้านาคเข้ามาเต้า ข้อยจักเชิญเอาขวัญฝ่ายนาคเจ้าเข้ามาโฮม อัชชะ ในมื้อนี้วันนี้ ว่ามาเยอขวัญเอยขวัญหัวเจ้าหากไปอยู่ในวังน้ำเลิกนำปลา ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ขวัญหัวเจ้าไปอยู่นาต่างด้าว ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ ขวัญเจ้าไปอยู่นำท่านอีศวร ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ขวัญเจ้าหากไปชมชื่นนำสาวส่ำน้อยก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ มาเยอขวัญเจ้าตาดเอย อย่าได้ไปชมชะนีไก่แก้วขันแจ้ว ๆ อยู่ภูผาเจ้าอยู่ได้ไปชมฝูงหมู่กวางคำทุกเนื้อเถื่อน อย่าได้ไปอยู่เป็นเพื่อนฝูงผี ขวัญเจ้าอย่าเดินคีรีและนอกเขตขวัญเจ้าอย่าได้เดินประเทศเที่ยวทางไกล อย่าได้หลงไหลชมหินผาและป่าไม้ อย่าได้แล่นนำหมู่ลิงลม ขวัญเจ้าอย่าได้ไปชมหมู่ลิงค่างเฒ่า หมู่นกเค้าและเสือสิงห์ ควายกระทิงและฮอกค่าง อย่าได้หลงเข้าเถื่อนกว้างถ้ำหมู่คูหา ทั้งวังปลาและสระใหญ่ ชื่นช้อนใส่มายาตระการตางามเฮื่องฮุ่ง ทั้งผักบุ้งและมู่บัวทองสะหมั่งกลางของหอมฮ่วงเฮ้า ขวัญเจ้านาคจงเข้ามาโฮม อัชชะในวันนี้ ให้มาอยู่ลี้ในใจทุกเมื่อ ให้มาอยู่ในเนื้อทุกยาม อย่าได้มีความกังวลและเดือนฮ้อนอย่าได้คิดดั่งค่อนฤทัยขอให้เจ้ามาเฮียนเอาพระวินัยปิฏกธัมมา อัตถาไขเฮืองฮอด ฮุ่งแจ้งซอดโสดา ให้เจ้าได้เทศนาสอนสั่งเป็นเจ้านั่งพิจารณ์ ขอให้เจ้านาคมีอายุยืนนาน ได้เป็นท่านสมภารบุญกว้าง อยู่สืบร้างในธรรม จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ขอให้เจ้านาคมีอายุยืนได้ฮ้อยขวบพระวัสสา ให้เจ้ามีเตชาผาบแพ้ฝูงหมู่โพยภัย อย่าได้มีความจังไฮมาบังเบียด อย่าได้ฮู้เดียดให้และหิงสา ให้มีใจกรุณายิ่งกว่าเก่า ขอให้เป็นเจ้าผ่านทั้งยศ ให้ปรากฎลือชา ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ให้เจ้านาคมีเตชะดั่งแสงสุริยะอาทิตย์ ประสิทธิเตโช อโรธะราชาธิราชเป็นดั่งอินทราธิราชเจ้าภูมินทร์ทั้งแดนดินอวยอ่อนน้อม ทุกท่านด้อมสาธุการ มาอวยทานชมชื่น ยกยื่นให้ของดียออัญชลีตั้งต่อคิดฮอดห่อสมภาร ถวายสักการทุกเมื่อ เฮืองเฮื่อแก้วเงินคำ แก่บูชานำทุกค่ำเช้า ตราบต่อเท่าชีวังให้มีหวังครองสืบสร้างธุระอ้าง 3 ประการ เฮียนกัมมัฏฐานได้ถี่ถ้วน ได้ครบล้วนทุกสิ่งอัน แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ให้ฮู้อย่าได้หัวคิดปู้ทางปัญญหา จงให้มีสามัคคีเพียงพร่ำพร้อม ใจอ่อนน้อมในธรรม อย่าได้มีความคิดนำทางโลกขอให้พ้นจากความเศร้าโศกโศกา ให้เจ้ามีสุขาเพียงพร่ำพร้อม ทุกค่ำเช้าบ่คลาดบ่คา จึงขอถวายบาทคาถาไว้ว่าชยะตุง ภะวัง ชยะมังคละ ชยะมหามุงคุล ความสุขสมบูรณ์จงมีแก่เจ้านาค ทุกภาคทุกประการก่อข้าเทอญ การฮดสรงหรือเถราภิเษก ในงานบั้งไฟ ตามประเพณีโบราณในตอนกลางวันก่อนหรือหลังพิธีบวชนาคบางทีจัดให้มีพิธีฮดสรงหรือเถราภิเษาแต่พระภิกษุสามเณรที่เห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมรูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปซึ่งสมควรได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณ ที่เคยปฏิบัติกันมา พิธีฮดสรงหรือเถราภิเษก หากไม่ทำในงานบุญบั้งไฟ ประชาชนอาจจัดขึ้นในโอกาสใดโอกาสหนึ่งตามที่เห็นสมควรก็ได้ พิธีหดสรงหรือเถราภิเษามีพิธีปฏิบัติดังรายละเอียดต่อไปนี้
ธรรมเนียมเกี่ยวกับการบวชดั้งเดิม ตามประเพณีอีสานโบราณ ประชาชนผู้ชายเมื่ออายุพอบวชมักนิยมบวชเรียนในพระพุทธศาสนาเพราะประชาชนส่วนมากยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ผู้ที่มิได้บวชเรียนชาวบ้านเรียกคนนั้นว่า "คนดิบ" หรือ "คนตาย" หมายถึงเป็นคนไม่ได้รับการอบรมทางศาสนา จึงเรียกกว่า "คนดิบ" และคงเห็นว่าเกิดมาเป็นคนกับเขาเปล่าๆ ไม่ได้บวชเรียน จึงเรียกว่า "คนตาย" บางทีพูดเรียกคนผู้มิได้บวชนี้เป็นเชิงดูหมิ่นว่า เกิดมาเสียดายเปล่า ส่วนคนที่ได้บวชเรียนแล้ว เรียกว่า "คนสุก" ทั้งนี้คงจะถือว่าได้รับการอบรมทางพุทธศาสนามาแล้วอย่างสุกใสงดงาม ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือผู้ที่เคยบวชเรียนมาก เด็กหนุ่มบวชเป็นเณร นิยมเรียกว่า "จัว" หรือ "จังอ้าย" ถ้าคนแก่บวชเป็นเณร นิยมเรียกว่า "ตาเถร" ผู้บวชเป็นสามเณรเมื่อสึกมีคำเรียกนำหน้าชื่อคล้ายยศว่า "เชียง" หรือ "เชียงน้อย" เช่น เซียงมี เซียงสี เป็นต้น ส่วนผู้มีศรัทธา อุปสมบทเป็นภิกษุ นิยมเรียกภิกษุหนุ่มว่า "เจ้าหัว" หรือ "เจ้าหัวอ้าย" บางคนที่สนิมสนมคุ้นเคยเรียก "หม่อม" หรือ "หม่อมอ้าย" สำหรับคนที่ชวบเป็นภิกษุ ถึงแม้แก่แล้วอาจเรียก "เจ้าหัว" หรือ "เจ้าหัวพ่อ" หรือ "ครูบาพ่อ" พระภิกษุเมื่อลาสิกขาบท จะมียศเรียกนำหน้าว่า "หิต" หรือ "ทิด" แต่ถ้าพระภิกษุเคยมีสมณศักดิ์ลาสิกขาบท นิยมเรียกตามสมณศักดิ์ที่ได้รับ ได้แก่ ถ้ามีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จหรือสำเร็จลึกแล้วจะเรียกว่า "อาจารย์" ถ้าเป็น ชา คู ดูหลักคำ ดูลูกแก้ว ดูยอดแก้ว สึกแล้วเรียกว่า "จารย์ชา" จารย์ดูจารย์ดูหลักคำ จารย์ดูลูกแก้ว อาจารย์คูยอดแก้ว เป็นต้น ตามฐานะในขณะที่ยังบวชอยู่เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว หากได้ฝึกฝนอบรมไปตามทำนองคลองธรรม พระภิกษุสมเณรนั้นก็จะได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งขึ้น ด้วยการแต่งตั้งชั้นยศไปตามฐานานุรูป การเลื่อนชั้นยศและตำแหน่งนี้ตามธรรมเนียมชาวอีสานที่มีการแต่โบราณก็คือ การ "ฮดสรง" ได้แก่ การรดน้ำ สรงน้ำ พระภิกษุสามเณรผู้มีคุณสมบัติขึ้นไปตามฐานะ ตรงกับคำว่า "เถราภิเษก" นั้นเอง การทำพิธี "ฮดสรง" เช่นนี้ก็เพื่อเป็นการยกย่องชูเกรียติคุณให้ปรากฎ และเป็นการถวายกำลังใจ แด่พระภิกษุสามเณรผู้กระทำความดีให้ได้ทำดียิ่งขึ้นและเป็นการชักจูงให้ผู้อื่นเห็นผลการกระทำดี จะได้กระทำความดีแบบอย่างต่อไปนี้
5.เดือนห้า บุญสงกรานต์
มูลเหตุที่มีการทำบุญสงกรานต์ มีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีผู้หนึ่งอยู่กินกับภรรยามานานแต่ไม่มีบุตรเศรษฐีผู้นั้นบ้านอยู่ใกล้กับบ้านนักเลงสุรา นักเลงสุรามีบุตรสองคน ผิวเนื้อเหมือนทอง วันหนึ่งนักเลงสุราไปกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐี เศรษฐีจึงถามว่าเหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทตนผู้มีสมบัติมาก นักเลงสุราจึงตอบว่าถึงท่านมีสมบัติมากก็ไม่มีบุตร ตายแล้วสมบัติจะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นว่าประเสริฐกว่าท่าน เศรษฐีได้ยินดังนั้น มีความละอายจึงทำการบวงสรวง ตั้งอธิษฐานขอบุตรต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ถึงสามปี แต่ไม่เป็นผลจึงไปขอบุตรต่อต้นไทร เทวดาซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ต้นไทรสงสารได้ไปอ้อนวอนขอบุตรต่อพระอินทร์ให้เศรษฐี พระอินทร์จึงโปรดให้ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อประสูตแล้วเศรษฐีให้ชื่อว่า ธรรมบาล ตามนามของเทวบุตร และปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ที่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเป็นเด็กฉลาด โตขึ้นอายุเพียง ๆ ขวบก็สามารถเรียนจบรู้ภาษานกและมีความเฉลียวฉลาดมาก ต่อมากบิลพรหมจากพรหมโลกได้ลงมาถามปัญหาสามข้อกับธรรมบาล ปัญหามีว่า คนเราในวันหนึ่ง ๆ เวลาเช้าศรีอยู่ที่ไหนเวลาเทียงศรีอยู่ที่ไหนและเวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหนโดยสัญญาว่า ถ้าธรรมบาลแก้ได้กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา แต่ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้จะต้องตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผัดให้เจ็ดวันคราวแรกธรรมบาลนึกตอบปัญหานี้ไม่ได้ พอถึงวันถ้วนหกพอดีไปแอบได้ยินนกอินรีผู้ผัวพูดคำตอบให้นกอินทรีผู้เป็นเมียฟังบนต้นตาล ธรรมบาลถึงสามารถแก้ปัญหาได้ คำตอบคือเวลาเช้าศรีอยู่ที่หน้าคนถึงเอาน้ำล้างในตอนเช้า เวลากลางวันศรีอยู่ที่อกคนถึงเอาเครื่องหอมประพรมที่หน้าอกในเวลากลางวันและเวลาเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าในเวลาเย็น เมื่อถึงวันถ้วนเจ็ดท้าวกบิลพรหมได้มาทวงถามปัญหาธรรบาล เมื่อธรรมบาลตอบได้ (ตามที่ยินนกพูดกัน) กบิลพรหมจึงตัดศีรษะของตนบูชาธรรมบาลตามสัญญาแต่เนื่องจากศีรษะของกบิลพรหมศักดิ์สิทธิ์ ถ้าตกลงแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งไปในอากาศจะทำให้เกิดฝนแล้งและถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ดังนั้นเมื่อกบิลพรหมจะตัดศีรษะของตน ถึงได้ให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารองรับศีรษะของตนไว้ โดยตัดศีรษะส่งให้นางทุงษผู้ธิดาคนใหญ่ แล้วธิดาทั้งเจ็ดจึงแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที จึงนำไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปในถ้ำคันธุลีเขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงแล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ ให้เป็นที่ประชุมเทวดาพอครบหนึ่งปีธีดาทั้งเจ็ดจะผลัดเปลี่ยนกันมาอัญเชิญเอาศีรษะของกบิลพรหมแห่พระทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ (ธิดาทั้งเจ็ดของกบิลพรหมมีชื่อดังนี้ คือ ทุงษ โคราด รากษส มัณฑา กิรินี กิมิทาและมโหทร) พิธีแห่เศียรของกบิลพรหมนี้ทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้นทุก ๆ ปี และถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวไทยโบราณต่อๆ กันมาด้วย
นางสงกรานต์ ได้แก่ ผู้ทำหน้าที่อันเชิญเอาศีรษะของท้าวกบิลพรหมมาแห่ในวันสงกรานต์ เป็นนางฟ้าบนสวรรค์ขึ้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำที่สุด มีด้วยกัน 7 คน เป็นพี่น้องกันทั้งหมด และเป็นธิดาของท้าวกบิพรหมหรือมหาสงกรานต์ดังกล่าวข้างต้น การที่ธิดาคนใดจะเป็นนางสงกรานต์ เช่น พ.ศ. 2527 วันที่ 13 เมษายนตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์จึงมีนามว่า กิมิทา เป็นต้น นางทั้ง 7 มีชื่อ วัน ดอกไม้ เครื่องประดับ อาหาร อาวุธ และสัตว์เป็นพาหนะ ดังนี้
1. ทุงษ วัน อาทิตย์ดอกไม้ ดอกทับทิมเครื่องประดับ ปัทมราดอาหาร อุทุมพรอาวุธ จักร - สังข์พาหนะ ครุฑ
2. โคราด วัน จันทร์ดอกไม้ ดอกปีบเครื่องประดับ มุกดาหารอาหาร น้ำมันอาวุธ พระขรรค์ - ไม้เท้าพาหนะ พยัคฆ์ (เสือโคร่ง)
3. รากษส วัน อังคารดอกไม้ ดอกบัวหลวงเครื่องประดับ โมราอาหาร โลหิตอาวุธ ตรีศูล - ธนูพาหนะ วราหะ (หมู)
4. มัณฑา วัน พุธดอกไม้ ดอกจำปาเครื่องประดับ ไพฑูรย์อาหาร นมเนยอาวุธ ไม้เท้า - เหล็กแหลมพาหนะ คัสพะ (ลา)
5. กิรินี วัน พฤหัสบดีดอกไม้ ดอกมณฑาเครื่องประดับ มรกตอาหาร ถั่วงาอาวุธ ขอ -ปืนพาหนะ กุญชร (ช้าง)
6. กิมิทา วัน ศุกร์ดอกไม้ ดอกจงกลณีเครื่องประดับ บุษราคัมอาหาร กล้วยน้ำอาวุธ พระขรรค์ - พิณพาหนะ มหิงสา (ควาย)
7. มโหทร วัน ศุกร์ดอกไม้ ดอกสามหาวเครื่องประดับ นิลรัตน์อาหาร เนื้อทรายอาวุธ จักร - ตรีศูลพาหนะ นกยูง
วิธีหาวันอธิบดี วันธงชัย วันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ ครั้งแรกหาวันอธิบดีก่อน จึงหาวันอื่น ๆ โดยมีวิธีต่อไปนี้
วันอธิบดี ให้ตั้งพุทธศักราชลง แล้วหารด้วย 7 เหลือเศษเท่าไร เศษนั้นเป็นวันอธิบดี เช่น เศษ 1 เป็นวันอาทิตย์ เศษ 2 เป็นวันจันทร์ เศษ 3 เป็นวันอังคาร เศษ 4 เป็นวันพุธ เศษ 5 เป็นวันพฤหัสบดี เศษ 6 เป็นวันศุกร์ ถ้าหารลงตัวไม่มีเศษ เป็นวันเสาร์ เช่น พ.ศ. 2527 เมื่อเอา 7 หาร ลงตัวพอดีไม่มีเศษวันอธิบดีก็เป็นวันเสาร์
วันธงชัย ให้ตั้งเลขวันอธิบดีของปีนั้น ๆ ลงเอา 3 คูณ 2 บวก แล้วหารด้วย 7 เหลือเศษเท่าไร เศษนั้นเป็นวันธงชัย เช่น พ.ศ. 2527 วันจันทร์เป็นวันธงชัย
วันอุบาทว์ ให้ตั้งเลขวันอธิบดีของปีนั้น ๆ ลงเอา 3 คูณ 1 บวก แล้วหารด้วย 7 เหลือเศษเท่าไรเศษนั้นเป็นอุบาทว์ เช่น พ.ศ. 2527 วันอาทิตย์เป็นวันอุบาทว์
วันโลกาวินาศ ให้ตั้งเลขวันอธิบดีของปีนั้น ๆ ลงเอา 2 บวก แล้วหารด้วย 7 เหลือเศษเท่าไรเศษนั้นเป็นวันโลกาวินาศ เช่น พ.ศ. 2527 วันจันทร์เป็นวันโลกาวินาศ
การหาวันอธิบดี วันธงชัย วันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ เป็นอคติถือว่า โดยคนไทยเรานั้นฝังหัวหรือเชื่อถือกันมาแต่โบราณว่า ถ้าจะทำการมงคลใด ๆ ก็นิยมกระทำในวันอธิบดี และวันธงชัย เว้นวันอุบาทว์และโลกาวินาศ ถึงแม้พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า "ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของเขลา ผู้ถือฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้" แต่เราก็ยังอดถือฤกษ์ถือยามไม่ได้ พระท่านจึงสอนว่ายึดอะไรก็ยึดได้ แต่อย่ายึดให้มั่น ถืออะไรก็ถือได้ แต่อย่าถือให้มั่นเกินไป" เพราะการยึดมั่นถือมั่นเกินไปแล้วหนักวางยากปลงยาก อาจทำให้ไม่สบายใจ
จำนวนนาคให้น้ำ ถ้าต้องการทราบจำนวนขนาดให้น้ำในปีใด เมื่อคิดวันอธิบดีได้แล้ว ก็เอาวันอธิบดีตั้งคูณด้วย 5 บวกด้วย 3 และหารด้วย 7 เหลือเศษเท่าใด ก็เป็นจำนวนนาคให้น้ำเท่านั้นตัว เช่น พ.ศ. 2527 จำนวนนาคให้น้ำ 3 ตัว เป็นต้น
จำนวนฝนตก เกณฑ์น้ำฝนที่ว่าตกเท่านั้นเท่านี้ห่า คือ ตกในเขาจักรวาลเท่านั้นห่า ในป่าหิมพานต์เท่านั้นห่า ในสมุทรเท่านั้นห่า และในมนุษย์โลกเท่านั้นห่า มีกำหนดไว้ดังนี้ คือ ถ้าวันอธิบดีฝนเป็นวันอังคารฝนตกทั้งหมด 300 ห่า ถ้าเป็นวันอาทิตย์หรือวันเสาร์ตก 400 เท่า ถ้าเป็นวันจันทร์หรือวันพฤหัสบดี ตก 500 ห่าถ้าเป็นวันพุธหรือวันศุกร์ ตก 600 ห่า ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดถ้าอยากทราบว่าจำนวนน้ำฝนตกที่ใดเท่าใด ก็แบ่งจำนวนน้ำฝนที่ตกทั้งสิ้นออกเป็น 10 ส่วน จะเป็นตกในมนุษยโลก 1 ส่วน ตกในมหาสมุทร 2 ส่วน ตกในป่าหิมพานต์ 3 ส่วน และตกในเขาจักรวาล 4 ส่วน ตามลำดับเช่น จำนวนน้ำฝนรวมเป็น 400 เท่า ก็เป็นจำนวนตกในมนุษยโลก 40 ห่า ตกในสมุทร 80 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า และตกในเขาจักรวาล 160 ห่า
เกณฑ์ธัญญาหาร มี 4 อย่าง เรียงตามลำดับเศษที่คำนวณได้ คือ
เศษ 1 ชื่อ ถาภะ ได้ 10 เสีย 1
เศษ 2 ชื่อ วิบัติ ได้ กึ่ง เสีย กึ่ง
เศษ 3 ชื่อ ปัจฉิม ได้ 1 เสีย 5
เศษ 4 ชื่อ ปัจฉิม ได้ 1 เสีย 5
เศษ 5 ชื่อ วิบัติ ได้ กึ่ง เสีย กึ่ง
เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ได้ 10 เสีย 1
เศษ 7 ชื่อ ปาปะ ได้ 1 เสีย 10
เกณฑ์ธาราธิคุณ มี 4 ราศี ซึ่งหมายถึงกองธาตุทั้งสี่ ถ้าตก
ราศีเตโช (ธาตุไฟ) น้ำน้อย
ราศีวาโย (ธาตุลม) น้ำน้อย
ราศีปถวี (ธาตุดิน) น้ำงามพอดี
ราศีอาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก
เหตุใดในปฎิทินบัตรแต่ก่อน จึงไม่บอกวันเดือนปีทางสุริยคติเหมือนอย่างปฏิทินสมัยใหม่ แต่ว่าบอกวันทางจันทรคติเป็นข้างขึ้นข้างแรม และบอกเป็นชื่อตาม 12 นักษัตร คือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ เป็นต้น ก็เพราะการนับวันทางสุริยคติ ดูเหมือนจะมีใช้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 นี้เอง ก่อนนั้นขึ้นไปเขาใช้นับกันทางจันทรคติ ซึ่งราษฎรถึงจะไม่มีปฏิทินดู ก็ใช้ดูจากดวงจันทร์เป็นเดือนเกิดเดือนดับ หรือข้างขึ้นข้างแรมพอสังเกตดูได้เป็นประมาณนอกนี้ทางพุทธศาสนิกชนก็ยังถือวันทางจันทรคติอยู่ด้วย การนับวันทางจันทรคติจึงมีความจำเป็นแก่ประชาชนทั่วไปเพราะเกี่ยวกับการทำทำไร่ไถนาตามฤดูกาลและการทำบุญของเขา ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำบุญตรุษสงกรานต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
วิธีดำเนินการ ในวันที่ 13 เมษายน ในตอนเช้าหรือก่อนเที่ยง ทางวัดจะจัดเตรียมทำความสะอาดพระพุทธรูปและจัดพระพุทธรูปไว้ ณ ที่จะทำการสรง ซึ่งตามปรกติมักจัดไว้ที่แท่นหรือโต๊ะบนศาลาการเปรียญหรือหอสรงก็ได้ เมื่อเวลาบ่ายประมาณสองโมงทางวัดจะตีกลองเพื่อนัดชาวบ้าน พอชาวบ้านได้ยินเสียงกลองจะจัดน้ำอาบน้ำหอมและดอกไม้ธูปเทียนมารวมกันที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในวัด บางท้องถิ่นหนุ่ม ๆ สาว ๆ จะชวนกันไปหาดอกไม้ในป่า เพื่อนำมาบูชาพระพุทธรูป เมื่อพร้อมแล้วมีการกล่าวคำบูชาดอกไม้และอธิษฐานขอสรงน้ำแล้วจึงทำการสรงน้ำพระพุทธรูปด้วยน้ำอบน้ำหอม โดยใช้ช่อดอกไม้จุ่มน้ำสลัดใส่องค์พระพุทธรูปเมื่อสรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จ ชาวบ้านจะนำน้ำที่ได้จากสรงพระพุทธรูปไปประพรมบนศีรษะของคนและสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ฯลฯ เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข นอกนี้บางวัดยังอัญเชิญพระพุทธรูป 4 องค์ไปไว้ที่หอสรง สำหรับสรงน้ำในวัดถัดไปจากวันตรุษสงกรานต์อีกด้วย ที่หอสรงบางแห่งใช้ไม้แก่นเจาะเป็นราง สลักลวดลายอย่างสวยงามหรือรางไม้ไผ่ที่ทำเป็นร่องยาวพาดออกมาข้างนอก ตรงบนพระพุทธรูปเจาะเป็นรูและต่อท่อเล็ก ๆ ให้น้ำไหลออกมา การสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรง ถ้ามีรางก็เทน้ำใส่ราง ที่ยื่นออกมาข้างนอก เพื่อให้น้ำไหลรดองค์พระพุทธรูปตรงรูดังกล่าวถ้าไม่มีรางก็ใช้ภาชนะเล็ก ๆ เช่น ขัน เป็นต้น ทำการรดในวันต่อ ๆ มาภายหลังวันตรุษสงกรานต์ เมื่อมีคนไปสงน้ำพระพุทธรูป เด็ก ๆ มักชอบไปอยู่ข้างหอสรง เพื่อจะได้อาบน้ำพระพุทธรูปเป็นที่สนุกสนานทั้งถือว่าทำให้หายโรคภัยไข้เจ็บและอยู่เย็นเป็นสุขด้วย การสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จะทำทุกวัน จนกว่าจะแห่ดอกไม้เสร็จ ซึ่งอย่างช้าไม่เกินวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จึงอัญเชิญพระพุทธรูปไป ประดิฐฐานไว้ตามเดิม ในวันตรุษสงกรานเมื่อสรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้ว บางแห่งเวลากลางคืนประมาณ 1 ทุ่ม ชาวบ้านจะไปรวมกันที่วัด ทำการคบงันด้วยดนตรี ร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่าง ๆ แต่ส่วนมากพากันจับกลุ่มเล่นหันกันตามละแวกหมู่บ้านเป็นแห่ง ๆ โดยมากเป็นพวกหนุ่ม ๆ สาว ๆ การเล่นนอกจากเป่าแคนและร้องรำทำเพลงและมีการเล่นสาดน้ำและการละเล่นอื่น ๆ เช่น เล่นสะบ้า ถึงหนึ่งหรือชักเย่อ ฯลฯ โดยเฉพาะการเล่นสาดน้ำกันไม่ถืออายุ ชั้นวรรณะและเชื่อว่าหากเล่นสาดน้ำกันมากเท่าใด จะเป็นการช่วยดลบันดาลให้ฝนตกมากขึ้นเท่านั้น บางแห่งพวกผู้หญิงจับผู้ชายไปมัด แล้วเอาน้ำมารดจนหนาวสั่น จะหยุดรดและปล่อยตัว จนกว่าผู้ที่ถูกจับมัดยอมเสียค่าไถ่ซึ่งส่วนมากได้แก่ เครื่องดื่มและอาหาร เช่น ขนม เป็นต้น ให้แก่คณะผู้ทำการจับ
นอกจากสรงน้ำพระพุทธรูปแล้ว ในวันตรุษสงกรานต์ยังมีการสรงน้ำพระสงฆ์ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพและขอพรจากพระสงฆ์ให้อยู่เย็นเป็นสุข แต่บางหมู่บ้านสาว ๆ อาจสาดน้ำพระเณรในวัดด้วย ซึ่งประเพณีดั้งเดิมถือว่าเป็นการสนุกไม่ถือเป็นการบาปแต่อย่างใด หลังจากสรงน้ำพระสงฆ์แล้ว ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ไปสรงน้ำให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านที่เคารพนับถือตามสมควร เช่น คนที่มีอายุมาก ๆ กำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น
ประเพณีสงกรานต์หรือปีใหม่ของชาวอีสาน มักจะเล่นกันเป็นเวลาหลาย ๆ วัน บางแห่งเล่นกันเป็นเวลา 5-7 วัน และถ้าอากาศร้อน บางทีมีการเล่นสาดน้ำก่อนวันงาน และภายหลังวันงานรวมเป็นเวลาถึง 10 วันก็มี แต่ตามปรกติจะมีการเล่นสนุกสนานกัน 3 วัน คือวันที่ 13-14-15 เมษายน โดยเฉพาะวันที่ 14 เมษายน ซึ่งเป็นวันเนา (บางแห่งเรียกวันเนา แผลงเป็นวันเน่าก็มี) แปลว่า วันหยุด ชาวบ้านจะหยุดงานทุกอย่างและจะเล่นสนุกสนานกันอย่างเต็มที่และในวันเนาจวนรุ่งสว่างราว 4 หรือ 5 นาฬิกา จะมีการยิงปืนและจุดประทัดขับไล่ภูตผีและเสนียดจัญไรต่าง ๆ ด้วย
ส่วนการละเล่นจะมีติดต่อกันไปตลอดวันตลอดคืน จนถึงคืนวันที่ 15 เมษายนและตอนเย็นวันที่ 15 เมษายน บางแห่งชาวบ้านทำธง (ชาวบ้านเรียกว่า ธุง) ด้วยด้ายสีต่าง ๆ ยาวประมาณ 2-3 วา นำไปแขวนที่วัด โดยใช้ลำไม้ไผ่ที่ยอดโก่งเรียวงามเป็นเสาธง การนำธงไปแขวนจะการแห่และตีฆ้องตีกลองด้วย การแขวนธงนี้บางท่านให้ความเห็นว่า นอกจากเป็นการบูชาพระรัตนตรัยแล้วยังเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะแห่งชีวิตของคนเรา คือสามารถมีชีวิตยืนยาวมาจนถึงปีใหม่อีกครั้งหนึ่งและในคืนวันที่ 15 เมษายนพอจวนสว่าง คือรุ่งขึ้นวันที่ 16 เมษายน บางแห่งมีการแห่ข้าวพันก้อนไปบูชาที่วัดเรื่องบุญแห่ข้าวพันก้อนจะได้กล่าวละเอียดที่หลัง
ในวันที่ 15 เมษายน บางแห่งมีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ในตอนเช้า และตอนบ่ายบางแห่งชาวบ้านพากันขนทรายมาก่อเจดีย์ทราย อาจจัดทำที่หาดทรายใกล้แม่น้ำหรือที่ใดที่หนึ่งแล้วแต่จะเห็นว่าเหมาะสม แต่ส่วนมากนิยมจัดทำที่วัด โดยชาวบ้านพากันขนทรายจากท่าน้ำมาก่อเป็นเจดีย์ทรายที่วัดรวมกันเป็นกองใหญ่ การก่อเจดีย์จัดทำโดยเอาทรายผสมน้ำพอซุ่มแล้วนำมารวมก่อเป็นกองใหญ่ ทำเป็นรูปเรียวสูงคล้ายปิรมิด ตกแต่งให้สวยงามดีแล้ว ตรงยอดเจดีย์เอาไม้แก่นแข็งทำเป็นหยักและเสี้ยมปลายแหลมพร้อมทาสีให้สวยงาม มาเสียบไว้พร้อมดอกไม้และเทียน นอกจากนี้บางทียังเอาขันขนาดเล็กใส่ทรายซึ่งผสมน้ำพอหมาดให้เต็มดีแล้วตีคว่ำลงกับพื้นดินรอบเจดีย์ทรายองค์ใหญ่ คนหนึ่งทำจำนวนให้เกินอายุของตนไว้ 1 ขัน ซึ่งมีความหมายขอให้อายุยืนยาวต่อไป เช่น เกี่ยวกับทำกองทรายด้วยนั่นเอง การก่อเจดีย์ทรายหากไม่ทำในวันดังกล่าวอาจทำในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ซึ่งเป็นวันอัญเชิญพระพุทธรูปที่นำมาสรงน้ำที่หอสรงไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม การก่อเจดีย์ทรายเมื่อทำเสร็จพิธีก็มีการทำพิธีบวช โดยนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป มาทำพิธีสวดพระพุทธมนต์และทำพิธีบวชองค์พระเจดีย์ทราย มีการประน้ำพระพุทธมนต์ที่เจดีย์ทรายด้วย พิธีนี้นิยมทำในตอนบ่าย พอถึงตอนเย็นหรือค่ำมีการฟังพระสวดมนต์ ฟังเทศน์ฉลองพระทรายและทำการคบงัน การก่อเจดีย์ทรายนอกจากได้บุญตามความเชื่อถือแล้ว หากจัดทำในวัด โอกาสต่อมาเมื่อเจดีย์ทรายทลายลง พื้นที่แห่งนั้นจะได้รับการถมให้สูงขึ้นไปในตัวพื้นดินจะหายจากโคลนตมและมองดูสะอาดตาดีด้วย นับเป็นการได้กุศลสองต่อ
ภายหลังวันสงกรานต์แล้ว บางแห่งมีการแห่ดอกไม้ โดยทำเป็นต้นดอกไม้ไปถวายวัด รายละเอียดเรื่องราวการแห่ดอกไม้จะได้กล่าวในโอกาสต่อไป นอกจากพิธีดังกล่าวแล้วบางท้องถิ่นภายหลังงานตรุษสงกรานต์แล้ว จะมีพิธีสู่ขวัญพระพุทธรูปและสู่ขวัญพระภิกษุสามเณรด้วย
คำสู่ขวัญพระพุทธรูปและคำสู่ขวัญพระภิกษุสามเณร มีดังต่อไปนี้
ศรี ศรี ปีเดือนแถมเถิงเขต พระสุริยเยศเข้าสู่ราตรี ผีจักปุนเป็นปีอธิกมาส ฝูงข้าน้อยนาถข้าบาททั้งหลายยกมือใส่หัวเกศเกล้า ไหว้พระรัตนตรัยแล้วเจ้าตนรัศมี เถิงฤดูปีมาไต่เต้า องค์พระแก้วเจ้าจึงเสด็จลีลาลง ทรงตนงามพีพ่าย ๆ ฝูงข้าทั้งหลายบ่มีใจติกหนาด้วยโทษ กริ้วโกรธโกรธาพร้อมกันมาราชาบายศรีแด่พระแก้วเจ้า ทั้งผู้เฒ่าและปานกลาง ทั้งสาวฮามและเด็กน้อย มีใจชื่นช้อยเลื่อมใสดี ฝูงข้าทั้งหลายได้ขัดสีสังเกต ตามประเทศพื้นเมืองคน ฝูงข้าทั้งหลายได้กระทำเพียรสร้างกุศลหลายชาติ จึงได้อุปฐากพระแก้วเจ้าองค์ทรงธรรมผายโผดเมตตาโปรดสัตว์โลกให้พ้นโอฆสงสาร ให้ได้เถิงพระนีรพานอันล้ำยิ่ง ฝูงข้าทั้งหลายถึงพร้อมกันมาตกแต่งแล้วจึงยอถวายแดพระแก้วเจ้า องค์เป็นเค้าเป็นเหง้า แก่ฝูงคนและเทวดาทั้งหลายและทรงฮูปโฉมงามย้อยยั่ง เป็นดั่งน้ำครั่งใส่ไตคำ องค์มีรัศมีงามบ่ฮู้เศร้า ตราบต่อเท่าห้าพันพระวัสสา
อันหนึ่ง ฝูงข้าทั้งหลายก็ยังมีคำมักคำปรารถนาต่าง ๆ กัน บางพ่อปรารถนาเอาซึ่งสมบัติมากสมบัติหลากโลกีย์ เป็นเศรษฐีรตนาถพร้อมเนืองนอง เงินคำกองม้ามิ่ง นับด้วยสิ่งอสงไขย บางพ่องปรารถนาเป็นพญาจักรพรรดิราชา ให้ได้ผาบแพ้ทั้งสีชมพู บางพ่องปรารถนาเป็นพญาอินทราธิราช อันเป็นอาชญ์แก่เทวดาทั้งหลายบางพ่องปรารถนาเป็นพระพรหมตนประเสริฐ อันเป็นบังเกิดยังญาณ บางพ่อปรารถนาเป็นทายกทายิกาอุบาสกอุบาสิกาของพระศรีอารย์ตนองอาจ เป็นดั่งนางนาถไท้วิสาขา บางพ่องปรารถนาเป็นสัพพัญญตญาณอันล้ำเลิศประเสริญกว่าคน และเทวดาทั้งหลาย บางพ่องปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธอันล้ำยิ่ง ข้ามพ้นสิ่งสงสาร บางพ่องปรารถนาเป็นสาวกบารมีผายผ่อง บางพ่องปรารถนาเป็นพระอรหันต์มรรคญาณอันผ่านแผ้ว หมดบาปแล้วสู่นีรพานขอให้ได้ดังคำมักคำปรารถนา แห่งฝูงข้าทั้งหลายทุกตนทุกคน ก็ข้าเทอญ
ประการหนึ่ง ตราบใดฝูงข้าทั้งหลาย นังได้ทั่วระวัฏฏ์ผัดไปมา ในวัฏสงสารแหล่งหล้าขอให้พ้นจากอบายเว้นแวนไกลฮ้อยโยชน์ คำฮ้ายโหดอย่ามี จำเร้ญศรีสุทธะยิ่ง คือเทพไท้สิ่งอินทรา ขอให้มีอายุยืนนานอย่าน้อยให้ได้ฮ้อยเอ็ดวัสสาอย่าพั่ง อย่าได้หลั่งเข้าสู่โมหา ขอให้ฝุงเข้าเกิดมาพร้อมพระเจ้าตนประเสริฐ ซึ่งว่าพระศรีอริยเมตไตรย แม่นว่ามีอันใดขอให้ประกอบชอบเนื้อเพิงใจ สมศรีไวเมียมิ่ง ลูกแก้วกิ่งกับตนวงศาลสายเชื้อชาติ ขอให้ฉลาดฮู้ใจเดียวแม่นว่าฝูงข้าทั้งหลายยังได้ทัวระเทียวไปมา ในวัฏสงสารหลายชนิด อย่าได้พอพ้อปิตุฆาตฮ้ายหมู่เวราแม่นว่าฝูงข้าทั้งหลายจีกมารณาม้างปัญจขันธ์ทั้งหลาย ขออย่าได้มีน้ำมูกน้ำลายเสลด ทุกข์เหตุฮ้ายเวทนาจงให้มรณาโดยชอบ ประกอบด้วยสติจวิตวา ฝูงข้าทั้งหลายตายจากเมืองคน จอให้ไดเมื่อเอาตนเกิดในชั้นฟ้า เลิศตาวะติงสา ยถา ภาเว ภาเว ชาโต ฝูงข้าทั้งหลาย เกิดมาในภาวะที่ใดก็ดี มีหูตาขอให้ใสแจ้งโสต เป็นเงาในฮ้อยโยชน์ก็ให้เห็นเป็นวิตถารแจ้งโสต ธรรมชาติโสภา ผมดำยาวเส้นแลบ พรรณะแจ้งแจบเสมอเทา เลาคิงขาสมเต้า อย่าถ่อยเฒ่าชราการเนื้อคิงบางคอกลมปล้อง บ่เอ้อ้องก็หากดูงาม คนใดเห็นลืมแลงงายหายอยากข้าว ผู้เฒ่าเห็นหายซึ่งพยาธิโรคาท้าวพญาเห็นชมชื่น น ๆ ทั่วชมพู กูณาผายแผ่กว้าง ให้มีช้างม้าฝูงหมู่เงินคำ ให้จำนาทุกชาติ อย่าได้คลาดดังคำมักคาปรารถนา แห่งฝูงข้าทั้งหลาย ทุกตนทุกคน ก็ข้าเทอญ(คำสู่ขวัญพระพุทธรูปใช้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ คือ ภายหลังวันตรุษสงกรานต์ หรือใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูปที่สร้างใหม่ก็ได้)
คำสู่ขวัญพระภิกษุสามเณร
ศรี ศรี สิทธิพระพร บวรอติเรก อเนกเตโช มโหราฤกษ์ อธิกะอัทธา อตุลาคุณ พหุลเตโช ชัยะมังคลาดิเรก เอนกศรีสวัสดี ไมตรีจวมีแก่นาค ครุฑ มนุษย์ กุมภัณฑ์ คนธรรมพ์ ยักษ์ อารักขเทวดา สุรา สุรินทร์ อินทร์ พรหมยมราชา สุนักขัตตา สุมังคลา อุตตอมโชค อุตตมดถี อุตตมนีธี อุตตมังคลา มหาศรีวิลาส อินทพาดพร้อมไตรยางค์ พร้อมนาวางคคาดคู่ พร้อมกันอยู่สอนลอน อาทิตย์จรจันทร์นักขัตฤกษ์ อังคารถือมหาชัย พุทธพฤหัสไปเป็นโชคศุกร์ เสาร์โยคว่าวันดี วันดีถีอมุตตโชค วันประสิทธิโยคพร้อมลักขณา ฝูงข้าทั้งหลาย ทั้งหยิงชายน้อยใหญ่อุบาสิกอุบาสิกาทั้งหลาย พร้อมกันมาทุกแห่ง มาตกแต่งขันกราบไหว้และบายศรี สรงโสรจด้วยน้ำ พุทธาภิเษกก็หากแล้ว บัดนี้ฝูงข้าทั้งหลาย หากเพิงประสงค์สิทธิจินตนาแล้ว จึงอธิษฐานให้เป็นพระพร 4 โกฏฐาสปฐมโกฏฐาส อันถ้วนหนึ่งนั้น ขอถวายสมมาบูชาเจ้ากู ตนทรงลีลาอันวิเศษ ในช่วงเขตอาฮาม แถมสมภารทุกสิ่ง ไว้เป็นมิ่งมงคล ให้มีบุญและยศกว้าง อยู่สืบสร้างสมณะธรรมเจ้าตราบต่อเท่าฮ้อยซาวพระวัสสา ก็ข้าเทอญ
ทุติยะ พระพรถ้วนสองสมภารนองเนืองมาก บุญล้นหลากเหลือหลาย ผันผายแผ่กว้าง เป็นที่อ้างแก่โลกโลกาลือชาไปทุกแห่งตกแต่งพร้อมนานา ทั้งพญาแสนหมื่นมาก กราบพื้นบาทา สักการะบูชาเจ้ากู ทุกวันทุกยามก็ข้าเทอญตติยะ พระพรถ้วนสาม ดูงามใสและเฮืองฮุ่ง ปานดั่งแสงสุริยะพุ่งขึ้นมา เขายุคันธรให้ได้แถมนามกรขึ้นเป็นมหาสมเด็จอัคคะบวรราชครู ดูงามศรีใสสะอาด ให้ได้นั่งปราสาทแก้วและเบ็งซอนอาภรณ์หลายแก้วกิ่ง ทุกสิ่งพร้อมเงินทอง หาสาหลายต่างเมืองมาไหว้ มีดอกไม้แก้วและเงินคำ นำมาถวายพร่ำพร้อมมานบน้อมวันทาโรคาอย่ามาต้องให้เจ้ากูได้สอนลูกน้องพอแสนคน ทศพลตนผ่านแผ้ว คือว่าไตรปิฏกแล้วทั้งสาม ก็ข้าเทอญ
จตุตถะ พระพรถ้วนสี่ ให้รู้ที่แจ้งตรัสส่องสรญาณ สมภารเฮืองทั่วโลก ดูเลิศล้ำกว่าเทพาให้ได้ดั่งพระโมคคัลลาสารีบุตร บริสุทธิ์องค์ประเสริฐ เลิศด้วยฤทธิ์บารมีเช้าค่ำ ยิ่งล้ำดตื่มศรัทธาจตุรานาคครุฑ มนุษย์กุมภัณฑ์ คนธรรมพ์ยักษ์ทั้งหลาย อันยายยั้งอยู่ คู่ป่าไม้ไพรพนอม จอมเขาและฮิมน้ำสมุทรสุดแดนแสนโกฏิฮอบขอบจักรวาล ให้ทะยานมาด้วยฤทธา มีเครื่องสักการะบูชาพร่ำพร้อม มานบน้อมประณมกรถวายพร ถวายพรไปอย่าคลาดแคล้ว ให้เลิศแล้วนัยคาถาว่า ชยะคุ ภะวัง ชยะมังคละ ดั่งนี้ ขอให้เจ้ากูมีชัยชนะ พญามารผู้ใจบาป มากราบพิ้นบาทา สักการะบูชาเจ้ากู อยู่สู้วันทุกยาม ก็ข้าเทอญ